Article  :  Political   :  Forum  :  Facebook  :  Youtube

วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ความเห็น 3 ประการเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม

ความเห็น 3 ประการเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม


ขออนุญาตเสนอความเห็นต่อกระบวนการยุติธรรมในกรณีพิจารณาว่า "ใคร" คนใดคนหนึ่งจะมีความผิดจริงในโลกแห่งนิติธรรม ที่ไปพ้นกระบวนการพิสูจน์ถูกผิดกันด้วยการ "ดำน้ำ-ลุยไฟ" กันมาช้านนานแล้วมีปัญหาน่าพิจารณา 3 ประการ ถึงความเป็นไปได้หรือไม่อย่างไรดังนี้

(1) เริ่มจากกระบวนการสืบ สวน-สอบสวนที่ปัจจุบันใช้ระบบกล่าวหา หรือระบบ "ผู้ถูกกล่าวหามีความผิดจนกว่าจะมีข้อพิสูจน์มาหัก ล้างว่าไม่ได้ทำความผิด" ซึ่งแตกต่างอย่างตรงกันข้ามกับระบบที่ใช่ในอารยะประเทศสมัยใหม่ทั้งหลายซึ่ง เลือกที่จะใช้ระบบรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย เข้าสู่การพิจารณากระบวนในกระบวนการยุติธรรมที่ "ผู้ ถูกกล่าวเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะมีข้อพิสูจน์มาหักล้างว่าทำความผิด"

(2) ลำดับถัดมาคือกระบวนการพิจารณาคดีด้วยการใช้ระบบ "ลูกขุน (Jury)" ในการรวบรวมความคิดเห็นของทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยเพื่อนำมาประกอบการพิจารณา และลงคะแนนเสียงอย่างเป็นประชาธิปไตยว่าจำเลยมีความผิด (Guilty) หรือไม่ โดยที่คณะลูกขุนนั้นอาจจะมีที่มาด้วยการเสนอชื่อจากผู้ ที่มีความน่าเชื่อถือตามบรรทัดฐานของสังคม โดยทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยในจำนวนที่เท่าๆกัน และทั้ง 2 ฝ่าย แลกเปลี่ยนรายชื่อระหว่างกันเพื่อการยอมรับทั้ง 2 ฝ่าย คือโจทก์และจำเลย แล้วจึงให้คณะบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อนั้น ไปลงคะแนนเสียงเลือกกัน เองจนได้ครบตามจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้

ทั้งนี้ระหว่างการพิจารณาคดี ควรมีการจำกัดที่พักอาศัยของคณะลูกขุนและจำกัดการติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายนอกทั้งหมด ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดีทั้งนี้เพื่อรักษาความเป็นกลาง ตลอดจนข้อครหาใดๆในทางเสื่อมเสีย เช่นกรณีสินบน หรืออามิสใดๆ

(3) ท้ายที่สุดคือแบบวิธีการพิพากษา สำหรับอำนาจหน้าที่ของ "ตุลาการ (Judge)" ที่สำคัญน่าจะอยู่ที่การดำเนินการในการพิพากษาอรรถคดีและพิจารณาพิพากษาและตัดสินลงโทษไปตามข้อเท็จจริงและบทบัญญัติของกฎหมายต่อการกระทำความผิดใน ลักษณะนั้นๆ

ปมเงื่อนที่สังคมใดสังคมหนึ่งจะใช้กระบวนการยุติธรรมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานปรัชญาประชาธิปไตยอยู่ที่ความเชื่อมั่นในเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเป็นปฐม คำกล่าวอ้างล้าสมัยใดๆ เป็นต้นว่าความพร้อมของราษฎรนั้น ควรตกสมัยไปโดยสิ้นเชิงแล้วในสหัสวรรษที่มนุษย์สามารถย่อโลกมาไว้ในฝ่ามือ เช่นปัจจุบัน

ทั้งนี้ โดยพิจารณาว่า "อำนาจตุลาการ" คือ หนึ่งในก้อนเส้าทั้ง 3 ของอำนาจอธิปไตยจึงอยากทำความเข้าใจเป็นพื้นฐานเบื้องต้น ว่าราษฎรที่มีเพียงวิจารณญาณและสำนึกในระบอบประชาธิปไตยนั้น มีเสรีภาพและความเสมอภาคที่จะแสดงความเห็นอย่างเปิดเผย บริสุทธิ์ใจ เพื่อนำไปสู่การวางรากฐานกระบวนการยุติธรรมซึ่งมีผลโดยตรงต่อชีวิตประจำวันของตนเองทุกคนหรือไม่อย่างไร.

ด้วยภราดรภาพ

เผยแพร่ครั้งแรก วันพุธที่ 5 สิงหาคม 2009 เวลา 18:54 น.

ร่วมสนับสนุนการเขียนและเผยแพร่ความคิด และกิจกรรมได้โดยโอนเงินไปที่

บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัส วังหิน
ชื่อบัญชี วัฒนา สุขวัจน์
บัญชีเลขที่ 986-2-87758-8