Article  :  Political   :  Forum  :  Facebook  :  Youtube

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

"นายหัวชวน" กับ "ทรราชย์ถนอม" เมื่อไม่นานมานี้

"นายหัวชวน" กับ "ทรราชย์ถนอม" เมื่อไม่นานมานี้


สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แสดงจุดยืนเคียงข้างความถูกต้องชอบธรรมในสังคม กรณีแต่งตั้งจอมพลถนอม กิตติขจรเป็นนายทหารพิเศษ

รองศาสตราจารย์ ดร.วรวุฒิ หิรัญรักษ์ ประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่าในวันนี้ (30 มีนาคม 2542) สภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีการประชุมด่วนเพื่อพิจารณาประเด็นต่างๆ ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากในสังคม สืบเนื่องจากการคัดค้านกรณีที่ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กราบบังคมทูลให้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ ที่ประชุมมีมติดังนี้

1. สภาอาจารย์ ในฐานะเป็นองค์กรตัวแทนของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีจุดยืนที่เคียงข้างกับความถูกต้องและความชอบธรรมในสังคม และให้การสนับสนุนผู้ที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ หรือการใช้อำนาจและความรุนแรงล้มล้างระบอบประชาธิปไตย สภาอาจารย์เห็นว่า เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้จะเป็นบทเรียนอย่างดแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ว่าประชาชนชาวไทยยังไม่ลืมเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และไม่ต้องการให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีก รวมทั้งไม่ต้องการให้มีการบิดเบือนประวัติศาสตร์เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 อีก

2. กรณีที่มีการนำเอาท่านผู้ประศาสน์การ ปรีดี พนมยงค์ เปรียบเทียบกับ จอมพลถนอม กิตติขจร นั้น สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถือว่า เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะ ท่านปรีดี พนมยงค์ เป็นปูชนียบุคคลที่มีคุณูปการต่อประเทศไทยอย่างยิ่ง เพราะท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนร่วมในการก่อให้เกิดระบบการปกครองแบบ ประชาธิปไตยขึ้นในประเทศไทย และเป็นผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขึ้นมา

3. กรณีที่มีเสียงเรียกร้องจากองค์กรประชาธิปไตยต่างๆ เรียกร้องให้ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี กล่าวขอโทษประชาชนกรณีการแต่งตั้ง จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายทหารพิเศษ สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีความเห็นว่า การเรียกร้องดังกล่าวเป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคลของกลุ่มต่างๆ ที่สามารถแสดงออกไดตามระบบการปกครองประชาธิปไตย และในฐานะที่ นายชวน หลีกภัย เป็นประชาชนที่อยู่ในยุคสมัย ของเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นายชวน หลีกภัย คงจะทราบดีว่าควรจะดำเนินการอย่างไรต่อไปที่จะทำให้เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ยุติลงด้วยดี และไม่นำไปสู่เหตุการณ์วุ่นวายหรือการใช้อำนาจที่ไม่ชอบธรรมในประเทศไทย

วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กงล้อประวัติศาสตร์ที่ไม่อาจขัดขืนฝืนต้าน

กงล้อประวัติศาสตร์ที่ไม่อาจขัดขืนฝืนต้าน


โอ... ประชาธิปไตย ด้วยข้อเท็จจริงที่ล้วนบ่งชี้เสมอมาถึงความยากลำบาก และเส้นทางคดเคี้ยวเต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนามเช่นนี้เอง ภารกิจสถาปนาระบอบประชาธิปไตย ถึงตกมาอยู่ในมือของคนรุ่นเราจนได้... ในท่ามกลางวันเวลาที่ กิเลส ตัณหา และความละโมบโลภหลงทั้งปวงของมนุษย์ ถูกขยายขอบเขตจนยากที่ผู้คนในยุคที่ผ่านล่วงเลยมาตลอดประวัติอารยธรรมนับหมื่นปี จะเข้าใจได้

ถ้าเราผ่านมหายุคนี้ำไปได้ ด้วยความมีชัยไม่ใช่เพียงต่อผู้คนที่เห็นแตกต่างตรงกันข้าม ไม่ใช่เพียงช่วงชิงพลังอำนาจในการปกครองพิภพและเพื่อนมนุษย์ หากเราสามารถเปลี่ยนผ่านก้นบึ้งของความดิบเถื่อนที่ทำให้สัตว์เดรฉานกัดกินเผ่าพันธุ์ของตนเอง หากเราสามารถพลิกฟื้นจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ ที่ตระหนักในอุตมสัจจะ ที่มหาบุรุษผู้หนึ่งเคยให้สิ่งที่เป็นยิ่งกว่าอนุสติที่ว่า "สัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งนั้น"

การเปลี่ยนผ่านมหายุคของเผ่าพันธุ์ที่ยืนได้ด้วยสองขาหลัง และกระดูกสันหลังตั้งฉากกับพื้นพิภพ บนดาวเคราะห์ดวงที่สามของระบบสุริยะ จะนำมิติใหม่ทั้งทางกายภาพ ทางชีวภาพ และสภาวะทางจิตวิญญาณ...

และนี่บางทีอาจเป็นบททดสอบบทท้ายๆ สำหรับผู้คนที่สืบทอดเจตนารมณ์ของปวงทรราชย์ในประวัติศาสตร์... ว่าไม่มีทางที่อำนาจชั่วร้ายสามานย์ใด จะอยู่ยืนยงคงทนไปชั่วกัลปาวสาน

และนี่อีกเช่นกัน ไม่ใช่เป็นการพยากรณ์ ไม่ใช่การร้องขอ ไม่ใช่การบีบบังคับกดดัน... หากนี่คือความจริงแท้ที่เผ่าพันธุ์มนุษย์จะต้องก้าวผ่าน ไม่ว่าจะอยู่ในซีกโลกใด ในซอกหลืบเร้นลับเพียงใด และไม่ว่าจะสืบทอดขนบจารีตที่เก่าแก่ล้าหลังเพียงใด

ไม่มีใครจักอาจต้านทานการหมุนล่วงไปแห่งกงล้อประวัติศาสตร์ได้.


by รุ่งโรจน์ วรรณศูทร on 15 สิงหาคม 2010 เวลา 2:37 น. Facebook

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

"ระบบ" หรือ "ตัวบุคคล"

"ระบบ" หรือ "ตัวบุคคล"


ขณะนี้ มีมิตรสหายจำนวนมากในขบวนประชาธิปไตย ยังคงหลงวนเวียนอยู่กับแนวความคิดที่ให้ความสำคัญกับ "ตัวบุคคล" ในท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านระหว่างโลกเก่าที่ล้าหลังและเอื้ออำนวยต่อคนส่วนข้างน้อย กับโลกใหม่ที่รากฐานของทุกบริบทแห่งสังคมล้วนขึ้นต่อคนส่วนข้างมาก

นั้นคือ ปมเงื่อนและเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงนั้นอยู่ที่ "ระบบ" ไม่ใช่ "ตัวบุคคล" และระบบคือทุกสิ่งที่ถักทอขึ้นมาในเวลา 78 ปีแห่งการปะทุของความขัดแย้งระหว่างพลังทางสังคม 2 ชนิด ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 หรือจะเกิดขึ้นก่อนหน้าหรือหลังจากนั้น เป็นความเปลี่ยนแปลงที่หาได้ขึ้นต่อเจตจำนงเสรีของปัจเจกชน หรือหมู่คณะผู้คนแต่อย่างใดไม่

