ปูมชีวิต อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ "นายกฯเทพประทาน"
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีชื่อเล่น "มาร์ค" เกิดวันที่ 3 สิงหาคม 2507 ที่ เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ บุตรชายคนเดียว ในจำนวนบุตร 3 คน ของ ศ.นพ.อรรถ สิทธิ์ เวชชาชีวะ กับพญ.สดใส เวชชาชีวะ (สูตะบุตร) นายอภิสิทธิ์มีพี่สาว 2 คน คือ ศ.พญ.อลิสา วัชรสินธุ ศาสตราจารย์หน่วยจิตเวชเด็ก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็ก และ น.ส.งาม พรรณ เวชชาชีวะ เจ้าของงานเขียน "ความสุขของกะทิ" รางวัลซีไรท์ ประจำปี 2549
สายสกุลข้างพ่อ
ศ.นพ.อรรถ สิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข คณะรัฐมนตรีคณะที่ 47 ของไทย (2 มีนาคม 2534 - 22 มีนาคม 2535) นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี
ตระกูล "เวชชาชีวะ" มีบรรพบุรุษเป็นชาวเวียดนาม (จากหนังสือ "เวชชาชีวะ VEJJAJIVA" เรียบเรียงโดย นายวิทยา เวชชาชีวะ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นบันทึกเนื้อหาเกี่ยวกับสาแหรกของตระกูล "เวชชาชีวะ") เดินทางโดยเรือมาขึ้นฝั่งที่ จ.จันทบุรี "เข้ามาจากเมืองญวน... เมื่อเมืองกำปอตแตก" (น่าจะหมายถึงเมืองกำปอต ซึ่งปัจจุบันอยู่ทางคะวันตกเฉียงใต้ของประเทศประเทศกัมพูชา) ทั้งนี้การลำดับสาแหรก มีดังนี้
*********************
สายสกุล "เวชชาชีวะ" ชั้น 1 ท่านถ่อและท่านเภา มีบุตรชาย 2 คน คือ ท่านเบ๋งและถอง อันถือเป็นชั้น 2 ท่านเบ๋งเกิดบุตรกับเก๊กฮวยผู้ภรรยาด้วยกัน 7 คน เป็น ชาย 3 หญิง 2 คือ นายแสง นายยี และขุนวิลาสเลขา (ทองดี) ส่วนบุตรหญิง มีนามว่า ริ้ว จี้ โจ้ และเง็ก ถือว่าเป็นชั้น 3
นายแสง มีบุตรธิดารวม 5 คน คือ นางนรินทร์ นายหลง นายโฆสิต นายประวิตร และนางสุพรรณ ต่อมานายหลงได้ศึกษาทางแพทย์และเข้ารับราชการในกรมสาธารณสุข กระทั่งได้รับพระราชทานนามสกุล "เวชชาชีวะ" และทุกคนนับแต่บิดาคือ นายแสงและพี่น้องก็ใช้นามสกุลนี้กันแต่นั้นมา นายหลง นี้เองที่ต่อมาคือ พระบำราศนราดูร อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
พระบำราศนราดูร มีบุตร 3 คน คือ นายอำนวย เวชชาชีวะ, นายเสรี เวชชาชีวะ, นายธีระ เวชชาชีวะ
ส่วนนายโฆสิต เวชชาชีวะ มีบุตร 10 คน คือ นางจิตราภา เวชชาชีวะ, นายชลิต เวชชาชีวะ, น.ส.เพ็ญศรี เวชชาชีวะ, นางเสาวนีย์ เชาวน์ชูเวชช, นายนิสสัย เวชชาชีวะ, นายวัยวัฒน์ เวชชาชีวะ, น.พ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ, นายวิทยา เวชชาชีวะ, นางพรรณทิพา เอกอัครพานิช
ขณะที่ ขุนประวิตรเวชชาชีพ (ประวิตร เวชชาชีวะ) มีบุตร คือ นายพงศ์ศักดิ์ เวชชาชีวะ, นายประภัทรพงศ์ เวชชาชีวะ, นายประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ, นางศศิพงศ์ อมาตยกุล, นางรัชนิพงศ์ เทิดวงส์, นายภาณุพงศ์ เวชชาชีวะ
