"สมุดปกขาว คมช." : 4 เดือนหลังการยึดอำนาจ
วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2549 เป็นเวลา 2 เดือนเศษนับจากการก่อรัฐประหารอัปยศ โค่นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ให้สัมภาษณ์ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ ITV (ในขณะนั้น) ถึงการประชุม คมช. นัดพิเศษในช่วงเช้า โดยคาดว่าวาระสำคัญที่จะมีการหารือเรื่องความคืบหน้าการทำงานของคณะกรรมการกำกับดูแลการสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (กดส.) ที่จะต้องคัดเลือกให้ครบ 2,000 ชื่อ ภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายน และที่สำคัญคือเรื่องความคืบหน้าการจัดทำสมุดปกขาว ชี้แจงสาเหตุของการยึดอำนาจเมื่อวันที่ 19 กันยายน ที่ใช้ชื่อว่า "การปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"
ทั้งนี้ เหตุผลสำคัญคือการตอบโจทย์แก่นานาประเทศที่เฝ้าจับตาการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศ และรวมถึงประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่ไม่ได้ตอบรับการยึดอำนาจจากรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ตามที่มีการปูทางเตรียมการ มาตลอดเวลาประมาณปีเศษของกลุ่มบุคคลวงการต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มมวลชนจัดตั้งที่เตรียมจัดชุมนุมใหญ่เพื่อขับไล่รัฐบาลในวันที่ 20 กันยายน และมีหลายฝ่ายแสดงความวิตกกังวลว่าสถานการณ์อาจบานปลาย นำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงถึงขั้นอาจมีการปะทะกันระหว่างฝ่ายไล่และฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล
หลังจากใช้เวลาอีกเดือนเศษ คือในเวลา 13.00น. ของวันที่ 29 ธันวาคม 2549 พ.อ.สรรเสริญ จึงจัดแถลงข่าวและนำเอกสารข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิรูปการปกครองประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 มาแจกจ่ายกับสื่อมวลชนสายทหาร พร้อมแบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับเอกสารข้อเท็จจริง เพื่อส่งกลับสำนักงานเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กองบัญชาการทหารบก ถ.ราชดำเนินนอก เขตพระนคร กทม.
เอกสารดังกล่าวมีความหนาเพียงจำนวน 38 หน้าโดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ส่วนประกอบด้วย 1.เหตุการณ์ ก่อนการปฏิรูปฯ และมูลเหตุสำคัญที่นำไปสู่การปฏิรูป 2. เหตุการณ์ระหว่างการปฏิรูป 3. เหตุการณ์หลังการปฏิรูปและ 4. เจตนารมณ์ก้าวต่อไปของ คมช. ทั้งนี้ในหน้าสุดท้ายของเอกสาร มีเนื้อเพลง "พรุ่งนี้ต้องดีกว่า" แต่งคำร้องโดย นายนิติพงษ์ ห่อนาค
เอกสารที่มีชื่อเต็มว่า "ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการปฏิรูปการปกครองในประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549" จัดพิมพ์เป็นภาษาไทยจำนวน 30,000 เล่มภาษาอังกฤษ 5,000 เล่ม พร้อม ซีดี.ภาษาไทย 1,000 แผ่น ภาษาอังกฤษ 5,000 แผ่น จะเร่งดำเนินการจ่ายแจกให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและองค์กรอิสระ ประกอบด้วยสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพ รวมถึงกระทรวง ทบวงกรม ต่างๆ และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศ สถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย, สถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ, องค์การสหประชาชาติ, องค์การระหว่างประเทศ ฯลฯ
เอกสารดังกล่าวได้ให้เหตุแห่งการก่อรัฐประหารดังนี้
"เหตุการณ์สำคัญที่เป็นชนวนนำไปสู่การปฏิรูป
ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลที่เพิ่งถูกยึดอำนาจไปถูกเพ่งเล็งจากสังคมอย่างหนัก และถูกกล่าวหาด้วยความเคลือบแคลงสงสัยว่าพยามยามผูกขาดอำนาจ ทำลายระบบการตรวจสอบถ่วงดุลโดยการแทรกแซงครอบงำองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (รธน.) และการแต่งตั้งบุคคลเข้ารับตำแหน่งสำคัญในองค์กรอิสระ ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนคุกคามและแทรกแซงสื่อมวลชน รวมทั้งมีการดำเนินการที่ส่อไปในทางทุจริต-ฉ้อราษฎร์บังหลวง และมีผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างกว้างขวาง เป็นที่ค้างคาใจประชาชนในกรณีที่สำคัญ ดังนี้
1.การทุจริตผลประโยชน์ทับซ้อน อาทิ การแปรค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือเป็นภาษีสรรพสามิต การแปลงธุรกิจดาวเทียมให้เป็นธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน การก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ และกรณีเครื่องตรวจวัตถุระเบิด ซีทีเอ็กซ์. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าแอร์พอร์ทลิงค์ การพยายามแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ไม่โปร่งใส และกรณีการครอบงำกิจการโทรทัศน์เสรี
