ประวัติศาสตร์การเมืองยุคใกล้ของไทย:
ถนอม กิตติขจร ผู้สืบทอดอำนาจระบบสฤษดิ์? (5)
สถานะและบทบาทสำคัญ (ในการอภิแรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาล) ของวุฒิสภาในรัฐธรรมนูญฉบับที่ 8
เส้นทางสู่นายกฯ สมัยที่สาม
ภายใต้ "รัฐธรรมนูญ 2511" (ต่อ)
ปมเงื่อนที่สำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงการใช้อำนาจที่ใกล้เคียงกับความ "เบ็ดเสร็จเด็ดขาด" ของ "คณะปฏิวัติ (คณะรัฐประหาร)" ใน "รัด-ทำ-มะ-นูนฯ-2511" คือ การกำหนดให้วุฒิสภามีอำนาจค่อนข้างมาก นอกจากจะสามารถยับยั้งร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว ยังมีอำนาจควบคุมฝ่ายบริหารได้เท่ากับสภาผู้แทนราษฎรอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี หรือการเสนอญัตติเพื่อขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา
ว่าด้วย "สมาชิกวุฒิสภา"
ภายใต้ "รัฐธรรมนูญ 2511" (ต่อ)
ปมเงื่อนที่สำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงการใช้อำนาจที่ใกล้เคียงกับความ "เบ็ดเสร็จเด็ดขาด" ของ "คณะปฏิวัติ (คณะรัฐประหาร)" ใน "รัด-ทำ-มะ-นูนฯ-2511" คือ การกำหนดให้วุฒิสภามีอำนาจค่อนข้างมาก นอกจากจะสามารถยับยั้งร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว ยังมีอำนาจควบคุมฝ่ายบริหารได้เท่ากับสภาผู้แทนราษฎรอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี หรือการเสนอญัตติเพื่อขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา
ว่าด้วย "สมาชิกวุฒิสภา"
ตาม "รัด-ทำ-มะ-นูนฯ-2511"
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 กำหนดให้รัฐสภาเป็นระบบสองสภา ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา กล่าวคือ วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีจำนวนสามในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎร (ตามที่คณะรัฐมนตรีนำขึ้นกราบบังคมทูล ถวายเพื่อทรงเห็นชอบและลงพระปรมาภิไธย?) วุฒิสมาชิกมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี เมื่อครบ 3 ปี แล้วให้จับสลากออกครึ่งหนึ่ง ส่วนสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งตามอัตราส่วนประชากร 150,000 คนต่อสมาชิกสภาผู้แทน 1 คน โดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้วุฒิสภามีอำนาจค่อนข้างมาก กล่าวคือ นอกจากจะสามารถยับยั้งร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว ยังมีอำนาจควบคุมฝ่ายบริหารได้เท่ากับสภาผู้แทนราษฎรอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี หรือการเสนอญัตติเพื่อขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา
วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 เวลา 19.00 นาฬิกา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญได้เชิญสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะรัฐมนตรี รวมทั้งกรรมาธิการของสภาร่างรัฐธรรมนูญทั้งหมดมารับประทานอาหารร่วมกัน ณ บริเวณพระที่นั่งอนันตสมาคม เพื่อฉลองความสเร็จในการปฏิบัติภารกิจลุล่วงตามเจตนารมณ์ของคณะรัฐประหาร หรือกล่าวให้ถึงที่สุดของผู้นำในการรัฐประหาร ที่เรียกตัวเองว่า "หัวหน้าคณะปฏิวัติ" และแสดงความยินดีในการที่สภาร่างรัฐธรรมนูญได้ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญมาตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จนเสร็จสิ้นลง
หลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 แล้ว ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 จึงได้มีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 120 คน ตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญเพื่อทำหน้าที่สมาชิกวุฒิสภาในรัฐสภา [http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title==การเลือกตั้ง_ส.ส._และการแต่งตั้ง_ส.ว._ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พ.ศ._2511]
การแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาในการประกาศใช้ "รัด-ทำ-มะ-นูน" ฉบับนี้ แบ่งเป็นสามช่วง เนื่องจากมีการแต่งตั้งเพิ่มเติมอีก 2 กรณี
สำหรับรายชื่อที่น่าสนใจแยกตามประเภท "อาชีพ" ของสมาชิกวุฒิสภา พอจะคัดแยกมาได้ดังนี้ (เรียงตามลำดับพยัญชนะ)
ทหารบก: พลโท กฤษณ์ สีวะรา, พลตรี เกรียงไกร อัตตะนันท์, พลโท เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์, พลโท จำเป็น จารุเสถียร, พลโท เฉลิมชัย จารุวัสตร์, พลโท โชติ หิรัญยัษฐิติ, พลโท บุญชัย บำรุงพงศ์, พลตรี ประจวบ สุนทรางกูร, พลตรี ประเสริฐ ธรรมศิริ, พลโท ทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา, พันเอก เปรม ติณสูลานนท์, พลตรี ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา, พลโท สายหยุด เกิดผล, พลเอก สุรกิจ มัยลาภ, พันเอก อรุณ ทวาทศิน ฯลฯ
ทหารเรือ: พลเรือตรี กมล สีตกะลิน, พลเรือโท กวี สิงหะ, พลเรือโท เฉิดชาย ถมยา, พลเรือเอก ถวิล รายนานนท์, พลเรือโท สงัด ชลออยู่ ฯลฯ
ทหารอากาศ: พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ, พลอากาศเอก บุญชู จันทรุเบกษา, พลอากาศเอก หะริน หงสกุล ฯลฯ
ตำรวจ: พลตำรวจตรี ชุมพล โลหะชาละ, พลตำรวจโท ต่อศักดิ์ ยมนาค, พลตำรวจโท พจน์ เภกะนันท์, พลตำรวจโท พิชัย กุลละวณิชย์, พลตำรวจโท เยื้อน ประภาวัต, พลตำรวจตรี ศรีสุข มหินทรเทพ, พลตำรวจตรี สง่า กิตติขจร ฯลฯ
พลเรือน: หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช, นายถวิล สุนทรศารทูล, หม่อมราชวงศ์ทองแท่ง ทองแถม, นายบุญรอด บิณฑสันต์, นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์, นายพ่วง สุวรรณรัฐ, นายวิทย์ ศิวะศริยานนท, นายสุวรรณ รื่นยศ
ทั้งนี้โดยมี พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) อดีตประธานวุฒิสภา รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานวุฒิสภา และพระดุลยพากย์สุวมัณฑ์ เป็นรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 และครวญ สุทธานินท์ฅพลเอก ครวญ สุทธานินท์ เป็นรองประธานสภาคนที่ 2
แต่หลังจากในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 ซึ่งจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และได้ผู้แทนฯ จำนวน 219 คน จึงเป็นเหตุให้ต้องมีการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาเพิ่มเติมอีก 44 คน รวมเป็น 164 คน เพื่อให้มีจำนวนเท่ากับ 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 รายชื่อผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 ที่สำคัญมีดังต่อไปนี้ (เรียงลำดับตามพยัญชนะ ไม่จำแนกอาชีพ)
พลโท เจริญ พงษ์พานิช, นายเฉลิม วุฒิโฆสิต, นายดุสิต พานิชพัฒน์,พลเอก เต็ม หอมเศรษฐี, พันเอก เทียนชัย ศิริสัมพันธ์, นายประหยัด เอี่ยมศิลา, จอมพล ผิน ชุณหะวัณ, พลตรี ไพฑูรย์ อิงคตานุวัฒน์, นายสุริยน ไรวา, พลโท เสริม ณ นคร, พันเอก แสง จุละจาริตต์, พันโท อำนวย ไชยโรจน์, นายโอสถ โกศิน ฯลฯ
ต่อมาเนื่องจากมีสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 6 คน ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2512 เป็นต้นไป ประกอบด้วย นายมนูญ บริสุทธิ์, พลตำรวจโทพิชัย กุลละวณิชย์, พลโทแสวง เสนาณรงค์, นายถวิล สุนทรศารทูล, พลเอก กฤษณ์ ศรีวะรา และหม่อมราชวงศ์ ทองแท่ง ทองแถม
ในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2512 จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาเพิ่ม 6 คน แทนตำแหน่งที่ว่างลง ดังนี้ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์, พลอากาศโท มุนีมหาสันทนะเวชยันตรังสฤษดิ์, พระยาอรรถการีย์นิพนธ์, หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล, พลตรี ชาญ อังศุโชติ และนายสนิท วิไลจิตต์
พิมพ์ครั้งแรก โลกวันนี้ ฉบับวันสุข 20-26 มิถุนายน 2558
คอลัมน์ พายเรือในอ่าง ผู้เขียน อริน
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 กำหนดให้รัฐสภาเป็นระบบสองสภา ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา กล่าวคือ วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีจำนวนสามในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎร (ตามที่คณะรัฐมนตรีนำขึ้นกราบบังคมทูล ถวายเพื่อทรงเห็นชอบและลงพระปรมาภิไธย?) วุฒิสมาชิกมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี เมื่อครบ 3 ปี แล้วให้จับสลากออกครึ่งหนึ่ง ส่วนสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งตามอัตราส่วนประชากร 150,000 คนต่อสมาชิกสภาผู้แทน 1 คน โดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้วุฒิสภามีอำนาจค่อนข้างมาก กล่าวคือ นอกจากจะสามารถยับยั้งร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว ยังมีอำนาจควบคุมฝ่ายบริหารได้เท่ากับสภาผู้แทนราษฎรอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี หรือการเสนอญัตติเพื่อขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา
วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 เวลา 19.00 นาฬิกา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญได้เชิญสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะรัฐมนตรี รวมทั้งกรรมาธิการของสภาร่างรัฐธรรมนูญทั้งหมดมารับประทานอาหารร่วมกัน ณ บริเวณพระที่นั่งอนันตสมาคม เพื่อฉลองความสเร็จในการปฏิบัติภารกิจลุล่วงตามเจตนารมณ์ของคณะรัฐประหาร หรือกล่าวให้ถึงที่สุดของผู้นำในการรัฐประหาร ที่เรียกตัวเองว่า "หัวหน้าคณะปฏิวัติ" และแสดงความยินดีในการที่สภาร่างรัฐธรรมนูญได้ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญมาตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จนเสร็จสิ้นลง
หลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 แล้ว ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 จึงได้มีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 120 คน ตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญเพื่อทำหน้าที่สมาชิกวุฒิสภาในรัฐสภา [http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title==การเลือกตั้ง_ส.ส._และการแต่งตั้ง_ส.ว._ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พ.ศ._2511]
การแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาในการประกาศใช้ "รัด-ทำ-มะ-นูน" ฉบับนี้ แบ่งเป็นสามช่วง เนื่องจากมีการแต่งตั้งเพิ่มเติมอีก 2 กรณี
สำหรับรายชื่อที่น่าสนใจแยกตามประเภท "อาชีพ" ของสมาชิกวุฒิสภา พอจะคัดแยกมาได้ดังนี้ (เรียงตามลำดับพยัญชนะ)
ทหารบก: พลโท กฤษณ์ สีวะรา, พลตรี เกรียงไกร อัตตะนันท์, พลโท เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์, พลโท จำเป็น จารุเสถียร, พลโท เฉลิมชัย จารุวัสตร์, พลโท โชติ หิรัญยัษฐิติ, พลโท บุญชัย บำรุงพงศ์, พลตรี ประจวบ สุนทรางกูร, พลตรี ประเสริฐ ธรรมศิริ, พลโท ทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา, พันเอก เปรม ติณสูลานนท์, พลตรี ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา, พลโท สายหยุด เกิดผล, พลเอก สุรกิจ มัยลาภ, พันเอก อรุณ ทวาทศิน ฯลฯ
