ปูมชีวิต 'กรณ์ จาติกวณิช' กว่าจะมาเป็นรัฐมนตรี 'หล่อโย่ง'
ต้นตระกูลทางฝ่ายบิดาของ นายกรณ์ จาติกวณิช เป็นชาวจีนฮกเกี้ยนที่มาตั้งรกรากในประเทศสยาม กรณ์มีเชื้อสายดัชท์ แต่เกิดที่กรุงลอนดอน และเดินทางกลับมาประเทศไทยตั้งแต่อายุ 3 ปี และปักหลักเป็นชาวกรุงเทพมหานครมาจนถึงปัจจุบัน ยายเป็นชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทยขณะที่ย่าเป็นคนเหนือจากจังหวัดลำปาง
นามสกุล "จาติกวณิช" หรือ "Chatikavanij" เป็นนามสกุลพระราชทานสมัยรัชกาลที่ 6 ลำดับที่ 1211 ที่พระราชทานแก่ พระอธิกรณประกาศ (หลุย) เจ้ากรมกองตระเวณในขณะนั้นโดยระบุว่าพระอธิกรณประกาศมีปู่คือ พระอภัยวานิช (จาด) และเนื่องจากเป็นสกุลพ่อค้าจีงมีคำว่า "วณิช" ในนามสกุล
ปู่ของนายกรณ์คือ พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช หรือ ซอเทียนหลุย) ได้เข้ารับราชการและดำรงตำแหน่งเทียบเท่าอธิบดีกรมตำรวจคนที่ 2 ของไทย และได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นองคมนตรีในสภากรรมการองคมนตรี สมัยรัชกาลที่ 7 พระยาอธิกรณ์ประกาศมีภรรยา 2 คน ภรรยาคนแรก มีบุตรชาย คือ นายแพทย์กษาน จาติกวณิช คุณหญิงเสงี่ยมภรรยาคนที่สองมีบุตรชาย 2 คน คือ นายเกษม จาติกวณิช และ นายไกรสีห์ จาติกวณิช
ในปีรุ่งขึ้นหลังการอภิวัฒน์สยาม ในฝ่ายที่ยังคงจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เริ่มเคลื่อนไหวโดยมีการประชุมหารืออยู่บ่อยครั้ง แต่การเคลื่อนไหวดังกล่าวหาได้เล็ดรอดไปจากการเฝ้าสังเกตจับตาโดยคณะราษฎรแต่อย่างใด และเพื่อเป็นการปรามแนวคิดที่จะก่อการยึดอำนาจคืนจากคณะราษฎร พันโท หลวงพิบูลสงคราม ทำหนังสือไปถึงคณะบุคคลที่กำลังเคลื่อนไหวกันอย่างเป็นความลับนั้น ดังมีใจความว่า
"..... ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบรักษาความสงบเรียบร้อย จึงขอเตือนให้ท่านจงสงบจิตสงบใจ หากท่านยังจุ้นจ้านอีก คณะราษฎรตกลงจะทำการอย่างรุนแรง และจำต้องถือเอาความสงบของบ้านเมืองเป็นกฎหมายสูงสุดในการทำแก่ทาน ที่กล่าวมานี้มิใช่เป็นการขู่เข็ญ แต่เป็นการเตือนมาด้วยความหวังดี"
คำขาดที่ว่านี้มีไปถึงบุคคลที่คิดก่อการ ดังเช่น พระองค์เจ้าบวรเดช, พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์, หม่อมเจ้าวงศ์ เนรชร, หม่อมเจ้าไขแสง ระพีพัฒน์, หม่อมเจ้าโสภณ ภาราไดย์, พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช), พระศราภัยพิพัฒน์ (เลื่อน ศราภัยวานิช) ทุกพระองค์และทุกคนพากันเข้าพบหลวงพิบูลสงคราม และหลวงศุภชลาศัย ที่วังปารุสกวันเพื่อเคลียร์ตัวเอง เว้นพระองค์เดียว คือ พระองค์เจ้าบวรเดช ทั้งยังคงเดินทางไปๆมาๆระหว่างกรุงเทพฯและจังหวัดนครราชสีมา อย่างไม่ใส่ใจต่อคำขาดจากผู้รับผิดชอบในการรักษาความสงบจากฝ่ายคณะราษฎร
วันที่ 3 ตุลาคม 2476 "คณะกู้บ้านเมือง" ก็ลอบออกเดินทางไปรวมตัวพร้อมหน้ากันที่นครสวรรค์ ผู้ก่อการวางแผนเข้ายึดนครราชสีมาอย่างสายฟ้าแลบ โดยใช้หน่วยทหารที่ยังจงรักภักดีต่อพระองค์เจ้าบวรเดช นอกจากนั้นยังพยายามระดมทหารจากหัวเมือง เช่น อุบลราชธานี เข้าร่วมด้วย แต่ผู้บังคับบัญชาและคุมกำลังส่วนใหญ่หัวเมืองต่างๆเกิดการไหวตัว เพราะเชื่อว่าพวกอาจจะถูกใช้เป็นเครื่องมือ