พลังชนิดแรกคือพลังที่มีลักษณะก้าวหน้า อัดแน่นด้วยศักยภาพแฝงในอันที่จะผลักดันพัฒนาการของสังคมทั้งสังคมให้ก้าวรุดหน้าไปในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ทางประยุกต์วิทยา วิทยาศาสตร์ทางจิต (ที่รวมความเชื่อทางศาสนา) ทางสังคมวิทยา และที่สำคัญในมิติทางเศรษฐศาสตร์การเมือง พลังชนิดนี้เองที่จะปลดปล่อยมวลมนุษย์จากการตกเป็นข้าทาสของกาลเวลา ที่ผูกล่ามผู้คนไว้ในประวัติศาสตร์แห่งการไร้เสรีภาพ การกดขี่แบ่งชั้น ตลอดจนการดำรงของชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ ที่จมปลักดักดานวนเวียนอยู่เพียง "ความจำต้องเป็น"

และอนาคตอันรุ่งโรจน์ของมนุษยชาติก็อยู่ในกำมือของพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงหรือนัยหนึ่ง "พลังอภิวัฒน์" นี้เอง

พลังชนิดหลังคือพลังที่มีลักษณะล้าหลัง ฉุดรั้ง ตายด้ายอยู่ในพัฒนาการทุกด้าน ทั้งต่่อสู้ดิ้นรนทุกวิถีทาง และระดมสรรพกำลัง เพื่อรักษาโลกเก่า ระบบเก่า ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อพัฒนาการของชีวิตทางสังคมที่ล้วนมีสภาวธรรมแห่งการเปลี่ยนแปลง ตาม "กฎอนิจจัง" ก้าวพ้นศตวรรษโบราณ และไม่สามารถขัดขืนต้านทานได้อีกต่อไป

และนั่นคืออดีตอันเลือนรางและนับวันมีแต่จะโรยราเสื่อมสลาย ถดถอยอ่อนแอลงเป็นลำดับของ "พลังปฏิกิริยา"

ในท่ามกลางความขัดแย้งและการเปลี่ยนผ่าน ไม่มีคำว่าว่า "แพ้" หรือ "ชนะ" เพราะไม่มีหน้าไหนฝืน "กฎพระไตรลักษณ์" ได้อย่างเด็ดขาด

ผลจากความดื้อรั้นดันทุรัง ฝืนกงล้อแห่งการเปลี่ยนแปลงอันเป็นสัจจธรรมนี้ ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะก่อให้เกิดบาดแผลและความเจ็บปวดร้าวลึกตลอดองคาพยพของสังคม และทั้งในความรู้สึกนึกคิดของผู้คนนับล้าน หรือนับสิบล้าน

เพียงการ "ตระหนักรู้" เท่านั้น ที่ทำให้ "การเปลี่ยนผ่าน" เกิดขึ้นได้โดยสูญเสียน้อยที่สุด

ทั้งนี้ การตระหนักรู้นั้นเป็นความจำเป็นอย่างถึงที่สุดของพลัง 2 ฝ่าย.

ระลึกแม่

ระลึกแม่ :
ระลึก 'เพลากิยา นิลอฟนา' ใน "แม่" ของ แม็กซิม กอร์กี้


ผมตั้งใจจะเขียนความทรงจำส่วนตัวถึงแม่ เฉพาะที่แม่เข้ามาเกี่ยวข้องกับขบวนประชาธิปไตย ส่วนหนึ่งด้วยหัวจิตหัวใจรักความเป็นธรรมและรักความเสมอภาค มีน้ำใจต่อผู้คนที่แม่เห็นว่าต่ำต้อยน้อยหน้าในสังคม และอีกส่วนหนึ่งด้วยการกระตุ้นเร้าจากผมเองซึ่งเป็นลูกชายคนโตในลูกๆทั้ง 3 คน ของแม่กับพ่อ

ปี 2515 ลูกชายของแม่คนนี้สอบเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ (ทั้งที่ในตอนนั้นไม่มีใครแม้แต่ผมเองจะรู้ล่วงหน้าว่าผมจะหันหลังให้สถาบัน ที่ถือกำเนิดในยุครุ่งอรุณของประชาธิปไตยในประเทศนี้ในเวลาไล่เลี่ยกับการ จากไปของแม่) โดยที่ทั้งพ่อทั้งแม่ไม่ได้ถูกใจอะไรนัก แต่แม่ก็ดีใจออกนอกหน้ากับทุกผู้คนในโลกของแม่ เพราะแม่เรียนชั้นสูงสุดได้วุฒิแค่ "ประโยคครูมัธยม" หรือย่อว่า ป.ม. (อาชีวะ) แม่เรียนฝึกหัดครู ต่อจากเป็น "ลูกเซียงเงี้ยบฮ้อ" ในวังเดิมของ "เสด็จเตี่ย" นายพลเรือเอก พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ หมายความว่าแม่เรียนสายอาชีวะที่ "โรงเรียนพาณิชยการพระนคร" ซึ่งเพื่อนรุ่นเดียวกันที่แม่ภูมิอกภูมใจนักหนาคือ สมจินต์ ธรรมทัต ดาราเจ้าบทบาทและนักพากย์ภาพยนตร์ระดับหัวแถวของวิกบางขุนพรหม สถานีไทยโทรทัศน์กรมประชาสัมพันธ์ หรือ สถานีโทรทัศน์ช่อง 4 ยุคขาว-ดำ

แม้ว่าลูกชายคนนี้ขัดใจเล็กๆกับแม่ และอาจจะถึงขั้นเป็นที่ขัดเคืองของพ่อวิศวกรโยธาจากรั้วจามจุรี แต่ทั้งพ่อทั้งแม่รู้อยู่เต็มอกว่าลูกชายคนนี้ตั้งใจแน่วแน่ขนาดไหน ที่จะได้เข้าไปศึกษากับสถาบันที่แรกสถาปนาในชื่อ "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" โดยท่านผู้ประศาสน์การ นายปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าคณะผู้ก่อการอภิวัฒน์สยาม 2475 สายพลเรือน และหัวหน้าเสรีไทยสายในประเทศ ผู้นำประชาชนผู้รักชาติลุกขึ้นต่อต้านอย่างลับๆ กับการรุกรานของกองทัพพระจักรพรรดิ ที่เกรียงไกรที่สุดในทวีปเอเชียในเวลานั้น ช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา

เด็กหนุ่มอายุ 18 กลับบ้านทุกวันพร้อมกับเรื่องเล่าถึงโลกแห่งการรับรู้ที่เปิดกว้างกว่าชีวิตเด็กมัธยมของประเทศในยุคเผด็จการครองเมืองต่อเนื่องมายาวนาน ลูกชายของแม่มีโอกาสสัมผัสกับกลุ่มเสวนาอิสระในรั้วแม่โดม จนก้าวเข้าร่วมกิจกรรมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในฐานะสมาชิก "สภาหน้าโดม" รุ่นรองสุดท้าย เป็นการลิ้มรสชาติ "เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ" ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ในท่ามกลางผู้คนซึ่งล้วนแล้วแต่เกิดก่อน มีความรอบรู้และประสบการณ์มากกว่าเกือบจะทั้งหมดทั้งสิ้น แต่ในวงเสวนาย่อมๆที่ไม่เป็นทางการนั้น ทุกคนมีอิสระในความคิดเห็น และสามารถนำเสนอและโต้แย้งได้อย่างเต็มที่