*********************
ต่อมาในรุ่นปู่ได้เข้ามาอาศัยในกรุงเทพฯ คือ "ปู่ใหญ่" (พี่ชายของปู่) พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 2 สมัย ใน คณะรัฐมนตรีคณะที่ 29 (10 กุมภาพันธ์ 2502 - 8 ธันวาคม 2506) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2502 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ พลเอกสุทธิ์ สุทธิสารรณกร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2502 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และ คณะรัฐมนตรี คณะที่ 30 (11 ธันวาคม 2506 - 11 มีนาคม 2512) พลเอกถนอม กิตติขจร (ยศในขณะนั้น) เป็น นายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2506 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และเป็นผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลบำราศนราดูร จ.นนทบุรี เมื่อปี 2492 และเป็นพี่ชายของนายโฆสิต เวชชาชีวะ ปู่ของนายอภิสิทธิ์
สกุล "เวชชาชีวะ" หรือ "Vejjajiva" เป็นนามสกุล ลำดับที่ 4,881 จากนามสกุลพระราชทานสมัยรัชกาลที่ 6 ที่พระราชทาน รวมทั้งสิ้น 6,423 นามสกุล โดยพระราชทานให้กับรองอำมาตย์ตรีหลง (หลง เวชชาชีวะ) แพทย์ประจำจังหวัดลพบุรี กับ นายจิ๊นแสง (บิดา) นายเป๋ง (ปู่) และนายก่อ (ปู่ทวด) เนื่องจากเป็นต้นตระกูลเป็นแพทย์จึงมีคำว่า "เวช" อยู่ในนามสกุลด้วย
นาย อภิสิทธิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับ นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยที่นายสุรนันทน์เป็นบุตรของ นายนิสสัย เวชชาชีวะ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นพี่ชายแท้ ๆ ของ ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ บิดาของอภิสิทธิ์
สายสกุล ข้างแม่
พญ.สดใส เวชชาชีวะ เป็นบุตรีของ นาย นัทธี สูตะบุตร บุตรของ อำมาตย์ตรี หลวงวิพิธพจนการ (แจ่ม) อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหลายจังหวัด ซึ่งได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ลำดับที่ 2389 ขณะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลเมืองพุมเรียง (ไชยา) มีพี่น้องร่วมสายเลือดอีก 2 คน คือ นายปริญญา สูตะบุตร อดีตอธิบดีกรมทางหลวง และนายปรัชญา สูตะบุตร อธิบดีกรมโยธาธิการ
สำหรับ นายนัทธีเป็นน้องชายแท้ๆของนายหิรัญ สูตะบุตร อดีตอธิบดีกรมสรรพากรในยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายอภิสิทธิ์จึงมีศักดิ์เป็นหลานชายของ ดร.หริส สูตะบุตร, ดร.ธีระ สูตะบุตร อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และนางนิตยา มาศะวิสุทธิ์ รวมทั้ง พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รมว.กลาโหม ในฐานะลุงเขย
นอกจากนั้นยังมีสายสัมพันธ์ทางเครือญาติกับ 3 พี่น้อง "สูตะบุตร" คือ นายประเทศ, นาย ประมุท (อดีตผู้อำนวยการคนแรกขององค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ อ.ส.ม.ท. ตั้งแต่ปี 2520 ในรัฐบาลหอย ของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร และอยู่ในตำแหน่งนานถึง 8 ปี จนถึงรัฐบาลคณะรัฐมนตรีชุดที่ 43 นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรีและประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์) และ นายประการ ซึ่งสมรสกับ ม.ร.ว.มัลลิกา วรวรรณ เป็นหลานตาของ ม.จ.นิ ตยากร วรวรรณ พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาเขียน และนายประการนี้เองเป็นบิดาของ นางวรกร จาติกวณิช ภริยาของ นายกรณ์ จาติกวณิช แม่ม่ายลูกติด ผู้ผ่านการสมรสมาแล้วกับหนุ่มพนักงานการบินไทย นายกฤษณะพงษ์ มหาเปารยะ บุตรชายของ นายพงษ์เทพ มหาเปารยะ อดีตผู้อำนวยการสำนักบริหารธนาคารกสิกรไทย ซึ่งได้หย่าขาดจากกันโดยฝ่ายหญิงได้สิทธิผู้เลี้ยงดูบุตรชาย 2 คน นายพงศกร และ นายพันธิตร แต่เพียงผู้เดียว