แต่การลอบออกเดินทางจากพระนครนี้ พระยาอธิการณ์ประกาศไม่สามารถร่วมไปกับ "คณะกู้บ้านเมือง" ได้ ผลก็คือในการสู้รบ ความพ่ายแพ้และถูกจับ จึงไม่มีพระยาอธิกรณ์ประกาศรวมอยู่ด้วย
นายไกรสีห์ จาติกวณิช บิดาของนายกรณ์เพื่อนร่วมรุ่นโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนกับ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีและ ดร.อำนวย วีรวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศุลกากรและกรมสรรพากรอดีตผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทผาแดงอินดัสทรี้ส์ จำกัด ที่เป็นผู้นำในวงการอุตสาหกรรมทองแดงของไทยอีกด้วย ปัจจุบัน นายไกรสีห์ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารบริษัทไทยเซ็นทรัลเคมีจำกัด (มหาชน) หรือ TCCC ที่เป็นบริษัทปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ชั้นนำรายหนึ่งของประเทศไทย
ลุงคนแรกคือ นายแพทย์กษาน จาติกวณิช สมรสกับ ท่านผู้หญิงสุมาลี (ยุกตะเสวี) จาติกวณิช บุตรสาวของ หลวงยุกตเสวีวิวัฒน์ (สิระ ยุกตะเสวี) อดีตอธิบดีกรมโยธาเทศบาลในสมัยรัฐบาล พล.อ.สฤษดิ์ กับ คุณหญิงยุกตเสวีวิวัฒน์ (ถนอมศรี ยุกตะเสวี) มีบุตรสาว 1 คน คือ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการและเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับคุณหญิงกษมาสมรสกับหม่อมราชวงศ์ชาญวุฒิ วรวรรณ บุตรีของนาง จิตราวรวรรณ ณ อยุธยา (พี่สาวคนที่ 4 ของนายอานันท์ ปันยารชุน) กับ หม่อมเจ้าโวฒยากรวรวรรณ พระโอรสองค์ที่ 20 ของพระเจ้าบรมวงศ์ เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
ลุงอีกคนคือ นายเกษม จาติกวณิช หรือ "ซูเปอร์เค" เป็นผู้ก่อตั้งและผู้ว่าการคนแรกของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและเป็นประธานรถไฟฟ้า BTS เป็นเพื่อนร่วมรุ่นโรงเรียนเซ็นต์สตีเฟ่นฮ่องกงกับนาย พิชัย รัตตกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี นายเกษมสมรสกับคุณหญิงชัชนี จาติกวณิช (ล่ำซำ) ผู้บริหารกลุ่มล็อกซเล่ย์ ในระหว่างเป็นผู้ว่าการ กฟผ.นายเกษมได้รับการทาบทามให้ไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ แต่นายเกษมได้ปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่าตำแหน่งที่ กฟผ. สำคัญกว่า ต่อมาในรัฐบาลพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายเกษมได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และในรัฐบาลเกรียงศักดิ์ 2 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายก รัฐมนตรี ในฐานะที่ปรึกษานายกฯ หลังจากลาออกจาก กฟผ. นายเกษมได้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารรัฐวิสาหกิจในคราวเดียวกันถึง 4 แห่งคือเป็นกรรมการอำนวยการไทยออยล์, ประธานกรรมการบางจากปิโตรเลียม, ประธานกรรมการบริษัทปุ๋ยแห่งชาติและประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร แบงก์เอเชียทรัสต์
นายไกรสีห์สมรสกับ นางรัมภา จาติกวณิช (นามสกุลเดิม พรหโมบล) มีบุตรชายสองคน คือ นายกรณ์ และน้องชาย คือ นายอนุตร จาติกวณิช ที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกันมาก ขนาดที่มีคนจำผิดมาแล้วมากมาย