ลูกคนนี้ของแม่พาตัวเองเข้าร่วมขบวนแถวนักศึกษาร่วมสถาบันในทุกรูปแบบ จากการร่วมมือของกลุ่มอิสระในจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยที่นำโดย "กลุ่มฟื้นฟูโซตัสใหม่" และในธรรมศาสตร์ที่มีลักษณะหลากหลายกว่า คือ "ชมรมนิติศึกษา" "กลุ่มเศรษฐธรรม" "กลุ่มผู้หญิง ม.ธ." และ "กลุ่มสภาหน้าโดม" คัดค้านฟุตบอลประเพณีที่ทำให้นิสิตนักศึกษา 2 สถาบันมีสภาพเป็น "อภิชน" ไปกลายๆ การคัดค้านการประกวดนางสาวไทย อันเป็นการทำลายความเป็นมนุษย์และมีลักษณะกดขี่ทางเพศสำหรับ "เพศแม่" ที่เวทีวังสราญรมย์ในปีนั้น

กว่าที่เรา - หมายถึงกลุ่มนักกิจกรรมในรั้วมหาวิทยาลัย - จะตระหนักว่า ทุกปัญหาในบ้านเมืองรวมศูนย์อยู่ที่การเมือง ก็ตกปลายปี 2515 นั้นเอง

วันที่ 12 ธันวาคม 2515 คณะปฏิวัติ (ตนเอง) ภายใต้การนำของจอมพลถนอม กิตติขจร ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 299 ที่ "ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานคณะตุลาการ ซึ่งแต่เดิมประกาศศาลฎีกาเป็นประธานคณะตุลาการ ส่วนกรรมการตุลาการ 9 คนนั้น เฉพาะกรรมการที่คณะผู้พิพากษาเป็นผู้เลือก 4 คน เปลี่ยนเป็นให้รัฐมนตรีเป็นผู้เลือก"

ในเวลาเพียงไม่กี่วัน นิสิตนักศึกษากลุ่มต่างๆในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็จัดให้มีการประชุมเป็นการด่วน ที่ห้อง "ชมรมนิติศึกษา" คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เดินขบวนไปยังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อแสดงการคัดค้านประกาศคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว และเพื่อเป็นยืนยันด้วยการปฏิบัติ เรียกร้องให้ขบวนการนิสิตนักศึกษาทั่วประเทศแสดงออกถึงการคัดค้านการก้าว ก่ายอำนาจอธิปไตย จากอำนาจนอกวิถีทางประชาธิปไตย

การเคลื่อนไหวภายใต้มติร่วมกันครั้งนั้น นำไปสู่การประท้วงที่มีลักษณะการเมืองครั้งแรกของนิสิตนักศึกษา นับจากการยึดอำนาจด้วยการทำรัฐประหารในยุคจอมเผด็จการผ้าขาวม้าแดง - สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และต่อเนื่องมาถึงการรัฐประหารตัวเองเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2514 ของหัวเรือใหญ่ในกลุ่ม "สามทรราชย์" - ถนอม กิตติขจร ระหว่างเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ที่ยิ่งใหญ่

ถ้าความทรงจำของผมยังไม่ทรยศตัวเอง - เพราะผมจะไม่ตรวจสอบบันทึกความทรงจำชิ้นนี้ในเชิงวิชาการ - กลุ่มอิสระนอกเหนือจากจุฬา-ธรรมศาสตร์ข้างต้นแล้ว เรายังมี "สภากาแฟ" จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ "ชมรมคนรุ่นใหม่" จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ในส่วนภูมิภาคก็มีการเคลื่อนไหวที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยกลุ่ม "วลัญชทัศน์" และมีนักศึกษาที่ยังไม่มีการรวมตัวจัดตั้งกลุ่มก้อนเช่นจากมหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วมด้วย

พวกเราถกเถียงโต้แย้งแสดงความคิดเห็นกันนานนับชั่วโมง ก่อนจะมีมติร่วมกันเป็นเอกฉันท์ ให้มีการชุมนุมประท้วงรัฐบาล ตลอดทั้งคืนของวันที่ 19 ธันวาคม 2515 ที่หน้าศาลยุติธรรม

แล้ว "แม่" ของผมมาเกี่ยวข้องตรงไหนหรือครับ .... แม่ผมที่หมอตรวจพบว่าเป็นมะเร็งทรวงอก "ต้อง" เข้ารับการผ่าตัดในวันที่ลูกชายของแม่และเพื่อนอีกนับร้อยนับพัน กำลังจะก้าวออกไปต่อต้านอำนาจเผด็จการเป็นครั้งแรก เป็นการผ่าตัดที่ลูกชายคนโตไม่ได้เดินเคียงข้างเตียงเข็นไปสู่ห้องผ่าตัด

เราแม่ลูกได้พูดคุยทำความเข้าใจ และต่างให้กำลังใจในภารกิจและความจำเป็นของเรา ที่แต่ละฝ่ายล้วนต้องใช้จิตใจที่หาญกล้า เผชิญกับอุปสรรคความยากลำบากที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน จากนั้นก็อาศัยความผูกพันทางใจอย่างเดียวกันนั้น ส่งแม่เข้าห้องผ่าตัด ระหว่างออกไปร่วมกับเพื่อนๆ ร่วมชุมนุมต่อต้านอำนาจรัฐกันอยู่ตลอดคืน

ในที่สุดรัฐบาลเผด็จการก็มีมติเป็นเอกฉันท์ยอมยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว และใช้ฉบับเดิมแทน การเคลื่อนไหวดังกล่าวได้เป็นแบบอย่างในการคัดค้านอำนาจรัฐที่ไม่ถูกต้องโดยไม่เกรงกลัวต่ออำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแห่งมาตรา 17 อีกต่อไป

สายสักหน่อยหลังการยุติการชุมนุม ผมกับเพื่อนหลายคน ข้ามเรือจากท่าพระจันทร์ไปยังโรงพยาบาลศิริราช ทันทีที่แม่รู้ว่าผมไปถึงห้องพักผู้ป่วย แม่ลืมตาที่อ่อนระโหยจากการ "ผ่าตัดหน้าอก" ข้างหนึ่งที่มีเนื้อร้ายออกไป พร้อมกับคำถามที่ยังก้องอยู่ในโสตประสาทและความรู้สึกนึกคิดของผมตลอดเวลา 37 ปี ว่า...

"ชนะแล้วหรือลูก"

แม่ครับ... อนุญาตให้ลูกชายคนนี้หลั่งน้ำตาถึงแม่อีกสักครั้งหลังจากการจากไปของแม่ เมื่อต้นปี 2519 นะครับ.... และถ้ามีโอกาสอื่นนอกเหนือจากนี้ ผมจะบันทึกเรื่องของผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่ง ที่ก้าวเข้ามาร่วมขบวนแถวประชาธิปไตย ร่วมกับลูกชายของแม่ และลูกชายหญิงอีกนับไม่ถ้วน เฉกเช่นที่เคยเกิดขึ้นกับ "เพลากิยา นิลอฟน่า" แม่ของ "พาเวล นิลอฟน่า" ตัวละครสำคัญในเอกวรรณกรรมเรื่อง "แม่" ของแม็กซิม กอร์กี้ นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่จากอาณาจักรรัสเซียเก่า ผู้มีส่วนร่วมในการสถาปนาระบอบการปกครองใหม่เท่าที่อารยธรรมของมนุษย์จะรู้จักเมื่อกว่าร้อยปีที่แล้ว.


