วันนี้ได้พููดคุยกับมิตรสหาย 2 คน ใน facebook คนละหน้าต่างด้วยเรื่องใกล้เคียงกัน เห็นว่าอยู่ในประเด็นที่ผมเองกำลังจะเขียนอยู่แล้ว จึงขอคัดมาใส่ไว้ในบันทึก (ชั่วคราว) อย่างน้อยก็เป็นการเตือนสติและเร่งตัวเองว่าผมยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่ยังทำไม่เสร็จ
กรณีสวรรคตเป็นเพียงกรณีฉวยโอกาสของฝ่ายปฏิปักษ์ประชาธิปไตย เนื้อหาที่จำเป็นต้องเรียนรู้คือ ฝ่ายปฏิปักษ์ประชาธิปไตยที่ร่วมมืิอกับฝ่ายราชาธิปไตยบางส่วน เตรียมการทำลายระบอบประชาธิปไตยมาตลอดนับจากกรณีกบฏบวรเดช หรือความพยายามลิดรอนอำนาจของฝ่ายประชาธิปไตย โดยการประกาศงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราในปี 2476
ความสำเร็จของรัฐประหาร 2490 คือต้นกำเนิดของระบอบอำมาตยาธิปไตย แล้วขยายฐานอำนาจอิทธิพลมาเรื่อยๆ ในที่สุดก็ประสบความสำเร็จในการสร้างพันธมิตรที่แข็งแกร่งขึ้นหลังการรัฐประหาร 2501 ของสฤษดิ์ นั่นคือพันธมิตร "อำมาตย์-อภิชน-ขุนศึกฟาสซิสต์"
ประวัติศาสตร์มีความสำคัญมากในการพิจารณาพัฒนาการทางการเมืองหลังการอภิวัฒน์สยาม 2475
แต่การปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินสมัย ร.5 นั้น เรายังทำความเข้าใจกันน้อยไปในประเด็นที่ว่า นั่นเป็นการสถาปนา "ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์" ได้สำเร็จรูป อำนาจรัฐแบบ "ศักดินาสวามิภักดิ์" ถูกแทนที่ในช่วงนี้เอง (หลังเก็กเหม็ง ร.ศ.130) ซึ่งคุกคามสถานะของสถาบันกษัตริย์อย่างรุนแรงต่อเนื่องมากจาก "กรณีวังหน้า" ในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่ราชสำนักได้รับความช่วยเหลือจากตระกูล "บุนนาค" (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์) และการสถาปนา "กองทหารหน้า" (กระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน) เพื่อรองรับกฎหมายยุบเลิกไพร่ในปี 2440 นั้น เนื้อหาสำคัญคือการปูทางทาง "จำกัด" และนำไปสู่การ "กำจัด" ระบบ "ไพร่" ที่ทำให้เจ้านายเชื้อพระวงศ์และเสนาอำมาตย์ หรือขุนทหารทั้งหลาย สามารถครอบครองกองกำลังติดอาวุธส่วนตัว (ไพร่สม) เอาไว้ได้นั่นเอง
การเข้ามาของ "ระบอบอำมาตย์" นี้ เป็นสิ่งที่พวกเราให้ความสำคัญและสนใจน้อยเกินไป ทำให้เรามองไม่เห็นรากของปัญหาและวิวัฒนาการของมัน ที่สำคัญจุดเปลี่ยนหลังปี 2503 ที่ทำให้ระบบคิดประชาธิปไตยถูกทำลายลงแทบจะโดยสิ้นเชิง
ผมขอยืนยันซ้ำนะครับ ประชาธิปไตยสร้างไม่ได้ด้วยความเกลียดชัง ความอาฆาตมาดร้าย และความกระเหี้ยนกระหือกระหายเลือด
เราลองนึกภาพ "ผู้เผด็จการตัวใหม่" ที่มีแต่ความกระหายเลือดฝ่ายตรงข้าม แล้วมันจะต่างกันตรงไหน กับที่ "ฝ่ายปฏิปักษ์ประชาธิปไตย" เป็นอยู่ในเวลานี้ เราจะสร้างชาติ ไม่ได้มาล้างแค้นกัน แต่ในเวลาเดียวกันการพิจารณาลงโทษอาชญากรผู้ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาตินั้นก็เป็นสิ่งที่มองข้ามละเลยไม่ได้
(ต่อ) ผมกำลังสงสัยอยู่ว่า ในเวลานี้หรือในเวลาเกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ผู้คนในประเทศนี้ให้ความสำคัญกับ "ระบอบประชาธิปไตย" หรือ "ลัทธิรัฐธรรมนูญนิยม" หรือแม้แต่ "ลัทธิเลือกตั้งโดยเปลือก" กันแน่ เรามีรัฐธรรมนูญหรือธรรมนูญการปกครองมาแล้ว 18 ฉบับ โดยที่ในฝ่ายประชาธิปไตยเอง ตระหนักมากน้อยแค่ไหนว่า ในจำนวนนั้น มีกี่ฉบับที่เข้าใกล้ความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ดังที่นายปรีดี พนมยงค์ให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อคราว ครบรอบ 50 ปีการอภิวัฒน์สยาม
(ด้วยความน้อมใจในรากฐานทางภูมิรู้ และด้วยความปรารถนาและมุ่งมั่นในการสรา้งชาติไทยใหม่ที่เป็นประชาธิปไตย สมบูรณ์ดังที่เคยประกาศไว้ในกระทู้/บทความ "ผลักดัน 5 ล้าน 4 แสน เจตจำนงเสรี ไปสู่การสร้างชาติไทยใหม่" http://arinwan.co.cc/index.php?topic=243.msg259#msg259 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2552)