ทั้งกรณ์ จาติกวณิช และ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ถือกำเนิดในตระกูลเก่าแก่ มีบรรพบุรุษทางบิดาเป็นชาวจีนที่เข้ามาตั้งรกรากในประเทศสยามทั้งนามสกุล "จาติกวณิช" และ "เวชชาชีวะ" ต่างก็เป็นนามสกุลพระราชทานในสมัยรัชกาลที่ 6
บิดาของทั้งคู่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศเคยดำรงตำแหน่งสำคัญในระดับประเทศ ทั้งกรณ์และอภิสิทธิ์เกิดในประเทศอังกฤษในปี 2507 ต่อมาทั้งคู่กลับมาเข้าเรียนหนังสือระดับประถมศึกษาที่ประเทศไทยเหมือนกัน กรณ์กลับไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ เมื่ออายุ 11 ปี ขณะที่อภิสิทธิ์ก็กลับไปเรียนต่ออังกฤษในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยอภิสิทธิได้เข้าเรียนมัธยมที่โรงเรียนอีตันส่วนกรณ์เรียนที่โรงเรียนวินเชสเตอร์ (Winchester College) ซึ่งเป็นโรงเรียนคู่แข่งกัน
ต่อมาอภิสิทธิ์และกรณ์ได้มาเรียนด้วยกันที่มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด และมีโอกาสรู้จักสนิทสนมกัน ต่อมาอภิสิทธิ์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 สาขาปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ส่วนกรณ์ก็สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาเดียวกันด้วยเกียรตินิยมอันดับ 2
หลังจากสำเร็จการศึกษากรณ์และอภิสิทธิ์ได้แยกย้ายกันไปทำงานแตกต่างกัน โดยอภิสิทธิ์ทำงานเป็นอาจารย์ส่วนกรณ์ทำงานในสายการเงิน แต่ทั้งคู่ยังมีความสัมพันธ์เพิ่มขึ้นอีกเมื่อกรณ์แต่งงานเนื่องจากนางวรกร จาติกวณิช ภรรยาของกรณ์เป็นญาติกับอภิสิทธิ์ นามสกุลเดิมของเธอคือสูตะบุตรเช่นเดียวกับมารดาของอภิสิทธิ์ นอกจากนี้ภรรยาของกรณ์ยังสนิทกับงามพรรณ เวชชาชีวะ นักเขียนรางวัลซีไรต์ ที่เป็นพี่สาวของอภิสิทธิ์อีกด้วย
นางวรกร จาติกวณิช เป็นบุตรีของ นายประการ สูตะบุตร ซึ่งมีพี่น้อง 3 คน คือ นายประเทศ, นายประมุท (อดีตผู้อำนวยการคนแรกของ "องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย" หรือ อ.ส.ม.ท. ตั้งแต่ปี 2520 ในรัฐบาลหอยของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร และอยู่ในตำแหน่งนานถึง 8 ปี จนถึงรัฐบาลคณะรัฐมนตรีชุดที่ 43 นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรีและประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์) นายประการ สมรสกับ ม.ร.ว.มัลลิกา วรวรรณ หลานตาของหม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากรกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาเขียน
นางวรกรผ่านการสมรสมาแล้วกับหนุ่มพนักงานการบินไทย นายกฤษณะพงษ์ มหาเปารยะ บุตรชายของนายพงษ์เทพ มหาเปารยะ อดีตผู้อำนวยการสำนักบริหารธนาคารกสิกรไทย ซึ่งได้หย่าขาดจากกันโดยฝ่ายหญิงได้สิทธิผู้เลี้ยงดูบุตรชาย 2 คน นาย พงศกรและนายพันธิตร แต่เพียงผู้เดียว
นายกรณ์และนางวรก รมีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คน คือ ด.ญ.กานต์ (แจม) และ ด.ช.ไกรสิริ (จอม)
ในที่สุดทั้งอภิสิทธิ์และกรณ์ได้เข้าสู่วงการเมืองในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดียวกันและได้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารพรรคด้วยกันในเวลาต่อมา และล่าสุดอภิสิทธิ์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีขณะที่กรณ์เพื่อนรักดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง.