โพสต์ครั้งแรก 11 สิงหาคม 2009, 23:48:53
http://www.newskythailand.us/board/index.php?topic=7072.msg22529#msg22529
ปรับปรุงใหม่
http://www.newskythailand.info/board/index.php?topic=7072.msg22529#msg22529

วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประกาศยกเลิกธรรมเนียมหมอบคลานกราบไหว้ศักดินา ยกเว้นบุคคลจำพวกทาส ลงปี จ.ศ.๑๒๓๕


ประกาศเปลี่ยนธรรมเนียมใหม่

๏ ศุภมัศดุ จุลศักราช ๑๒๓๕ กุกุฎสังวัจฉะระกะติกะมาศ กฤษณปักษพาระสิดิถี รวิวารปริเฉทกาลกำำหนด พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฎ บุรุศย์รัตนราชวรวิวงษ์ วรุตมพงษ์บริพัฒน์วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรติ ราชสังกาศบรมนารถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย มหัยสวริยพิมาน โดยสถานอุตราพิมุข พระบรมวงษานุวงษ์ แลท่านเสนาบดีข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือน เฝ้าพร้อมกันโดยลำดับ จึงมีพระบรมราชโองการ มารพระบัณฑูร สุรสิงหนาท ทรงประกาศแก่พระบรมวงษานุวงษ์ แลข้าทูลลอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยให้ทรายทั่วกันว่า

ตั้งแต่ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติมา ก็ตั้งพระราชหฤไทยที่จะทำนุบำำรุงพระราชอาณาจักร ให้มีความศุขความเจริญแก่พระบรมวงษานุวงษ์ แลข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ทั้งสมณชีพราหมณ์ ประชาราษฎรทั้งปวงทั่วไป การสิ่งไรที่เปนการกดขี่แก่กันให้ได้ความยากลำบากนั้น ทรงพระดำริห์จะไม่ให้มีแก่ชนทั้งหลาย ในพระราชอาณาจักรต่อไป ด้วยได้ทรงพระราชดำริห์เหนว่า ในมหาประเทศต่างๆ ซึ่งเป็นมหานครอันใหญ่ในทิศตวันออกตวันตก ในประเทศอาเซียนี้ ฝ่ายตวันออก คือ ประเทศจีน ประเทศยวน ประเทศยี่ปุ่น แลฝ่ายตวันตก คือ อินเดีย แลประเทศที่ใช้การกดขี่ ให้ผู้น้อยหมอบคลานกราบไหว้ต่อเจ้านายแลผู้มีบันดาศักดิ์ ที่เหมือนกับธรรมเนียมในประเทศสยามนั้น บัดนี้ ประเทศเหล่านั้นก็ได้เลิก เปลี่ยนธรรมเนียมนั้นหมดทุกประเทศด้วยกันแล้ว การที่เขาได้พร้อมกันเปลี่ยนธรรมเนียมที่หมอบคลานกราบไหว้นั้น ก็เพราะเพื่อจะให้เหนความดี ที่จะไม่มีการกดขี่แก่กันในบ้านเมืองนั้นอีกต่อไป ประเทศใดเมืองใด ที่ได้ยกเลิกธรรมเนียมที่เปนการกดขี่ซึ่งกันและกัน ประเทศนั้นเมืองนั้นก็เหนว่า มีแต่ความเจริญ มาทุกๆเมืองโดยมากก็ในประเทศสยาม นี้ ธรรมเนียมบ้านเมืองที่เปนการกดขี่แก่กันอันไม่ต้องด้วยยุติธรรม นั้น ก็ยังมีอยู่อีกหลายอย่างหลายประการ จะต้องคิดลดหย่อนผ่อนเปลี่ยนเสียบ้าง แต่การที่จะจักผลัดเปลี่ยนธรรมเนียม จะให้แล้วไปในครั้งคราวเดียวนั้นไม่ได้ จะต้องค่อยคิดเปลี่ยนแปลงไป ตามเวลาที่ควรแก่กาล ที่จะเปลี่ยนแปลงได้ บ้านเมืองจึ่งจะได้มีความเจริญสมบูรณ์ยิ่งขึ้นไป

แลธรรมเนียมหมอบคลานกราบไหว้ในประเทศสยามนี้ เหนว่าเปนการกดขี่แก่กันแขงแรงนัก ผู้น้อยที่ต้องหมอบคลานนั้น ได้ความเหน็จเหนื่อยลำบากเพราะ จะให้ยศแก่ท่านผู้ใหญ่ ก็การทำยศที่ให้คนหมอบคลานกราบไหว้นี้ ไม่ทรงเห็นว่ามีประโยชน์แก่บ้านเมืองแต่สิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย ผู้น้อยที่ต้องมาหมอบคลานกราบไหว้ให้ยศต่อท่านผู้ที่เปนใหญ่นั้น ก็ต้องทนลำบากอยู่จนสิ้นวาระของตนแล้ว จึ่งจะได้ออกมาพ้นท่านผู้ที่เปนใหญ่ ธรรมเนียมอันนี้ แลเหนว่า เปนต้นแห่งการที่เปนการกดขี่แก่กันทั้งปวง เพราะฉนั้น จึ่งจะต้องละพระราชประเพณีเดิมที่ถือว่า หมอบคลานเปนการเคารพอย่างยิ่งในประเทศสยามนี้เสีย ด้วยทรงพระมหากรุณา ที่จะให้ท่านทั้งหลายได้ความศุข ไม่ต้องทนยากลำบากหมอบคลานเหมือนอย่างแต่ก่อน

แลธรรมเนียมที่หมอบคลานนั้น ให้เปลี่ยนอิริยาบทเปนก้มศีสะ ธรรมเนียมที่ยืนที่เดินแลก้มศีสะนี้ ใช้ได้เหมือนกับธรรมเนียมที่หมอบคลานถวายบังคมลาแลกราบไหว้

บางทีท่านผู้ที่มีบันดาศักดิ์ซึ่งชอบธรรมเนียมที่หมอบคลานกราบไหว้ตามเดิมเหนว่าดีนั้น จะมีความสงไสยสนเท่ห์ว่าการที่เปลี่ยนธรรมเนียมหมอบคลานให้ยืนให้เดินจะเปนการเจริญแก่บ้านเมืองด้วยเหตุไร ก็ให้พึงรู้ว่า การที่เปลี่ยนธรรมเนียมใหม่ เลิกหมอบคลานให้ยืนให้เดินนั้น เพราะจะให้เหนเปนแน่ว่า จะไม่มีการกดขี่แก่กัน ในการที่ไม่เปนยุติธรรมอีกต่อไป เมืองใดประเทศใด ผู้ที่เปนใหญ่ มิได้ทำการกดขี่แก่ผู้น้อย เมืองนั้นประเทศนั้นก็คงมีความเจริญเปนแน่