2.การใช้อำนาจในทางมิชอบ อาทิ การแต่งตั้งเครือญาติ คนใกล้ชิดดำรงตำแหน่งข้าราชการระดับสูง การใช้วิธีการงบประมาณที่ไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา เพื่อผลประโยชน์ในการสร้างคะแนนนิยมต่อรัฐบาล การใช้ตำแหน่งหน้าที่ในการเจรจากับต่างประเทศเพื่อเอื้อต่อประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง (กรณีการปล่อยเงินกู้ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย) การใช้อำนาจทางกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและกรมสรรพากร ในการตรวจสอบสถานะทางการเงินของผู้ที่ไม่เห็นด้วยรัฐบาล
3.การละเมิดจริยธรรม คุณธรรมของผู้นำประเทศ อาทิ การขายสัมปทานดาวเทียมและสถานีโทรทัศน์ให้กับต่างชาติ การซื้อขายหุ้นของบุคคลในครอบครัวโดยไม่เสียภาษี
4.การแทรกแซงระบบการตรวจสอบทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ อาทิ การครอบงำวุฒิสภาที่มีอำนาจในการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญต่างๆ และการตรวจสอบการดำเนินการของฝ่ายบริหาร การแทรกแซงการแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
5.ข้อผิดพลาดเชิงนโยบายที่นำสู่การละเมิดสิทธิเสรีภาพ อาทิ กรณีฆ่าตัดตอน หรือการทำวิสามัญฆาตกรรมในคดียาเสพติด โดยมีผู้ถูกสังหารเป็นอันมาก การบริหารจัดการในเชิงนโยบายที่ผิดพลาดและไม่ชอบธรรมในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งแม้จะใช้เวลายาวนาน แต่ก็ไม่ทุเลาเบาบางลง
6.การบ่อนทำลายความสามัคคีของคนในชาติ และการเผชิญหน้าที่เสี่ยงต่อการใช้ความรุนแรง อาทิ การปิดกั้นข้อมูลข่าวสารของกลุ่มที่จะตรวจสอบรัฐบาลหรือตัวนายกรัฐมนตรี และเปิดเฉพาะข้อมูลที่คัดสรรแล้ว ทำให้ประชาชนไม่สามารถรับทราบความจริงทั้งหมด การจัดตั้งกลุ่มคนสนับสนุนเพื่อตอบโต้และมุ่งหวังให้เกิดการเผชิญหน้าที่เสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงกับกลุ่มผู้ต่อต้านรัฐบาลโดยสันติ"
ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลที่เพิ่งถูกยึดอำนาจไปถูกเพ่งเล็งจากสังคมอย่างหนัก และถูกกล่าวหาด้วยความเคลือบแคลงสงสัยว่าพยามยามผูกขาดอำนาจ ทำลายระบบการตรวจสอบถ่วงดุลโดยการแทรกแซงครอบงำองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (รธน.) และการแต่งตั้งบุคคลเข้ารับตำแหน่งสำคัญในองค์กรอิสระ ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนคุกคามและแทรกแซงสื่อมวลชน รวมทั้งมีการดำเนินการที่ส่อไปในทางทุจริต-ฉ้อราษฎร์บังหลวง และมีผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างกว้างขวาง เป็นที่ค้างคาใจประชาชนในกรณีที่สำคัญ ดังนี้
1.การทุจริตผลประโยชน์ทับซ้อน อาทิ การแปรค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือเป็นภาษีสรรพสามิต การแปลงธุรกิจดาวเทียมให้เป็นธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน การก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ และกรณีเครื่องตรวจวัตถุระเบิด ซีทีเอ็กซ์. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าแอร์พอร์ทลิงค์ การพยายามแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ไม่โปร่งใส และกรณีการครอบงำกิจการโทรทัศน์เสรี
2.การใช้อำนาจในทางมิชอบ อาทิ การแต่งตั้งเครือญาติ คนใกล้ชิดดำรงตำแหน่งข้าราชการระดับสูง การใช้วิธีการงบประมาณที่ไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา เพื่อผลประโยชน์ในการสร้างคะแนนนิยมต่อรัฐบาล การใช้ตำแหน่งหน้าที่ในการเจรจากับต่างประเทศเพื่อเอื้อต่อประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง (กรณีการปล่อยเงินกู้ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย) การใช้อำนาจทางกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและกรมสรรพากร ในการตรวจสอบสถานะทางการเงินของผู้ที่ไม่เห็นด้วยรัฐบาล
3.การละเมิดจริยธรรม คุณธรรมของผู้นำประเทศ อาทิ การขายสัมปทานดาวเทียมและสถานีโทรทัศน์ให้กับต่างชาติ การซื้อขายหุ้นของบุคคลในครอบครัวโดยไม่เสียภาษี
4.การแทรกแซงระบบการตรวจสอบทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ อาทิ การครอบงำวุฒิสภาที่มีอำนาจในการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญต่างๆ และการตรวจสอบการดำเนินการของฝ่ายบริหาร การแทรกแซงการแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
5.ข้อผิดพลาดเชิงนโยบายที่นำสู่การละเมิดสิทธิเสรีภาพ อาทิ กรณีฆ่าตัดตอน หรือการทำวิสามัญฆาตกรรมในคดียาเสพติด โดยมีผู้ถูกสังหารเป็นอันมาก การบริหารจัดการในเชิงนโยบายที่ผิดพลาดและไม่ชอบธรรมในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งแม้จะใช้เวลายาวนาน แต่ก็ไม่ทุเลาเบาบางลง
6.การบ่อนทำลายความสามัคคีของคนในชาติ และการเผชิญหน้าที่เสี่ยงต่อการใช้ความรุนแรง อาทิ การปิดกั้นข้อมูลข่าวสารของกลุ่มที่จะตรวจสอบรัฐบาลหรือตัวนายกรัฐมนตรี และเปิดเฉพาะข้อมูลที่คัดสรรแล้ว ทำให้ประชาชนไม่สามารถรับทราบความจริงทั้งหมด การจัดตั้งกลุ่มคนสนับสนุนเพื่อตอบโต้และมุ่งหวังให้เกิดการเผชิญหน้าที่เสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงกับกลุ่มผู้ต่อต้านรัฐบาลโดยสันติ"
พิมพ์ครั้งแรก โลกวันนี้ ฉบับวันสุข วันที่ 10-16 ธันวาคม 2554
คอลัมน์ พายเรือในอ่าง ผู้เขียน อริน
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537