ทหารเรือ: พลเรือตรี กมล สีตกะลิน, พลเรือโท กวี สิงหะ, พลเรือโท เฉิดชาย ถมยา, พลเรือเอก ถวิล รายนานนท์, พลเรือโท สงัด ชลออยู่ ฯลฯ
ทหารอากาศ: พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ, พลอากาศเอก บุญชู จันทรุเบกษา, พลอากาศเอก หะริน หงสกุล ฯลฯ
ตำรวจ: พลตำรวจตรี ชุมพล โลหะชาละ, พลตำรวจโท ต่อศักดิ์ ยมนาค, พลตำรวจโท พจน์ เภกะนันท์, พลตำรวจโท พิชัย กุลละวณิชย์, พลตำรวจโท เยื้อน ประภาวัต, พลตำรวจตรี ศรีสุข มหินทรเทพ, พลตำรวจตรี สง่า กิตติขจร ฯลฯ
พลเรือน: หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช, นายถวิล สุนทรศารทูล, หม่อมราชวงศ์ทองแท่ง ทองแถม, นายบุญรอด บิณฑสันต์, นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์, นายพ่วง สุวรรณรัฐ, นายวิทย์ ศิวะศริยานนท, นายสุวรรณ รื่นยศ
ทั้งนี้โดยมี พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) อดีตประธานวุฒิสภา รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานวุฒิสภา และพระดุลยพากย์สุวมัณฑ์ เป็นรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 และครวญ สุทธานินท์ฅพลเอก ครวญ สุทธานินท์ เป็นรองประธานสภาคนที่ 2
แต่หลังจากในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 ซึ่งจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และได้ผู้แทนฯ จำนวน 219 คน จึงเป็นเหตุให้ต้องมีการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาเพิ่มเติมอีก 44 คน รวมเป็น 164 คน เพื่อให้มีจำนวนเท่ากับ 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 รายชื่อผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 ที่สำคัญมีดังต่อไปนี้ (เรียงลำดับตามพยัญชนะ ไม่จำแนกอาชีพ)
พลโท เจริญ พงษ์พานิช, นายเฉลิม วุฒิโฆสิต, นายดุสิต พานิชพัฒน์,พลเอก เต็ม หอมเศรษฐี, พันเอก เทียนชัย ศิริสัมพันธ์, นายประหยัด เอี่ยมศิลา, จอมพล ผิน ชุณหะวัณ, พลตรี ไพฑูรย์ อิงคตานุวัฒน์, นายสุริยน ไรวา, พลโท เสริม ณ นคร, พันเอก แสง จุละจาริตต์, พันโท อำนวย ไชยโรจน์, นายโอสถ โกศิน ฯลฯ
ต่อมาเนื่องจากมีสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 6 คน ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2512 เป็นต้นไป ประกอบด้วย นายมนูญ บริสุทธิ์, พลตำรวจโทพิชัย กุลละวณิชย์, พลโทแสวง เสนาณรงค์, นายถวิล สุนทรศารทูล, พลเอก กฤษณ์ ศรีวะรา และหม่อมราชวงศ์ ทองแท่ง ทองแถม
ในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2512 จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาเพิ่ม 6 คน แทนตำแหน่งที่ว่างลง ดังนี้ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์, พลอากาศโท มุนีมหาสันทนะเวชยันตรังสฤษดิ์, พระยาอรรถการีย์นิพนธ์, หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล, พลตรี ชาญ อังศุโชติ และนายสนิท วิไลจิตต์
*****
ประเด็นที่น่าที่จะติดตามสำหรับการวิเคราะห์การเมืองไทยหลังกึ่งพุทธกาล ซึ่งเริ่มต้นด้วยการรัฐประหาร 2 ครั้ง คือการสืบทอด/ผ่องถ่ายอำนาจทางการเมืองของกองทัพ โดยเฉพาะกองทัพบกเป็นสำคัญ จะเห็นว่า "ตัวละครหลัก" ที่ยืนยงคงทนมาเป็นลำดับนั้น อาจถือว่าเป็นบุคคลระดับ "กุญแจ" ไขปริศนา "ระบอบ" และ "ระบบ" เสียยิ่งกว่าการวิเคราะห์เชิงชี้นำอย่างสิ่งที่เรียกว่า "ระบบพ่อขุนอุปถัมภ์" เป็นไหนๆ.(ยังมีต่อ)
พิมพ์ครั้งแรก โลกวันนี้ ฉบับวันสุข 20-26 มิถุนายน 2558
คอลัมน์ พายเรือในอ่าง ผู้เขียน อริน