ตั้งแต่นี้สืบไป พระบรมวงษานุวงษ์ แลข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ซึ่งจะเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทในพระที่นั่ง แลที่เสด็จออกแห่งหนึ่งแห่งใด จงประพฤติ์ตามพระราชบัญญัติที่ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดไว้เปนข้อ บัญญัติสำหรับข้าราชการต่อไป จงทุกข้อทุกประการ จึ่งได้โปรดเกล้าฯให้ท่านเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ สมันตพงส์พิสุทธิ์มหาบุรุศย์รัตรโรดม ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ตั้งเปนข้อพระราชบัญญัติไว้สำหรับแผ่นดินต่อไป ดังนี้

ข้อ๑ ว่าพระบรมวงษานุวงษ์ แลข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือน ผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวง เมื่อจะเข้าเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทในพระที่นั่ง ฤาที่เสด็จออกแห่งใดๆก็ดี เมื่อเดินเข้าไปถึงน่าพระที่นั่งแล้ว ให้ก้มศีสะ ถวายคำนับครั้งหนึ่ง แล้วยืนให้เรียบร้อยเปนปรกติ ห้ามมิให้เดินไปเดินมาแลยืนหันหน้าหันหลังในเวลาที่เสด็จออก แลมิให้ยืนเอามือไพล่หลัง แลท้าวเอว แลเอามือไพล่หลังไปท้าวผนังแลเสา ฤาที่ต่างๆ แลสูบบุหรี่หัวเราพูดกันเสียงดังต่อน่าพระที่นั่ง ให้ยืนเรียบร้อยเปนลำดับ ตามบันดาศักดิ์ผู้ใหญ่ผู้น้อย

ถ้ามีกิจราชการที่จะต้องกราบบังคมทูลพระกรุณาแล้ว ให้เดินออกมาจากที่เฝ้า ยืนตรงน่าพระที่นั่งก้มศีสะถวายคำนับ แล้วจึ่งกราบบังคมทูลพระกรุณา เมื่อสิ้นข้อความที่กราบบังคมทูลพระกรุณาให้ก้มศีสะลงถวายคำนับ จึ่งให้เดินถอยหลังมาที่ยืนเฝ้าอยู่ตามเดิม ถ้าจะถวา่ยหนังสือ ฤาสิ่งของสิ่งหนึ่งสิ่งใดต่อพระหัถ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ให้ถือสองมือเดินตรงเข้าไป ถึีงหน้าพระที่นั่งพอสมควร ก้มศีสะลงถวายคำนับก่อน จึ่งถวายของนั้นต่อพระหัถ ถ้าถวายของนั้นเสร็จแล้วให้เดินถอยหลัง ถ้าเปนที่ใกล้ให้ถอยหลัง ๓ ก้าว ฤา ๕ ก้าวพอสมควร ถ้าเปนที่ไกลให้ถอยหลังออกมา ๗ ก้าว จึ่งกลับหน้าเดินไปยืนตามที่

ถ้ามีพระบรมราชโองการดำรัสด้วยผู้หนึ่งผู้ใดที่ยืนอยู่ในที่เฝ้านั้น ก็ให้ผู้นั้นยืนคงอยู่ตามที่ก้มศีสะถวายคำนับแล้ว จึ่งรับพระบรมราชโองการ เมื่อรับพระบรมราชโองการกราบบังคมทูลสิ้นข้อความแล้ว ก็ให้ก้มศีสะคำนับ

อนึ่ง พระบรมวงษานุวงษ์ แลข้าทูลลอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวงที่ได้เข้ามายืนเฝ้าในเวลาที่เสด็จอยู่อยู่นั้น ถ้ามีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานเก้าอี้ ให้นั่งจึ่งนั่งได้ ห้ามมิให้นั่งลงกับพื้นแลนั่งบนเก้าอี้ ฤานั่งที่แห่งใดๆตามชอบใจ ในเวลาที่เสด็จออกต่อน่าพระที่นั่ง แลผู้ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดให้นั่งเก้าอี้เฝ้าอยู่นั้น นั่งให้เปนปรกติ ห้ามมิให้ยกเท้าขึ้นภับบนเก้าอี้ แลไขว่ห้างเหยียดท้าวตะแคงตัว ทำกิริยาหาความสบายให้เกินกิริยาที่นั่งเปนปรกติเปนอันขาด

เมื่อเวลาเสด็จขึ้นก็ให้ยืนขึ้นถวายคำนับให้พร้อมกัน แต่แขกเมืองประเทศราช เมื่อจะเข้าเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท ให้ทำกิริยาคารวะตามเพศบ้านเมืองของตนก่อน เมื่อทรงพระกรุณาโปรดให้ยืนจึ่งยืนได้

ข้อ๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิรออกประทับอยู่ที่แห่งใดๆ ก็ดี ข้าราชการแลมหาดเล็ก ซึ่งเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทอยู่ในที่นั้น ถึงเสด็จออกประทับอยู่ชั่วหลายชั่วโมง ก็ห้ามมิให้ข้าราชการแลมหาดเล็กที่ยืนเฝ้าอยู่นั้น นั่งลงในที่แห่งใดๆ เป็นอันขาด เว้นแต่เปนที่กำบัง ลับพระเนตรสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึ่งนั่งได้ แลในเวลาที่เสด็จออกทรงประทัีบอยู่ ณ ที่แห่งใดๆ นั้น ข้าราชการแลมหาดเล็ก ยืนเฝ้าอยู่ในที่โดยลำดับแล้ว ผู้ซึ่งจะเข้ามาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทภายหลัง ที่มิให้มีีราชการที่จะกราบบังคมทูลพระกรุณา ห้ามมิให้เดินผ่านหน้าพระที่นั่ง แลผ่านหน้าข้าราชการที่ยืนเฝ้าอยู่ก่อนนั้นให้เดินหลีกเลี่ยงเข้ายืนตาม ตำแหน่งของตนที่ควรจะยืน เว้นไว้แต่ผู้ที่รับพระบรมราชโองการ จึ่งเดินผ่านหน้าเพื่อนข้าราชการไปมาได้

ข้อ๓ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกพระราชดำเนิรไปทางสถลมารค ข้าราชการแลราษฎรชายหญิง ที่จะมาคอยดูกระบวนเสด็จพระราชดำเนิรก็ดี จะทรงช้างทรงม้าทรงรถ ฤาจะทรงพระที่นั่งอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี เมื่อเวลาเสด็จพระราชดำเนิรมาถึงหน้าผู้ที่ยืนคอยดูกระบวนเสด็จพระราชดำเนิรอยู่นั้น ให้คนเหล่านั้นก้มศีสะถวายคำนับจงทุกคน ห้ามมิให้นั่งมิให้ยืนดูกระบวนเสด็จพระราชดำเนิรบนชานเรือน บนน่าต่างเรือน แลบนที่สูงที่ไม่ควรจะนั่งจะยืน

ถ้าทรงม้าทรงรถ ไม่มีกระบวนตามเสด็จพระราชดำเนิร ผู้ซึ่งอยู่บนเรือนแลบนที่สูง ไม่ทันรู้ว่าเสด็จพระราชดำเนิร แต่พอแลเหนว่าเปนรถพระที่นั่ง ฤาม้าพระที่นั่ง ก็ให้ยืนขึ้นถวายคำนับ

