สังเขปประวัติศาสตร์การเมืองยุคใกล้ของไทย
การรัฐประหาร รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง (11)
กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย
เป็นความพยายามก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 เมษายน - 3 เมษายน พ.ศ. 2524
อันดับแรก คือ "การเลือกตั้ง" ในห้วงเวลาของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญบับนี้ มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น 4 ครั้ง คือ (จำนวนครั้งนับจากการเลือกตั้งครั้งแรกหลังการอภิวัฒน์สยาม 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คือการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476)
การเลือกตั้งครั้งที่ 14 (22 เมษายน พ.ศ. 2522)อันดับถัดมา คือ "นายกรัฐมนตรี" หรือ "หัวหน้าฝ่ายบริหาร" ซึ่งตลอดระยะเวลา 12 ปี มีนายกรัฐมนตรีรวม 3 คนด้วยกัน ทั้งนี้ไม่มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญว่าด้วยนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในคณะรัฐบาล "ต้อง" มาจากการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งครั้งที่ 15 (18 เมษายน พ.ศ. 2526)
การเลือกตั้งครั้งที่ 16 (27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529)
การเลือกตั้งครั้งที่ 17 (24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531)
คนแรก พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ดำรงตำแหน่ง 2 สมัย
สมัยที่ 1 คณะรัฐมนตรีคณะที่ 40 จากวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 โดยมติ "คณะปฏิวัติ" ในการรัฐประหาร (ซ้ำ) นำโดย พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ และพ้นจากตำแหน่งวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
สมัยที่ 2 คณะรัฐมนตรีคณะที่ 41 จากวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 ตามมติสภาผู้แทนราษฎร โดยพ้นตำแหน่งวันที่ 3 มีนาคม 2523 โดยการลาออกกลางสภาคนที่สอง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่ง 3 สมัย
สมัยที่ 1 คณะรัฐมนตรีคณะที่ 42 จากวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร ถึงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2526 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบกับการเสนอให้ยืดอายุการใช้บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2526
สมัยที่ 2 คณะรัฐมนตรีคณะที่ 43 จากวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2526 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร ถึงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2529 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2529 เนื่องจากรัฐบาลแพ้เสียงในสภา จากนั้นจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529
สมัยที่ 3 คณะรัฐมนตรีคณะที่ 44 จากวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร ถึงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2531 เนื่องจากเกิดปัญหาขึ้นใน พรรคประชาธิปัตย์ เกิด "กลุ่ม 10 มกรา" ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างเป็นเอกเทศภายในพรรค ร่วมลงมติไม่สนับสนุนพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ที่รัฐบาลเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภา จนทำให้พระราชบัญญัติไม่ผ่านการเห็นชอบ พรรคประชาธิปัตย์แสดงความรับผิดชอบโดยการถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล พลเอกเปรมจึงประกาศยุบสภา และจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2531ภายหลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้นในคืนวันที่ 27 กรกฎาคม 2531 หัวหน้าพรรคการเมืองซึ่งเสียงข้างมากจากจำนวนว่าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หารือที่จะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพรรคชาติไทยเป็นแกนนำ ได้เข้าพบพลเอกเปรมที่บ้านพัก เพื่อเชิญให้มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 4 แต่พลเอกเปรมปฏิเสธ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเนื่องจากในช่วงปลายรัฐบาลพลเอกเปรม 3 ขณะที่กำลังจะมีการเลือกตั้ง มีกระแสการคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 4 จากกลุ่มนักวิชาการ
ในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 จึงได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ (ยศขณะนั้น) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 17
หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรม เป็นองคมนตรี ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2531 จากนั้นในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ได้รับโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ และในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2541 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ที่ได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ เป็นองคมนตรี ตามหลังนายธานินทร์ กรัยวิเชียร
คนที่สาม พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ดำรงตำแหน่ง 2 สมัย
สมัยที่ 1 คณะรัฐมนตรีคณะที่ 45 จากวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร และพ้นจากตำแหน่งวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 จากการลาออก
สมัยที่ 2 คณะรัฐมนตรีคณะที่ 46 จากวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 ตามมติสภาผู้แทนราษฎร โดยพ้นตำแหน่งวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 จากการเข้ายึดและควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ ของ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) โดยการนำของ พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ด้วยเหตุผลสำคัญ (ที่ยังนำมาใช้พร่ำเพื่อแม้จนทุกวันนี้) ได้แก่ พฤติการณ์การฉ้อราษฎร์บังหลวงของนักการเมือง ข้าราชการการเมืองใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงข้าราชการประจำ รัฐบาลเป็นเผด็จการรัฐสภา มีการพยายามทำลายสถาบันทหาร และการบิดเบือนคดีล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์อันดับที่สาม เกิดการ "กบฏ" ถึง 2 ครั้ง โดยคณะนายทหารบก (แทบจะเป็น) ชุดเดียวกัน
ครั้งแรก กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย เป็นความพยายามก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 เมษายน - 3 เมษายน พ.ศ. 2524 โดยคณะผู้ก่อการที่เรียกตัวเองว่า "คณะกรรมการสภาปฏิวัติ" เพื่อยึดอำนาจการปกครองของนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผู้ก่อการประกอบด้วยนายทหารซึ่งจบจาก โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 7 (จปร. 7) หรือที่เรียกว่า รุ่นยังเติร์ก ได้แก่ พันเอกมนูญ รูปขจร, พันเอกชูพงศ์ มัทวพันธุ์, พันเอกประจักษ์ สว่างจิตร, พันโทพัลลภ ปิ่นมณี, พันเอกชาญบูรณ์ เพ็ญตระกูล, พันเอกแสงศักดิ์ มงคละสิริ, พันเอกบวร งามเกษม, พันเอกสาคร กิจวิริยะ โดยมี พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา รองผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะ เริ่มก่อการเมื่อเวลา 02.00 น. ของวันที่ 1 เมษายน โดยจับตัว พลเอกเสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, พลโทหาญ ลีนานนท์, พลตรีชวลิต ยงใจยุทธ และ พลตรีวิชาติ ลายถมยา ไปไว้ที่หอประชุมกองทัพบก และออกแถลงการณ์สรุปใจความดังนี้
"เนื่องจากสถานการณ์ของประเทศทุกด้านกำลังระส่ำระส่ายและทรุดลงอย่างหนัก เพราะความอ่อนแอของผู้บริหารประเทศ พรรคการเมืองแตกแยก ทำให้เสถียรภาพของรัฐบาลสั่นคลอน จึงเป็นจุดอ่อนให้มีคณะบุคคลที่ไม่หวังดีต่อประเทศเคลื่อนไหว จะใช้กำลังเข้ายึดการปกครองเพื่อเปลี่ยนแปลง การปกครองเป็นแบบเผด็จการถาวร ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยและอยู่รอดของประเทศ คณะปฏิวัติซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน จึงได้ชิงเข้ายึดอำนาจการปกครองของประเทศเสียก่อน"
(ยังมีต่อ)
พิมพ์ครั้งแรก โลกวันนี้ ฉบับวันสุข 16-22 สิงหาคม 2557
คอลัมน์ พายเรือในอ่าง ผู้เขียน อริน