โพสต์ครั้งแรก 24 สิงหาคม 2009, 12:00:04
http://www.newskythailand.info/board/index.php?topic=7241.msg22976#msg22976
แก้ไข ปรับปรุง 24 พฤศจิกายน 2009, 09:03:56
http://www.newskythailand.info/board/index.php?topic=8652.msg27226#msg27226
ปรับปรุง เพิ่มเติม 18 ธันวาคม 2017, 11:87:10
ต้นตระกูลทางฝ่ายบิดาของ นายกรณ์ จาติกวณิช เป็นชาวจีนฮกเกี้ยนที่มาตั้งรกรากในประเทศสยาม กรณ์มีเชื้อสายดัชท์ แต่เกิดที่กรุงลอนดอน และเดินทางกลับมาประเทศไทยตั้งแต่อายุ 3 ปี และปักหลักเป็นชาวกรุงเทพมหานครมาจนถึงปัจจุบัน ยายเป็นชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทยขณะที่ย่าเป็นคนเหนือจากจังหวัดลำปาง
นามสกุล "จาติกวณิช" หรือ "Chatikavanij" เป็นนามสกุลพระราชทานสมัยรัชกาลที่ 6 ลำดับที่ 1211 ที่พระราชทานแก่ พระอธิกรณประกาศ (หลุย) เจ้ากรมกองตระเวณในขณะนั้นโดยระบุว่าพระอธิกรณประกาศมีปู่คือ พระอภัยวานิช (จาด) และเนื่องจากเป็นสกุลพ่อค้าจีงมีคำว่า "วณิช" ในนามสกุล
ปู่ของนายกรณ์คือ พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช หรือ ซอเทียนหลุย) ได้เข้ารับราชการและดำรงตำแหน่งเทียบเท่าอธิบดีกรมตำรวจคนที่ 2 ของไทย และได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นองคมนตรีในสภากรรมการองคมนตรี สมัยรัชกาลที่ 7 พระยาอธิกรณ์ประกาศมีภรรยา 2 คน ภรรยาคนแรก มีบุตรชาย คือ นายแพทย์กษาน จาติกวณิช คุณหญิงเสงี่ยมภรรยาคนที่สองมีบุตรชาย 2 คน คือ นายเกษม จาติกวณิช และ นายไกรสีห์ จาติกวณิช
**********
ในปีรุ่งขึ้นหลังการอภิวัฒน์สยาม ในฝ่ายที่ยังคงจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เริ่มเคลื่อนไหวโดยมีการประชุมหารืออยู่บ่อยครั้ง แต่การเคลื่อนไหวดังกล่าวหาได้เล็ดรอดไปจากการเฝ้าสังเกตจับตาโดยคณะราษฎรแต่อย่างใด และเพื่อเป็นการปรามแนวคิดที่จะก่อการยึดอำนาจคืนจากคณะราษฎร พันโท หลวงพิบูลสงคราม ทำหนังสือไปถึงคณะบุคคลที่กำลังเคลื่อนไหวกันอย่างเป็นความลับนั้น ดังมีใจความว่า
"..... ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบรักษาความสงบเรียบร้อย จึงขอเตือนให้ท่านจงสงบจิตสงบใจ หากท่านยังจุ้นจ้านอีก คณะราษฎรตกลงจะทำการอย่างรุนแรง และจำต้องถือเอาความสงบของบ้านเมืองเป็นกฎหมายสูงสุดในการทำแก่ทาน ที่กล่าวมานี้มิใช่เป็นการขู่เข็ญ แต่เป็นการเตือนมาด้วยความหวังดี"
คำขาดที่ว่านี้มีไปถึงบุคคลที่คิดก่อการ ดังเช่น พระองค์เจ้าบวรเดช, พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์, หม่อมเจ้าวงศ์ เนรชร, หม่อมเจ้าไขแสง ระพีพัฒน์, หม่อมเจ้าโสภณ ภาราไดย์, พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช), พระศราภัยพิพัฒน์ (เลื่อน ศราภัยวานิช) ทุกพระองค์และทุกคนพากันเข้าพบหลวงพิบูลสงคราม และหลวงศุภชลาศัย ที่วังปารุสกวันเพื่อเคลียร์ตัวเอง เว้นพระองค์เดียว คือ พระองค์เจ้าบวรเดช ทั้งยังคงเดินทางไปๆมาๆระหว่างกรุงเทพฯและจังหวัดนครราชสีมา อย่างไม่ใส่ใจต่อคำขาดจากผู้รับผิดชอบในการรักษาความสงบจากฝ่ายคณะราษฎร
วันที่ 3 ตุลาคม 2476 "คณะกู้บ้านเมือง" ก็ลอบออกเดินทางไปรวมตัวพร้อมหน้ากันที่นครสวรรค์ ผู้ก่อการวางแผนเข้ายึดนครราชสีมาอย่างสายฟ้าแลบ โดยใช้หน่วยทหารที่ยังจงรักภักดีต่อพระองค์เจ้าบวรเดช นอกจากนั้นยังพยายามระดมทหารจากหัวเมือง เช่น อุบลราชธานี เข้าร่วมด้วย แต่ผู้บังคับบัญชาและคุมกำลังส่วนใหญ่หัวเมืองต่างๆเกิดการไหวตัว เพราะเชื่อว่าพวกอาจจะถูกใช้เป็นเครื่องมือ