ห้ามมิให้นั่ง มิให้หมอบเปนอันขาด

แลในเวลาที่เสด็จพระราชดำเนิรทรงช้าง ทรงม้า ทรงรถ ฤาทรงพระที่นั่งอย่างหนึ่งอย่างใด มาในทางสถลมารค ถ้าผู้หนึ่งผู้ใดไปบนหลังม้า ฤาำไปบนรถ พบปะกระบวนเสด็จพระราชดำเนิร ก็ให้หยุดม้าหยุดรถริมทาง ถ้าเสด็จพระราชดำเนิรมาถึงตรงหน้าแล้วให้ถอดหมวกก้มศีสะถวายคำนับอยู่บนรถบนหลังม้า ไม่ต้องลงจากรถจากหลังม้า ต่ิอเสด็จพระราชดำเนิรไปสิ้นกระบวนแล้ว จึงให้ิิออกรถเดิน เดินม้าต่อไป

ถ้าเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ข้าราชการแลราษฎรชายหญิงที่อยู่แพอยู่เรือนริมน้ำ ให้ยืนก้มศีสะถวายคำนับจงทุกคน ถ้ามาด้วยเรือพบกระบวนเสด็จพระราชดำเนิน ถ้าเรือเล็กยืนไม่ได้ ก็ให้ถอดหมวกก้มศีสะ ถวายคำนับในเรือ ไม่ต้องยืน

ถ้าเปนเรือใหญ่ ควรจะยืนได้้ ก็ให้ยืนขึ้นถวายคำนับตามธรรมเนียม

ข้อ๔ ข้าราชการเมื่อจะเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง แลจะออกจากพระบรมมหาราชวัง ฤาจะไปกิจธุระแห่งหนึ่งแห่งใดก็ดี ถ้าพบท่านผู้มีบันดาศักดิ์ที่เคยคำนับยำเกรงตามธรรมเนียมเก่าฉันใด ก็ให้ทำคำนับยำเกรงอย่างธรรมเนียมใหม่ให้เหมือนกัน ธรรมเนียมที่ยืน เหมือนกับนั่งเหมือนกับหมอบ ธรรมเนียมที่เปิดหมวกก้มศีสะ เหมือนอย่างกราบไหว้อย่างแต่ก่อนนั้น

ถ้าผู้หญิงจะไปในที่เฝ้า แลพบท่านผู้ใหญ่ ไม่ต้องเปิดหมวก เปนแต่ก้มศีสะลงคำนับ เมื่อกระทำคำนับแล้ว หมวกนั้นจะเปิดก็ได้ ไม่เปิดก็ได้

แลผู้คนข้าทาษที่ใช้การงานอยู่ใน บ้านเรือนนั้น ก็อย่าให้ท่านผู้ที่เปนเจ้าเปนนายบังคับให้ข้าทาษหมอบคลาน ให้บังคับให้ข้าทาษใช้ยืนใช้เดินตามพระราชบัญญัติซึ่งพระกรุณาโปรดให้ตั้งไว้นี้

ให้พระบรมวงษานุวงษ์ ข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือน ฝ่ายน่าฝ่ายใน ในพระบรมมหาราชวังบวร ให้กระทำตามพระราชบัญญัติประกาศนี้ จงทุกประการ

ประกาศมาณวัน อาทิตย์ เดือน๑๒ แรม๑๒ ค่ำ ปีระกา เบญจศก ศักราช ๑๒๓๕

-----------------------------------
ที่มา : ประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์), หลวง, ประชุมกฎหมายไทย ภาคเพิ่มเติม (พระนคร; โรงพิมพ์นิติสาส์น, พิมพ์ประมาณ พ.ศ.๒๔๗๕) หน้า๑๑-๑๕.

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประชาธิปไตยเป็นทั้งเป้าหมายและวิธีการ

ประชาธิปไตยเป็นทั้งเป้าหมายและวิธีการ


ในการเคลื่อนไหวของขบวนต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยมาตลอดหลายสิบปี มีข้อสรุปเล็กๆอย่างหนึ่งคือ ถ้าไม่พร้อม - พยายามอย่าถูกจับ หมายความว่าเราต้อง "รู้จัก" ที่จะขยับตัวในกรอบของ "รัด-ทำ-มะ-นูน" ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และกรอบของ "กด-หมาย(หัว)" ที่ไม่เป็นธรรม ในระยะแรกอาจมีหลายคนหาทางแก้ไข/ช่วยเหลือ แต่การไม่มีกลุ่มแกนที่เข้มแข็งจริงจัง ไม่มีคนทำงานเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องเพียงพอ ผลที่สุด ประชาชนก็เกือบจะต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว

ถึงเวลานี้ ไม่เพียงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนยุทธวิธี "ปลุกระดม" ที่ "แกนนำ" ไม่สามารถรับผิดชอบต่อเนื่องในผลอันเลวร้ายที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกใน 3 ปีมานี้ ยุทธศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยก็มีความจำเป็นต้องนำขึ้นสู่วาระเร่งด่วนของขบวนประชาธิปไตย

ก่อนอื่น ข้อเท็จจริงที่ถูกมองข้ามมาตลอด 2 ปี คือการขาดความใส่ใจในการพิจารณาประเด็น "ยุทธศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย" ที่มักถูกยัดเยียดการตีความว่า "รู้ๆกันอยู่แล้ว" "ไม่จำเป็นต้องพูด" หรือที่หนักหนาสาหัสไปกว่านั้น คือ "พูดไม่ได้"

ถึงเวลานี้ หัวใจของการต่อสู้จึงต้องกลับมาทบทวนว่า "ประชาธิปไตย" ที่มวลชนนับล้านคนมีส่วนร่วมในขบวนแถวที่ประกาศว่าจะ "สร้าง" นั้น คือ "อะไร" ทั้งนี้ทั้งในลักษณะที่เป็นสากลที่นานาอารยะประเทศรับรอง และที่มีลักษณะเฉพาะ สอดคล้องกับสังคมไทย ทั้งในทางจารีต และในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงผ่านโลกสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุคไร้พรมแดนของ "โลกาภิวัตน์"

ประชาชนในฝ่ายประชาธิปไตย จำต้องเผชิญหน้ากับความเจ็บปวดและหดหู่ในประสบการณ์ที่ผ่านมา ไม่เพียง 4 ปีหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และไม่เพียง 9 ปีหลังการใช้รัฐธรรมนูญ 2540 ในทางปฏิบัติเป็นครั้งแรกหลังการเลือกตั้ง 6 มกราคม 2544 เราไม่เพียงไปไม่ไกลจากการอภิวัฒน์สยาม 2475 หากถึงที่สุดแล้วการเมืองของประเทศนี้ถอยหลังไปไกลก่อนการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 ที่นำโดย "นอมินีรุ่นต้นธาร - ผิน ชุนหะวัน" เสียด้วยซ้ำไป

ความจริงนั้นคือ เราถูกทำลายวิญญาณประชาธิปไตยมาตลอด 63 ปี นับจากการ "กบฏประชาธิปไตย" หนนั้น และสถาปนา "ระบอบเผด็จการอำมาตย์-อภิชน-ขุนศึกฟาสซิสต์" ต่อเนื่องมาโดยตลอด และถูกทำให้เข้มแข็งเป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้นหลังการรับประหาร 20 ตุลาคม 2501 โดย "จอมเผด็จการผ้าขาวม้าแดง - สฤษดิ์ ธนะรัชต์"