สายสกุลข้างเมีย
นายอภิสิทธิ์ สมรสกับ ดร.พิมพ์เพ็ญ ศกุนตาภัย อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุตรีของ ศ.พงศ์เพ็ญ ศกุนตาภัย นักวิชาการด้านการเมืองการปกครอง กับนางประภาพิมพ์ ศกุนตาภัย (สุวรรณศร) อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ ทั้ง 2 เป็นเพื่อนนักเรียนตั้งแต่สมัยชั้นประถมที่โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ และติดต่อกันทางจดหมายต่อเนื่องมาตลอดหลายปี ขณะที่นายอภิสิทธิ์ศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษ และแต่งงานกันขณะที่นายอภิสิทธิ์เป็นอาจารย์อยู่ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (?) ปัจจุบันทั้งคู่มีบุตร-ธิดาด้วยกัน 2 คน คือ นางสาวปราง และนายปัณณสิทธิ์
ประวัติส่วนตัวของนางพิมพ์เพ็ญนั้น มีบรรพบุรุษฝ่ายมารดามาจากสกุล "สุวรรณศร" อันเป็นนามสกุลพระราชทานลำดับที่ 2928 แก่ พระยาศรีราชรักษา (ปุย) ปลัดเมืองสุพรรณบุรี ที่มีสายสัมพันธ์เกี่ยวโยงเป็นญาติใกล้ชิดกับสกุล "สุขุม" นามสกุลพระราชทานลำดับที่ 1 ของ มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล อภิรัฐมนตรี เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เสนาบดีกระทรวงนครบาล โดยมีมารดามาจากสกุล "ณ ป้อมเพชร" ซึ่งนับเป็นหลานยายของ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ เนื่องจากนางอัมพา ณ ป้อมเพชร ซึ่งเป็นน้อง สาวของท่านผู้หญิงพูนศุข ได้สมรสกับ ศ.ประมูล สุวรรณศร มีธิดา 3 คน คือ ประพาพิมพ์, ศันสนีย์ และ มณีรัตนา
ทั้งท่านผู้หญิงพูนศุขและนางอัมพาเป็น 2 ใน 12 บุตรธิดาของ พระยาชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร์) อธิบดีกรมราชทัณฑ์คนแรกและคนเดียวในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กับคุณหญิง เพ็ง สุวรรณศร ซึ่งมีสายสัมพันธ์กับสกุลใหญ่และเก่าแก่อีกหลายสกุล เช่น บุนนาค, พนมยงค์, สุนทรวิจารณ์, อัศวนนท์, รังสิพราหมณกุล รวมถึง ศกุนตาภัย ซึ่งนางสาวประพาพิมพ์ สุวรรณศร มีศักดิ์เป็นหลานสาวของพระยาไชยวิชิตฯ และแต่งงานกับ ศ.(พิเศษ)พงษ์เพ็ญ ศกุนตาภัย
เมื่อถอยหลังขึ้นไปอีก 1 รุ่น คือ พระยาไชยวิชิตสิทธิสาตรา (นาค) เคยดำรงตำแหน่ง "ผู้รักษากรุงเก่า" และเคยมีส่วนร่วมในประวัติศาสตร์การอภิวัฒน์ประเทศไทยในยุคแรก เพราะเมื่อครั้งมีบรรดาศักดิ์ที่หลวงวิเสศสาลี ข้าราชการสถานทูตสยามประจำกรุงลอนดอน ได้เข้าร่วมกับพระบรมวงศ์ 4 พระองค์ อันได้แก่ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์), พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา), สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์) และ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ (พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์) และข้าราชการสถานทูตสยามประจำกรุงลอนดอนและประจำกรุงปารีส 7 นาย กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ขอให้ทรงสถาปนา ระบบราชาธิปไตยจำกัดภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2428 หรือที่เรียกกันว่า "การเรียกร้องต้องการรัฐธรรมนูญของกลุ่มเจ้านายและข้าราชการใน ร.ศ. 103".