โพสต์ครั้งแรกที่ http://arinwan.co.cc/index.php?topic=578.msg704#msg704
และอ่านบทความ/กระทู้ทำนองนี้ได้ที่ http://arinwan.co.cc/
กรณีสวรรคตเป็นเพียงกรณีฉวยโอกาสของฝ่ายปฏิปักษ์ประชาธิปไตย เนื้อหาที่จำเป็นต้องเรียนรู้คือ ฝ่ายปฏิปักษ์ประชาธิปไตยที่ร่วมมืิอกับฝ่ายราชาธิปไตยบางส่วน เตรียมการทำลายระบอบประชาธิปไตยมาตลอดนับจากกรณีกบฏบวรเดช หรือความพยายามลิดรอนอำนาจของฝ่ายประชาธิปไตย โดยการประกาศงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราในปี 2476
ความสำเร็จของรัฐประหาร 2490 คือต้นกำเนิดของระบอบอำมาตยาธิปไตย แล้วขยายฐานอำนาจอิทธิพลมาเรื่อยๆ ในที่สุดก็ประสบความสำเร็จในการสร้างพันธมิตรที่แข็งแกร่งขึ้นหลังการรัฐประหาร 2501 ของสฤษดิ์ นั่นคือพันธมิตร "อำมาตย์-อภิชน-ขุนศึกฟาสซิสต์"
ประวัติศาสตร์มีความสำคัญมากในการพิจารณาพัฒนาการทางการเมืองหลังการอภิวัฒน์สยาม 2475
แต่การปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินสมัย ร.5 นั้น เรายังทำความเข้าใจกันน้อยไปในประเด็นที่ว่า นั่นเป็นการสถาปนา "ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์" ได้สำเร็จรูป อำนาจรัฐแบบ "ศักดินาสวามิภักดิ์" ถูกแทนที่ในช่วงนี้เอง (หลังเก็กเหม็ง ร.ศ.130) ซึ่งคุกคามสถานะของสถาบันกษัตริย์อย่างรุนแรงต่อเนื่องมากจาก "กรณีวังหน้า" ในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่ราชสำนักได้รับความช่วยเหลือจากตระกูล "บุนนาค" (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์) และการสถาปนา "กองทหารหน้า" (กระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน) เพื่อรองรับกฎหมายยุบเลิกไพร่ในปี 2440 นั้น เนื้อหาสำคัญคือการปูทางทาง "จำกัด" และนำไปสู่การ "กำจัด" ระบบ "ไพร่" ที่ทำให้เจ้านายเชื้อพระวงศ์และเสนาอำมาตย์ หรือขุนทหารทั้งหลาย สามารถครอบครองกองกำลังติดอาวุธส่วนตัว (ไพร่สม) เอาไว้ได้นั่นเอง
การเข้ามาของ "ระบอบอำมาตย์" นี้ เป็นสิ่งที่พวกเราให้ความสำคัญและสนใจน้อยเกินไป ทำให้เรามองไม่เห็นรากของปัญหาและวิวัฒนาการของมัน ที่สำคัญจุดเปลี่ยนหลังปี 2503 ที่ทำให้ระบบคิดประชาธิปไตยถูกทำลายลงแทบจะโดยสิ้นเชิง
ผมขอยืนยันซ้ำนะครับ ประชาธิปไตยสร้างไม่ได้ด้วยความเกลียดชัง ความอาฆาตมาดร้าย และความกระเหี้ยนกระหือกระหายเลือด
เราลองนึกภาพ "ผู้เผด็จการตัวใหม่" ที่มีแต่ความกระหายเลือดฝ่ายตรงข้าม แล้วมันจะต่างกันตรงไหน กับที่ "ฝ่ายปฏิปักษ์ประชาธิปไตย" เป็นอยู่ในเวลานี้ เราจะสร้างชาติ ไม่ได้มาล้างแค้นกัน แต่ในเวลาเดียวกันการพิจารณาลงโทษอาชญากรผู้ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาตินั้นก็เป็นสิ่งที่มองข้ามละเลยไม่ได้
(ต่อ) ผมกำลังสงสัยอยู่ว่า ในเวลานี้หรือในเวลาเกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ผู้คนในประเทศนี้ให้ความสำคัญกับ "ระบอบประชาธิปไตย" หรือ "ลัทธิรัฐธรรมนูญนิยม" หรือแม้แต่ "ลัทธิเลือกตั้งโดยเปลือก" กันแน่ เรามีรัฐธรรมนูญหรือธรรมนูญการปกครองมาแล้ว 18 ฉบับ โดยที่ในฝ่ายประชาธิปไตยเอง ตระหนักมากน้อยแค่ไหนว่า ในจำนวนนั้น มีกี่ฉบับที่เข้าใกล้ความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ดังที่นายปรีดี พนมยงค์ให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อคราว ครบรอบ 50 ปีการอภิวัฒน์สยาม
(ด้วยความน้อมใจในรากฐานทางภูมิรู้ และด้วยความปรารถนาและมุ่งมั่นในการสรา้งชาติไทยใหม่ที่เป็นประชาธิปไตย สมบูรณ์ดังที่เคยประกาศไว้ในกระทู้/บทความ "ผลักดัน 5 ล้าน 4 แสน เจตจำนงเสรี ไปสู่การสร้างชาติไทยใหม่" http://arinwan.co.cc/index.php?topic=243.msg259#msg259 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2552)
โพสต์ครั้งแรกที่ http://arinwan.co.cc/index.php?topic=578.msg704#msg704
และอ่านบทความ/กระทู้ทำนองนี้ได้ที่ http://arinwan.co.cc/