ระบบคิด ระบบปรัชญาประชาธิปไตยที่นำมาสู่สังคมสยามเมื่อ 78 ปีที่แล้วถูกกัดกร่อนบ่อนทำลายลงไปทุกทีตามกาลเวลา

และแม้แต่การชูธง "รัฐธรรมนูญ" โดยเจตนาให้หมายความถึง "(สัญลักษณ์)ประชาธิปไตย" ก็เป็นประดุจ "หอกข้างแคร่" ทิ่มแทงความพยายามการสร้างประชาธิปไตยครั้งแล้วครั้งเล่า ประชาชนถูกทำให้เชื่อว่า มีรัฐธรรมนูญ (ที่ร่างโดยวิธีเผด็จอำนาจอย่างไรก็ได้) มีการเลือกตั้ง (ไม่ว่าจะสกปรกโสมม ไปด้วยเล่ห์เหลี่ยมต่ำช้าสมานย์เพียงใด) นั่นคือ ประเทศนี้เป็นประชาธิปไตยแล้ว

ประชาชนยังจำแนกไม่ออก ว่า "เสียงส่วนใหญ่ให้ประชาทัณฑ์" ผู้ต้องหาคดีอาญานั้น ไม่ใช่และไม่มีวันใช่ "เสียงส่วนใหญ่ในปรัชญาประชาธิปไตย" แม้แต่น้อย

ข้อเท็จจริงที่ผ่านมาในอดีต แม้จะมีรัฐธรรมนูญสักกี่ฉบับ แม้จะมีการเลือกตั้งสักกี่ครั้ง ก็หาได้หมายความว่าประเทศใดประเทศหนึ่งจะเป็นประชาธิปไตยได้แต่อย่างใด... ตราบใดที่ทั้ง 2 บริบทนั้น ไม่มีรากฐานหรือจิตวิญญาณแห่งความเป็นประชาธิปไตย ซึ่งมีต้นกำเนิดอยู่ที่สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคเท่าเทียมกัน

และนั่นนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า ยุทธศาสตร์ใหญ่ของฝ่ายประชาชนชนคือการสร้างประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แท้จริงขึ้นให้จงได้ ทั้งนี้ก็โดยการกำจัดอุปสรรคสำคัญเพียงประการเดียวในกระบวนการนี้ ที่เป็นเป้าหมายไปในเวลาเดียวกัน นั่นคือ

"ระบอบเผด็จการ"

ทั้งนี้ประชาชนต้องตอบโจทย์ให้ได้ในเวลานับจากนี้ไป คือ ประชาธิปไตยคืออะไร และเหตุใดประชาธิปไตยจึงมีความจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับระบอบการปกครองในโลกยุคโลกาภิวัตน์หลังสหัสวรรษ ส่วนจะสร้างอย่างไร หรือจะใช้วิธีการอย่างไหน/รูปแบบใด ซึ่งรวมเรียกว่า "ยุทธวิธี" ในการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยนั้น ยังมีความสำคัญรองลงไป หากต้องมีการพิจารณาต่อเนื่อง

ที่สำคัญ ในการขับเคลื่อนขบวนแถวประชาชนผู้รักเสรีภาพ รักความเป็นธรรมเพื่อสร้างประชาธิปไตยขึ้นในประเทศนี้ ความคิดชี้นำพื้นฐาน หรือรูปการจิตสำนึกของขบวน ต้องไม่อาจละทิ้งหลักการที่ว่า

"ประชาธิปไตยเป็นทั้งเป้าหมายและวิธีการ".

วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Political battles go online

Political battles go online
http://www.bangkokpost.com/news/investigation/188908/?awesm=fbshare.me_AQU6S

The social networking phenomenon Facebook is being used as a tool by shadowy groups to hunt down and attack their political opponents

* Published: 1/08/2010 at 12:00 AM
* Newspaper section: Spectrum

In a tense corner of the city during the unrest two months ago, office workers were taking their mid-afternoon break when the sound of the national anthem came ringing over the public address system of their Silom high-rise. All the workers gathered downstairs to show their respect, except for one woman who refused to leave her desk as she thought that it was unnecessary to show where her loyalties lie. She had also refused to donate money to provide water to soldiers stationed on Silom Road during the violence-plagued political stand-off. As a result, she says, she was ridiculed and slandered in her workplace for two months until she finally resigned.

[ภาพ: 166549.jpg]
In Thailand, when you make a pronouncement in favour of some political attitude or belief, the other side feels you must be their enemy - RUNGROJ WANNASUTHORN, POLITICAL ACTIVIST. PHOTO: PORNPROM SATRABHAYA

The young woman's father, Rungroj Wannasuthorn, has been an outspoken political activist for the past 38 years. Since mid-April he has been subject to virulent attacks on Facebook and other online formats by a group that goes by the name of Social Sanction.

"I'm a fighter for democracy, not a red shirt," he asserted. "In Thailand, when you make a pronouncement in favour of some political attitude or belief, the other side feels you must be their enemy. I have written many articles about the Peoples' Alliance for Democracy [PAD] over the past two years. Because of this, all the writers and columnists in that wing feel that I am their enemy."

Mr Rungroj was also attacked in the cyber world by hard-core red shirt supporters when he started to talk more about democracy than the issues that the United Front for Democracy against Dictatorship (UDD) favoured - namely constitutional amendments and an early general election.

Coinciding with the convergence of tens of thousands of red shirt UDD supporters on Bangkok on March 12, Thais have become increasingly active online.

About mid-way through the lengthy protest the online volume of passionate political views shared among friends and colleagues reached a new peak.

In his Asian Correspondent blog titled "Politics Drives Record Facebook Growth in Thailand", Jon Russell stated that "a cursory glance at Facebook's own estimation for users aged over 18 in Thailand shows 2,787,320, a staggering increase of 288,360 new members since my last check on 7 April. That's a record 11.5% increase in the two weeks [of April 2010] during which Facebook became a key place for political discussion, news reporting, and political organisation - it is even being monitored by the Ministry of Information and Communication Technology."

While most people express their opinions online through communications with groups they agree with, there are also those who enjoy seeking out groups they disagree with and playing the devil's advocate.

[ภาพ: 166550.jpg]
ONLINE TENSIONS: Rungroj Wannasuthorn is increasingly facing cyber attacks.

Then there are those who prefer to silence rather than debate those who do not share their views. In some cases these "digital witch-hunters", as some social critics call them, have grouped together and literally hunted down those who dare express views different from their own.

They extract photos, names, phone numbers, email addresses, the names of workplaces and other personal information of those they disagree with and expose them in an incriminating and derogatory manner for all to see.

SOCIAL SANCTION

Members of the witch-hunt movement encourage other people who do not approve of the victim's views to scold them online using "as many impolite and rude words as they can" and join in exposing their information and any real or imagined evidence against them, said Sawatree Suksri, a lecturer at Thammasat Law School.

Ms Sawatree has done her own blogging on this issue and written an article titled "What should be done about the new witch-hunting cults in 2010?" which was published on Prachathai website on May 2, 2010.