ปรับปรุง จาก โพสต์ครั้งแรก 18 พฤศจิกายน 2009, 20:12:21
ทางชีวิต "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" นายกฯเทพประทาน : ตอนที่ 1 ชีวิตส่วนตัว
http://www.newskythailand.info/board/index.php?topic=8573.0
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีชื่อเล่น "มาร์ค" เกิดวันที่ 3 สิงหาคม 2507 ที่ เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ บุตรชายคนเดียว ในจำนวนบุตร 3 คน ของ ศ.นพ.อรรถ สิทธิ์ เวชชาชีวะ กับพญ.สดใส เวชชาชีวะ (สูตะบุตร) นายอภิสิทธิ์มีพี่สาว 2 คน คือ ศ.พญ.อลิสา วัชรสินธุ ศาสตราจารย์หน่วยจิตเวชเด็ก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็ก และ น.ส.งาม พรรณ เวชชาชีวะ เจ้าของงานเขียน "ความสุขของกะทิ" รางวัลซีไรท์ ประจำปี 2549
สายสกุลข้างพ่อ
ศ.นพ.อรรถ สิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข คณะรัฐมนตรีคณะที่ 47 ของไทย (2 มีนาคม 2534 - 22 มีนาคม 2535) นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี
ตระกูล "เวชชาชีวะ" มีบรรพบุรุษเป็นชาวเวียดนาม (จากหนังสือ "เวชชาชีวะ VEJJAJIVA" เรียบเรียงโดย นายวิทยา เวชชาชีวะ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นบันทึกเนื้อหาเกี่ยวกับสาแหรกของตระกูล "เวชชาชีวะ") เดินทางโดยเรือมาขึ้นฝั่งที่ จ.จันทบุรี "เข้ามาจากเมืองญวน... เมื่อเมืองกำปอตแตก" (น่าจะหมายถึงเมืองกำปอต ซึ่งปัจจุบันอยู่ทางคะวันตกเฉียงใต้ของประเทศประเทศกัมพูชา) ทั้งนี้การลำดับสาแหรก มีดังนี้
*********************
สายสกุล "เวชชาชีวะ" ชั้น 1 ท่านถ่อและท่านเภา มีบุตรชาย 2 คน คือ ท่านเบ๋งและถอง อันถือเป็นชั้น 2 ท่านเบ๋งเกิดบุตรกับเก๊กฮวยผู้ภรรยาด้วยกัน 7 คน เป็น ชาย 3 หญิง 2 คือ นายแสง นายยี และขุนวิลาสเลขา (ทองดี) ส่วนบุตรหญิง มีนามว่า ริ้ว จี้ โจ้ และเง็ก ถือว่าเป็นชั้น 3
นายแสง มีบุตรธิดารวม 5 คน คือ นางนรินทร์ นายหลง นายโฆสิต นายประวิตร และนางสุพรรณ ต่อมานายหลงได้ศึกษาทางแพทย์และเข้ารับราชการในกรมสาธารณสุข กระทั่งได้รับพระราชทานนามสกุล "เวชชาชีวะ" และทุกคนนับแต่บิดาคือ นายแสงและพี่น้องก็ใช้นามสกุลนี้กันแต่นั้นมา นายหลง นี้เองที่ต่อมาคือ พระบำราศนราดูร อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
พระบำราศนราดูร มีบุตร 3 คน คือ นายอำนวย เวชชาชีวะ, นายเสรี เวชชาชีวะ, นายธีระ เวชชาชีวะ
ส่วนนายโฆสิต เวชชาชีวะ มีบุตร 10 คน คือ นางจิตราภา เวชชาชีวะ, นายชลิต เวชชาชีวะ, น.ส.เพ็ญศรี เวชชาชีวะ, นางเสาวนีย์ เชาวน์ชูเวชช, นายนิสสัย เวชชาชีวะ, นายวัยวัฒน์ เวชชาชีวะ, น.พ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ, นายวิทยา เวชชาชีวะ, นางพรรณทิพา เอกอัครพานิช
ขณะที่ ขุนประวิตรเวชชาชีพ (ประวิตร เวชชาชีวะ) มีบุตร คือ นายพงศ์ศักดิ์ เวชชาชีวะ, นายประภัทรพงศ์ เวชชาชีวะ, นายประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ, นางศศิพงศ์ อมาตยกุล, นางรัชนิพงศ์ เทิดวงส์, นายภาณุพงศ์ เวชชาชีวะ