แต่การลอบออกเดินทางจากพระนครนี้ พระยาอธิการณ์ประกาศไม่สามารถร่วมไปกับ "คณะกู้บ้านเมือง" ได้ ผลก็คือในการสู้รบ ความพ่ายแพ้และถูกจับ จึงไม่มีพระยาอธิกรณ์ประกาศรวมอยู่ด้วย
**********
นายไกรสีห์ จาติกวณิช บิดาของนายกรณ์เพื่อนร่วมรุ่นโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนกับ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีและ ดร.อำนวย วีรวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศุลกากรและกรมสรรพากรอดีตผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทผาแดงอินดัสทรี้ส์ จำกัด ที่เป็นผู้นำในวงการอุตสาหกรรมทองแดงของไทยอีกด้วย ปัจจุบัน นายไกรสีห์ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารบริษัทไทยเซ็นทรัลเคมีจำกัด (มหาชน) หรือ TCCC ที่เป็นบริษัทปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ชั้นนำรายหนึ่งของประเทศไทย
ลุงคนแรกคือ นายแพทย์กษาน จาติกวณิช สมรสกับ ท่านผู้หญิงสุมาลี (ยุกตะเสวี) จาติกวณิช บุตรสาวของ หลวงยุกตเสวีวิวัฒน์ (สิระ ยุกตะเสวี) อดีตอธิบดีกรมโยธาเทศบาลในสมัยรัฐบาล พล.อ.สฤษดิ์ กับ คุณหญิงยุกตเสวีวิวัฒน์ (ถนอมศรี ยุกตะเสวี) มีบุตรสาว 1 คน คือ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการและเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับคุณหญิงกษมาสมรสกับหม่อมราชวงศ์ชาญวุฒิ วรวรรณ บุตรีของนาง จิตราวรวรรณ ณ อยุธยา (พี่สาวคนที่ 4 ของนายอานันท์ ปันยารชุน) กับ หม่อมเจ้าโวฒยากรวรวรรณ พระโอรสองค์ที่ 20 ของพระเจ้าบรมวงศ์ เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
ลุงอีกคนคือ นายเกษม จาติกวณิช หรือ "ซูเปอร์เค" เป็นผู้ก่อตั้งและผู้ว่าการคนแรกของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและเป็นประธานรถไฟฟ้า BTS เป็นเพื่อนร่วมรุ่นโรงเรียนเซ็นต์สตีเฟ่นฮ่องกงกับนาย พิชัย รัตตกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี นายเกษมสมรสกับคุณหญิงชัชนี จาติกวณิช (ล่ำซำ) ผู้บริหารกลุ่มล็อกซเล่ย์ ในระหว่างเป็นผู้ว่าการ กฟผ.นายเกษมได้รับการทาบทามให้ไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ แต่นายเกษมได้ปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่าตำแหน่งที่ กฟผ. สำคัญกว่า ต่อมาในรัฐบาลพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายเกษมได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และในรัฐบาลเกรียงศักดิ์ 2 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายก รัฐมนตรี ในฐานะที่ปรึกษานายกฯ หลังจากลาออกจาก กฟผ. นายเกษมได้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารรัฐวิสาหกิจในคราวเดียวกันถึง 4 แห่งคือเป็นกรรมการอำนวยการไทยออยล์, ประธานกรรมการบางจากปิโตรเลียม, ประธานกรรมการบริษัทปุ๋ยแห่งชาติและประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร แบงก์เอเชียทรัสต์
นายไกรสีห์สมรสกับ นางรัมภา จาติกวณิช (นามสกุลเดิม พรหโมบล) มีบุตรชายสองคน คือ นายกรณ์ และน้องชาย คือ นายอนุตร จาติกวณิช ที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกันมาก ขนาดที่มีคนจำผิดมาแล้วมากมาย
ทั้งกรณ์ จาติกวณิช และ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ถือกำเนิดในตระกูลเก่าแก่ มีบรรพบุรุษทางบิดาเป็นชาวจีนที่เข้ามาตั้งรกรากในประเทศสยามทั้งนามสกุล "จาติกวณิช" และ "เวชชาชีวะ" ต่างก็เป็นนามสกุลพระราชทานในสมัยรัชกาลที่ 6