There are numerous cases in which Facebook users who make a habit of sharing their political views have drawn responses to their posts that are clearly intended to humiliate and vilify them online. There are also reports from a growing number of red shirt supporters who say they have been harassed, threatened and sometimes lost their jobs because of the actions of shadowy online "witch-hunters", simply for attempting to exercise their right to freedom of expression. In one case, said Ms Sawatree, a student was refused admission to a local university because of remarks she made on Facebook. There is also the famous case of aspiring singer "Mark V11", who pulled out of a reality TV singing competition because of intense reaction to remarks he made on Facebook that were critical of Prime Minister Abhisit Vejjajiva (see sidebar).

The best known of these groups is the Social Sanction Facebook group, established around mid-April, about the same time that the red shirt protesters were branded as an anti-monarchy movement and terrorists by the government. The group publishes the addresses and phone numbers of red shirt opponents accused of defaming the Thai monarchy and has urged followers to attack named opponents. The Social Sanction group was shut down briefly but when checked last week it was in operation on Facebook under a slightly altered name.

Initially the witch-hunters mainly tracked those they suspected of being disloyal to the monarchy, but later they expanded their attacks to include the red shirt protesters in general and anyone who might agree with them, said Ms Sawatree. They arranged information in such a manner as to portray the red shirt protesters as anti-monarchy, resulting in the assumption that those who expressed approval of or agreement with the protesters were also in favour of abolishing the institution.

The lecturer said the witch-hunters have clearly broken the law as their victims have often been libelled and in some cases threatened physically. Their right to privacy has been abrogated as well, all with the justification that it is being done to protect a revered institution and extract a deserved punishment on the behalf of society.

In stark contrast to their victims, the witch-hunters take pains to avoid identification, though there has been much speculation that the PAD, commonly called yellow shirts, are behind them, said Ms Sawatree.

Mr Rungroj claims that during the UDD protest the PAD started the witch-hunting campaign in earnest by urging office workers at some buildings to sing the national anthem during the mid-afternoon break. There are 12 employees at his daughter's office, he said, 11 of whom are yellow shirts. In her resignation letter written two months after the harassment and verbal abuse began at her workplace, she stated that she was a liberal, not a red shirt, and did not feel that it was necessary to come and sing the national anthem at an odd time and that her actions did not in any way prove her disloyalty to the nation or to the monarchy.

She feels the national anthem exercise was unfairly used as a means to level false allegations of lese majeste.

[ภาพ: 166551.jpg]
ONLINE ABUSE: People are regularly being persecuted on social networking sites and web forums for their political opinions. The site above is opposed to social sanctions on Facebook.

As stated by Pavin Chachavalpongpun in his article ''Thailand's Massive Internet Censorship'', subtitled ''Government Objective: Hear no evil, speak no evil'', published in the Asia Sentinel weblog on July 22, 2010, human rights groups have voiced their concerns about the arbitrary use of lese majeste and say they believe the law has been employed as a government weapon to silence the opposition.

Mr Pavin said this approach has effectively built up a climate of fear under which those who possess dissenting views now resort to practising self-censorship when they express political opinions.

Global Voices Advocacy, a global anti-censorship network of bloggers and online activists, has disclosed that to date roughly 113,000 websites have been blocked that are deemed to pose a threat to national security. Thailand's Ministry of Information and Communication Technology and the Centre for the Resolution of the Emergency Situation admitted to blocking 48,000 websites in May this year, and 50,000 in June and July, adding 500 more each day.

With popular social networking sites like Facebook and Twitter coming to the forefront of communication in society today, people have become more connected than ever and are more willing to share their views, photos, personal feelings and thoughts, and express their opinions for the entire online community to see.

At the same time, in a society deeply divided and subject to demonstrations, sometimes violent protests and military crackdowns, expressing opinions online is becoming increasingly dangerous.

Punishment through society

In Thai the Social Sanction group is called Yuthkarn Long Thanth Tang Sangkom, literally "Punishment through Society". The apparent motivation of this Facebook group is the animosity they harbour for red shirt protestors and their supporters.

Thammasat Law School lecturer Sawatree Suksri said the phenomenon can be compared with the witch-hunts in the West, which were most prevalent from the late 15th to early 18th centuries.

Generally a witch-hunt can be described as an organised crusade where those in power make severe allegations, without paying heed to evidence or reason, against persons or groups that hold different views from the ruling class.

The members involved in the Social Sanction group are not identified but it is assumed that they have PAD leanings.

The group makes public information on red shirt sympathisers, some of it taken from blogs and some apparently gathered through independent investigation. This might include telephone numbers, addresses, faculty and institution of study, parents' names, names of siblings and other relatives, likes and dislikes, etc.

Ms Sawatree said she knows of one digital witch-hunters' victim who was considering taking legal action and suing for defamation, but in the end the case was not pursued. Thus, despite a brief downtime, Social Sanction is still functioning without a problem and seems to be receiving support from certain powerful groups.

Ms Sawatree said that censorship is not fit for the internet age , because however you may try you can never control the "borderless" internet.

Penalties for witch-hunting

People who feel they have been unjustly attacked online may file charges against the offenders under sections 5, 7 or 8 of the Computer Crime Act 2007.

Under Section 447 of the Civil and Commercial Code of Laws such people may also demand compensation or let the Court of Justice use other measures - such as the removal of the offending messages or posts and the making of a public apology within a specified period of time.

According to Ms Sawatree, the actions of the witch-hunters fall under the category of "wrong-doers" referenced in Section 326 and/or Section 328 of the Criminal Code.

Section 326 of the code states that whoever abuses another person before a third party in a way that makes that person lose their dignity and reputation, or be looked down upon or insulted and hated, has committed libel and is subject to imprisonment of not more than one year or a fine of not more than 20,000 baht, or both.

In filing a complaint to the Court of Justice, evidence has to be gathered through various electronic means and must be made ready to be presented as soon as possible since information of this nature - words or confessions, messages and pictures - may be changed or removed very quickly.

And if fired from work, the dismissed worker may seek justice under Thailand's strong labour laws.

The victims may also request Facebook to use appropriate measures in handling the conduct and behaviour of the witch-hunters.

Ambushed on the road to stardom

The case of Academy Fantasia's budding singer Withawat Thaokhamlue, better known as "Mark V11", is probably the most highly publicised incident of witch-hunting in Thailand. He was caught criticising Prime Minister Abhisit Vejjajiva on Facebook with foul and profane language. He apologised to Mr Abhisit in a press conference, stating that he made the remarks as a teenager who does not pay attention to politeness and decorum, and agreed to withdraw from the Academy Fantasia singing competition. His performance on July 17 was his first and last. His comments against Mr Abhisit, which he had made before becoming one of the AF singers, were copied from Facebook and spread throughout public websites before gaining media attention. Despite the digital attacks, Withawhat still has many friends who defend him on Facebook.

[ภาพ: 166558.jpg]

[ภาพ: 166559.jpg]

Social activist Rungroj Wannasuthorn says that such incidents are clear testimony that freedom of expression is still lacking in the country. "Many websites are being censored because the ruling class wants us to all have the same views and doesn't like us to have our own ideas," he said, adding that this has a lot to do with Thailand's "underdeveloped" political system. "The different 'shirts' brainwash their people," he said. "It is not really democracy - just a power struggle."
ร่วมสนับสนุนการเขียนและเผยแพร่ความคิด และกิจกรรมได้โดยโอนเงินไปที่

บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัส วังหิน
ชื่อบัญชี วัฒนา สุขวัจน์
บัญชีเลขที่ 986-2-87758-8