*********************
ต่อมาในรุ่นปู่ได้เข้ามาอาศัยในกรุงเทพฯ คือ "ปู่ใหญ่" (พี่ชายของปู่) พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 2 สมัย ใน คณะรัฐมนตรีคณะที่ 29 (10 กุมภาพันธ์ 2502 - 8 ธันวาคม 2506) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2502 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ พลเอกสุทธิ์ สุทธิสารรณกร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2502 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และ คณะรัฐมนตรี คณะที่ 30 (11 ธันวาคม 2506 - 11 มีนาคม 2512) พลเอกถนอม กิตติขจร (ยศในขณะนั้น) เป็น นายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2506 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และเป็นผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลบำราศนราดูร จ.นนทบุรี เมื่อปี 2492 และเป็นพี่ชายของนายโฆสิต เวชชาชีวะ ปู่ของนายอภิสิทธิ์
สกุล "เวชชาชีวะ" หรือ "Vejjajiva" เป็นนามสกุล ลำดับที่ 4,881 จากนามสกุลพระราชทานสมัยรัชกาลที่ 6 ที่พระราชทาน รวมทั้งสิ้น 6,423 นามสกุล โดยพระราชทานให้กับรองอำมาตย์ตรีหลง (หลง เวชชาชีวะ) แพทย์ประจำจังหวัดลพบุรี กับ นายจิ๊นแสง (บิดา) นายเป๋ง (ปู่) และนายก่อ (ปู่ทวด) เนื่องจากเป็นต้นตระกูลเป็นแพทย์จึงมีคำว่า "เวช" อยู่ในนามสกุลด้วย
นาย อภิสิทธิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับ นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยที่นายสุรนันทน์เป็นบุตรของ นายนิสสัย เวชชาชีวะ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นพี่ชายแท้ ๆ ของ ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ บิดาของอภิสิทธิ์
สายสกุล ข้างแม่
พญ.สดใส เวชชาชีวะ เป็นบุตรีของ นาย นัทธี สูตะบุตร บุตรของ อำมาตย์ตรี หลวงวิพิธพจนการ (แจ่ม) อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหลายจังหวัด ซึ่งได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ลำดับที่ 2389 ขณะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลเมืองพุมเรียง (ไชยา) มีพี่น้องร่วมสายเลือดอีก 2 คน คือ นายปริญญา สูตะบุตร อดีตอธิบดีกรมทางหลวง และนายปรัชญา สูตะบุตร อธิบดีกรมโยธาธิการ
สำหรับ นายนัทธีเป็นน้องชายแท้ๆของนายหิรัญ สูตะบุตร อดีตอธิบดีกรมสรรพากรในยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายอภิสิทธิ์จึงมีศักดิ์เป็นหลานชายของ ดร.หริส สูตะบุตร, ดร.ธีระ สูตะบุตร อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และนางนิตยา มาศะวิสุทธิ์ รวมทั้ง พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รมว.กลาโหม ในฐานะลุงเขย
นอกจากนั้นยังมีสายสัมพันธ์ทางเครือญาติกับ 3 พี่น้อง "สูตะบุตร" คือ นายประเทศ, นาย ประมุท (อดีตผู้อำนวยการคนแรกขององค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ อ.ส.ม.ท. ตั้งแต่ปี 2520 ในรัฐบาลหอย ของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร และอยู่ในตำแหน่งนานถึง 8 ปี จนถึงรัฐบาลคณะรัฐมนตรีชุดที่ 43 นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรีและประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์) และ นายประการ ซึ่งสมรสกับ ม.ร.ว.มัลลิกา วรวรรณ เป็นหลานตาของ ม.จ.นิ ตยากร วรวรรณ พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาเขียน และนายประการนี้เองเป็นบิดาของ นางวรกร จาติกวณิช ภริยาของ นายกรณ์ จาติกวณิช แม่ม่ายลูกติด ผู้ผ่านการสมรสมาแล้วกับหนุ่มพนักงานการบินไทย นายกฤษณะพงษ์ มหาเปารยะ บุตรชายของ นายพงษ์เทพ มหาเปารยะ อดีตผู้อำนวยการสำนักบริหารธนาคารกสิกรไทย ซึ่งได้หย่าขาดจากกันโดยฝ่ายหญิงได้สิทธิผู้เลี้ยงดูบุตรชาย 2 คน นายพงศกร และ นายพันธิตร แต่เพียงผู้เดียว