บิดาของทั้งคู่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศเคยดำรงตำแหน่งสำคัญในระดับประเทศ ทั้งกรณ์และอภิสิทธิ์เกิดในประเทศอังกฤษในปี 2507 ต่อมาทั้งคู่กลับมาเข้าเรียนหนังสือระดับประถมศึกษาที่ประเทศไทยเหมือนกัน กรณ์กลับไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ เมื่ออายุ 11 ปี ขณะที่อภิสิทธิ์ก็กลับไปเรียนต่ออังกฤษในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยอภิสิทธิได้เข้าเรียนมัธยมที่โรงเรียนอีตันส่วนกรณ์เรียนที่โรงเรียนวินเชสเตอร์ (Winchester College) ซึ่งเป็นโรงเรียนคู่แข่งกัน
ต่อมาอภิสิทธิ์และกรณ์ได้มาเรียนด้วยกันที่มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด และมีโอกาสรู้จักสนิทสนมกัน ต่อมาอภิสิทธิ์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 สาขาปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ส่วนกรณ์ก็สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาเดียวกันด้วยเกียรตินิยมอันดับ 2
หลังจากสำเร็จการศึกษากรณ์และอภิสิทธิ์ได้แยกย้ายกันไปทำงานแตกต่างกัน โดยอภิสิทธิ์ทำงานเป็นอาจารย์ส่วนกรณ์ทำงานในสายการเงิน แต่ทั้งคู่ยังมีความสัมพันธ์เพิ่มขึ้นอีกเมื่อกรณ์แต่งงานเนื่องจากนางวรกร จาติกวณิช ภรรยาของกรณ์เป็นญาติกับอภิสิทธิ์ นามสกุลเดิมของเธอคือสูตะบุตรเช่นเดียวกับมารดาของอภิสิทธิ์ นอกจากนี้ภรรยาของกรณ์ยังสนิทกับงามพรรณ เวชชาชีวะ นักเขียนรางวัลซีไรต์ ที่เป็นพี่สาวของอภิสิทธิ์อีกด้วย
นางวรกร จาติกวณิช เป็นบุตรีของ นายประการ สูตะบุตร ซึ่งมีพี่น้อง 3 คน คือ นายประเทศ, นายประมุท (อดีตผู้อำนวยการคนแรกของ "องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย" หรือ อ.ส.ม.ท. ตั้งแต่ปี 2520 ในรัฐบาลหอยของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร และอยู่ในตำแหน่งนานถึง 8 ปี จนถึงรัฐบาลคณะรัฐมนตรีชุดที่ 43 นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรีและประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์) นายประการ สมรสกับ ม.ร.ว.มัลลิกา วรวรรณ หลานตาของหม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากรกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาเขียน
นางวรกรผ่านการสมรสมาแล้วกับหนุ่มพนักงานการบินไทย นายกฤษณะพงษ์ มหาเปารยะ บุตรชายของนายพงษ์เทพ มหาเปารยะ อดีตผู้อำนวยการสำนักบริหารธนาคารกสิกรไทย ซึ่งได้หย่าขาดจากกันโดยฝ่ายหญิงได้สิทธิผู้เลี้ยงดูบุตรชาย 2 คน นาย พงศกรและนายพันธิตร แต่เพียงผู้เดียว
นายกรณ์และนางวรก รมีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คน คือ ด.ญ.กานต์ (แจม) และ ด.ช.ไกรสิริ (จอม)
ในที่สุดทั้งอภิสิทธิ์และกรณ์ได้เข้าสู่วงการเมืองในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดียวกันและได้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารพรรคด้วยกันในเวลาต่อมา และล่าสุดอภิสิทธิ์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีขณะที่กรณ์เพื่อนรักดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง.
โพสต์ครั้งแรก 24 สิงหาคม 2009, 12:00:04
http://www.newskythailand.info/board/index.php?topic=7241.msg22976#msg22976
แก้ไข ปรับปรุง 24 พฤศจิกายน 2009, 09:03:56
http://www.newskythailand.info/board/index.php?topic=8652.msg27226#msg27226
ปรับปรุง เพิ่มเติม 18 ธันวาคม 2017, 11:87:10