ขอแสดงความเห็นในประเด็นที่พวกอำมาตย์-อภิชน ตั้งธงไว้ว่า ล่อแหลม หรือจำพวก เป็นภัยต่อความมั่นคง โดยมีแนวโน้มไปสู่การกวาด ล้าง-จับกุมหรือเชือดไก่ให้ลิงดู ด้วยการคุกคาม-จับกุมเป็น รายๆไป
ย้อนไปในช่วงการเคลื่อนไหวประชาชาติ-ประชาธิปไตย ก่อน 14 ตุลา 2516 ในยุคที่โลกเรายังหาได้อยู่ในยุคไร้พรมแดนเช่น ปัจจุบัน
จำได้ว่าช่วงก่อน 14 ตุลาฯ การพูดคุยเรื่องการเมืองทั่วไป หรือการที่นิสิตนักศึกษา เดินเข้าไปหานักเคลื่อนไหวในอดีตบางคนที่หลงเหลือมาจากยุคเผด็จการเข้มข้น เพื่อพูดคุยถึงเรื่องราวการต่อสู้ในอดีต ที่คนรุ่นเรา (ในสัมยนั้น) ยังรับรู้ไปไม่ถึง หรือการค้นคว้าเอกสาร-หนังสือ-สิ่งตีพิมพ์ จะผิดกฎหมายไปเต็มๆ หรือแค่ล่อแหลม ก็ดี คนรุ่นนั้นตกอยู่ในภาวะระมัดระวังจนตัวลีบ
ถัดมาในช่วงประชาธิปไตยเบ่งบานหลัง 14 ตุลาฯ การนำเสนอในเรื่องราวทำนองเดียวกันนั้น เริ่มมีโอกาสมากขึ้น โดยที่กฎหมายเปิดโอกาสสำหรับเสรีภาพค่อนข้างสูงกว่าช่วงก่อนหน้านั้น ส่วนหนึ่งก็ด้วย "รัฐธรรมนูญ 2517" และอีกส่วนหนึ่งขึ้นต่อภาวะกระแสสูงของการเคลื่อนไหว ทำให้คนรุ่นนั้นกล้าที่จะแสดงความเห็น ทั้งโดยการพูดและโดยการเขียนมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ต้องยอมรับว่า ก็โดยเหตุที่อาศัยสภาพการณ์ที่มีลักษณะค่อนข้างจะเปิดกว้างนั้นเอง ที่นำไปสู่การตื่นตระหนกของฝ่ายปฏิปักษ์ประชาธิปไตย ที่มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ อำมาตย์-อภิชน-ขุนศึกฟาสซิสต์ และในที่สุดนำไปสู่กรณี ล้อมสังหาร 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นฉากเลวร้ายฉากหนึ่งในประวัติอารยธรรมของมนุษยชาติ
โดยข้อเท็จจริง ความเร่าร้อนเอาการเอางานของนักเรียน-นิสิต-นักศึกษา ที่ตื่นตัวมีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งโดยตรงและโดยอ้อมในช่วงรอยต่อ 14 ตุลาฯ กับช่วงประชาธิปไตยเบ่งบานในหมู่ประชาชน โดยเฉพาะเน้นไปที่กรรมกร-ชาว นา เนื่องจากเป็นทิศทางของขบวนนักศึกษาที่ถือว่าก้าวหน้าทางการเมืองที่สุดใน เวลานั้น ก่อให้เกิดการค้นคว้าข้อมูลที่ไม่เคยรู้ ปรัชญาและทฤษฎีการเมืองที่ถูกนำไปซุกแอบไว้ และอื่นๆในทำนองเดียวกัน
สิ่งพิมพ์และเอกสารใต้ดินจำนวนมากจึงถูกผลิตขึ้น ที่จำกัดวงที่สุดที่เอาการพิมพ์ดีดด้วยกระดาษจดหมายอากาศ (airmail) ที่จัดทำขึ้นได้คราวละไม่เกิน 5-6 สำเนา ทำเป็นรูปเล่มขนาดพ็อคเก็ตบุ๊ค; ถัดมาก็ด้วยกรรมวิธีโรเนียวและเก็บเล่ม ซึ่งจะได้จำนวนมากขึ้น เหมาะสำหรับใช้ในการเผยแพร่ในกลุ่มขนาดใหย๋ขึ้นเช่นในโรงงานอุตสาหกรรม หรือที่พักรวมของผู้ใช้แรงงานในเขตอุตสาหกรรมชานเมืองจังหวัดปริมณฑล ของกรุงเทพฯ; ส่วนลำดับสุดท้ายจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มหนังสือใต้ดิน คือไม่แจ้งชื่อ-ที่อยู่ผู้พิมพ์ผู้โฆษณาตาม พรบ.การพิมพ์ บางคราวบางปก อาจจะมียอดสูง 2 ถึง 3,000 เล่มทีเดียว และหนังสือประเภทนี้ ถูกนำไปคุม ขังด้วยคำสั่งกระทรวงมหาดไทยในปี 2520 ที่ห้ามมีไว้ในครอบครอง นั่นเอง
ในประเทศที่เสรีภาพเป็นเพียงเป้าหมาย ความระมัดระวังไม่ไปละเมิดสิ่งที่ยอมรับกันแพร่หลายแล้วว่าเป็น "กฎโจร" นั้น ควรยึดถือเป็นหลักปฏิบัติอย่างเคร่งครัด สำหรับประชาชนผู้รักประชาธิปไตยและรักความเป็นธรรม ที่มีบทบาทเคลื่อนไหวเป็นกองหน้าอยู่ในขอบเขตปริมณฑลต่างๆ แม้แต่ในโลกไซ เบอร์ การหลีกเลี่ยงความสูญเสียบุคลากรที่มีคุณค่า มีความหาญกล้าเหล่านั้น ถือเป็นภารกิจสำคัญที่ควรยึดถือเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนโลกแห่งข้อมูลข่าวสารไปสู่พี่น้องประชาชนฝ่ายประชาธิปไตยอันไพศาล
ตราบใดที่กระบวนการสืบสวน-สอบสวนในปัจจุบันยังใช้ระบบ "กล่าวหา" หรือ ระบบ "ผู้ ถูกกล่าวหามีความผิด จนกว่าจะมีข้อพิสูจน์มาหักล้างว่าไม่ได้ทำความผิด" ซึ่งแตกต่างอย่างตรงกันข้ามกับระบบที่ใช่ในอารยะประเทศสมัยใหม่ทั้งหลายซึ่งเลือกที่จะใช้ระบบ "รวบรวมพยานหลักฐาน" เพื่อนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย เข้าสู่การพิจารณากระบวนในกระบวนการยุติธรรมที่ "ผู้ถูกกล่าวเป็นผู้ บริสุทธิ์ จนกว่าจะมีข้อพิสูจน์มาหักล้างว่าทำความผิด"
ตราบนั้น อันตรายของ "กระบวนการยุติธรรมสองมาตรฐาน" ก็จะยังคงเป็นอันตรายคุกคามการเคลื่อนไหวเพื่อ "สร้างประชาธิปไตยสมบูรณ์ สร้างรัฐธรรมนูญประชาชน" อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้.
โพสต์ครั้งแรก 3 พฤศจิกายน 2009, 08:20:13
http://www.newskythailand.us/board/index.php?topic=8362.msg26141#msg26141
http://arinwan.redthai.org/index.php?topic=124.0