สายสกุลข้างเมีย
นายอภิสิทธิ์ สมรสกับ ดร.พิมพ์เพ็ญ ศกุนตาภัย อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุตรีของ ศ.พงศ์เพ็ญ ศกุนตาภัย นักวิชาการด้านการเมืองการปกครอง กับนางประภาพิมพ์ ศกุนตาภัย (สุวรรณศร) อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ ทั้ง 2 เป็นเพื่อนนักเรียนตั้งแต่สมัยชั้นประถมที่โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ และติดต่อกันทางจดหมายต่อเนื่องมาตลอดหลายปี ขณะที่นายอภิสิทธิ์ศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษ และแต่งงานกันขณะที่นายอภิสิทธิ์เป็นอาจารย์อยู่ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (?) ปัจจุบันทั้งคู่มีบุตร-ธิดาด้วยกัน 2 คน คือ นางสาวปราง และนายปัณณสิทธิ์
ประวัติส่วนตัวของนางพิมพ์เพ็ญนั้น มีบรรพบุรุษฝ่ายมารดามาจากสกุล "สุวรรณศร" อันเป็นนามสกุลพระราชทานลำดับที่ 2928 แก่ พระยาศรีราชรักษา (ปุย) ปลัดเมืองสุพรรณบุรี ที่มีสายสัมพันธ์เกี่ยวโยงเป็นญาติใกล้ชิดกับสกุล "สุขุม" นามสกุลพระราชทานลำดับที่ 1 ของ มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล อภิรัฐมนตรี เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เสนาบดีกระทรวงนครบาล โดยมีมารดามาจากสกุล "ณ ป้อมเพชร" ซึ่งนับเป็นหลานยายของ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ เนื่องจากนางอัมพา ณ ป้อมเพชร ซึ่งเป็นน้อง สาวของท่านผู้หญิงพูนศุข ได้สมรสกับ ศ.ประมูล สุวรรณศร มีธิดา 3 คน คือ ประพาพิมพ์, ศันสนีย์ และ มณีรัตนา
ทั้งท่านผู้หญิงพูนศุขและนางอัมพาเป็น 2 ใน 12 บุตรธิดาของ พระยาชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร์) อธิบดีกรมราชทัณฑ์คนแรกและคนเดียวในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กับคุณหญิง เพ็ง สุวรรณศร ซึ่งมีสายสัมพันธ์กับสกุลใหญ่และเก่าแก่อีกหลายสกุล เช่น บุนนาค, พนมยงค์, สุนทรวิจารณ์, อัศวนนท์, รังสิพราหมณกุล รวมถึง ศกุนตาภัย ซึ่งนางสาวประพาพิมพ์ สุวรรณศร มีศักดิ์เป็นหลานสาวของพระยาไชยวิชิตฯ และแต่งงานกับ ศ.(พิเศษ)พงษ์เพ็ญ ศกุนตาภัย
เมื่อถอยหลังขึ้นไปอีก 1 รุ่น คือ พระยาไชยวิชิตสิทธิสาตรา (นาค) เคยดำรงตำแหน่ง "ผู้รักษากรุงเก่า" และเคยมีส่วนร่วมในประวัติศาสตร์การอภิวัฒน์ประเทศไทยในยุคแรก เพราะเมื่อครั้งมีบรรดาศักดิ์ที่หลวงวิเสศสาลี ข้าราชการสถานทูตสยามประจำกรุงลอนดอน ได้เข้าร่วมกับพระบรมวงศ์ 4 พระองค์ อันได้แก่ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์), พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา), สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์) และ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ (พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์) และข้าราชการสถานทูตสยามประจำกรุงลอนดอนและประจำกรุงปารีส 7 นาย กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ขอให้ทรงสถาปนา ระบบราชาธิปไตยจำกัดภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2428 หรือที่เรียกกันว่า "การเรียกร้องต้องการรัฐธรรมนูญของกลุ่มเจ้านายและข้าราชการใน ร.ศ. 103".
ปรับปรุง จาก โพสต์ครั้งแรก 18 พฤศจิกายน 2009, 20:12:21
ทางชีวิต "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" นายกฯเทพประทาน : ตอนที่ 1 ชีวิตส่วนตัว
http://www.newskythailand.info/board/index.php?topic=8573.0