การปกครองส่วนภูมิภาค :
มณฑลเทศาภิบาลและข้าหลวง
มณฑลเทศาภิบาลและข้าหลวง
การประชุมเทศาภิบาล กระทรวงมหาดไทย ครั้งแรก พ.ศ. 2438 (จากซ้ายไปขวา) แถวนั่ง 1. พระยาจ่าแสนยบดี (ไทย) 2. เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) แถวยืนแรก 1. พระยาสุรินทร์ฦๅไชย (เทศ บุนนาค) ต่อมาเป็นเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ 2. พระยาฤทธิรงค์รณเฉท (สุข ชูโต) 3. พระยาประสิทธิ์ศัลการ (สอาด สิงหเสนี) 4. พระยาอภัยรณฤทธิ์ (บุศย์ บุญยรัตพันธ์) แถวยืนที่สอง 1. พระยาราชวรานุกูล (อ่วม) 2. กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) 3. กรมหมื่นมรุพงศ์สิริพัฒน์ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ แถวยืนที่สาม 1. พระยาดัษกรปลาศ (อยู่) 2. พระยาทิพโกษา (โต โชติกเสถียร) 3. พระยามหาอำมาตย์ (เส็ง วิริยศิริ)
หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดระเบียบการปกครองส่วนกลางและกำหนดให้กระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่ควบคุมหัวเมืองทั่วพระราชอาณาจักรแล้ว ขั้นตอนต่อมาของการปลี่ยนผ่านระบอบการปกครอง เพื่อเป็นการกำกับดูแลหัวเมืองต่างๆตลอดจนสามารถควบคุมได้จากส่วนกลางอย่างแท้จริง ซึ่งในระบอบการปกครองแบบจตุสดมภ์/ศักดินาสวามิภักดิ์เดิมไม่สามารถทำได้ การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคจึงเริ่มเมื่อ พ.ศ. 2437 โดยรวมเมืองตั้งแต่สามเมืองขึ้นไปเป็นกลุ่มเมืองเรียกว่า มณฑลเทศาภิบาล โดยใช้ลำน้ำเป็นหลักบอกเขตมณฑล
ลักษณะการปกครองแบบเทศาภิบาล คือ การปกครองที่จัดให้มีหน่วยบริหารราชการประกอบด้วยข้าราชการทำหน้าที่รับและสนองนโยบายจากอำนาจการปกครองที่รวมศูนย์ที่ส่วนกลาง มีระบบการบังคับบัญชาเรียกว่าการเทศาภิบาล มีข้าราชการ (เดิมคือขุนนาง) จากส่วนกลาง (กระทรวง) ไปปกครองแต่ละมณฑล เรียกว่า "กองข้าหลวงเทศาภิบาล" ประกอบด้วย
1. ข้าหลวงใหญ่หรือข้าหลวงเทศาภิบาล เป็นหัวหน้าคณะปกครองดูแลข้าราชการทั้งนี้ การจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล มีการริเริ่มใช้มาแล้วก่อน พ.ศ. 2437 เริ่มจากหัวเมืองชายแดน เนื่องจากฝรั่งเศสกำลังเร่งขยายอำนาจอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจุดมุ่งหมายในตอนแรกจึงเป็นการป้องกันพระราชอาณาจักรให้พ้นจากการคุกคามภายนอก และเพื่อให้การปกครองดำเนินไปโดยถูกต้องตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอย่างใหม่นั้น โดยในเบื้องต้นมี 6 มณฑล คือ
2. ข้าหลวงมหาดไทย เป็นเจ้าพนักงานปกครองท้องที่ การทะเบียนราษฎร์ และวางระเบียบข้อบังคับ คำสั่งทั้งปวงของข้าหลวงเทศาภิบาล
3. ข้าหลวงยุติธรรม มีหน้าที่ตรวจตราเร่งรัดคดีความทั้งมณฑล เพื่อให้การพิพากษาคดีรวดเร็ว สะสางคดีค้างเก่ามากมายให้เสร็จสิ้นไป และตั้งศาลชำระความอุทธรณ์ของศาลเมือง
4. ข้าหลวงคลัง มีหน้าที่เก็บและตรวจประโยชน์ของแผ่นดินซึ่งผู้ว่าราชการเมือง กรมการเมืองเรียกเก็บอยู่แต่ก่อน รวมทั้งรวบรวมผลประโยชน์ที่เคยตกเรี่ยเสียหายแต่ก่อนให้ได้มาเป็นของหลวง และจ่ายเงินเดือนพระราชทานแก่ผู้ว่าราชการเมือง กรมการเมือง
5. เลขานุการ ทำหน้าที่เป็นเลขานุการของข้าหลวงเทศาภิบาล
6. แพทย์ประจำตำบล มีหน้าที่ดูแลรักษาป้องกันโรคให้แก่ราษฎรของมณฑล
7. ผู้ช่วยเสมียนและคนใช้ จำนวนพอสมควรแก่งาน
1. มณฑลลาวเฉียงหรือมณฑลพายัพ ประกอบด้วย 6 เมืองคือ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน น่าน แพร่ และเถิน (ภายหลังยุบเป็นอำเภอเถิน ขึ้นกับนครลำปาง เมื่อ พ.ศ. 2448) โดยมีเจ้าพระยาพลเทพ (พุ่ม ศรีไชยยันต์) เป็นข้าหลวงใหญ่ บัญชาการอยู่ที่เมืองเชียงใหม่
2. มณฑลลาวพวนหรือมณฑลอุดร ประกอบด้วย 6 เมืองคือ อุดรธานี ขอนแก่น นครพนม สกลนคร หนองคาย และเลย มีพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงใหญ่บัญชาการอยู่ที่เมืองอุดร
3. มณฑลลาวกาวหรือมณฑลอีสาน ประกอบด้วย 8 เมือง คือ อุบลราชธานี จำปาสัก ศรีสะเกษ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ มีพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงพิชิตปรีชากร เป็นข้าหลวงใหญ่บัญชาการอยู่ที่เมือง จำปาสัก
4. มณฑลลาวกลางหรือมณฑลนครราชสีมา ประกอบด้วย 3 เมืองคือ นครราชสีมา ชัยภูมิ และบุรีรัมย์ มีพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ เป็นข้าหลวงใหญ่ บัญชาการอยู่ที่เมืองนครราชสีมา
5. มณฑลเขมรหรือมณฑลบูรพา ประกอบด้วย 4 เมืองคือ พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ และพนมศก (ปัจจุบันเป็นตำบล) มีพระยามหาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น ศรีเพ็ญ) เป็นข้าหลวงใหญ่ บัญชาการอยู่ที่เมืองพระตะบอง
6. มณฑลภูเก็ต ประกอบด้วย 6 เมือง คือ ภูเก็ต กระบี่ ตรัง ตะกั่วป่า พังงา และระนอง (ตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2418 แล้ว) มีพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุญนาค) เป็นข้าหลวงใหญ่ บัญชาการอยู่ที่เมืองภูเก็ต
ต่อมาในปี พ.ศ. 2437 จัดตั้งเพิ่มขึ้นอีก 4 มณฑลคือ
1. มณฑลพิษณุโลก ประกอบด้วย 5 เมือง คือ พิษณุโลก พิจิตร พิชัย (อุตรดิตถ์) สวรรคโลก และสุโขทัย มีเจ้าพระยาสุรสีห์วิ ศิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) เป็นข้าหลวงใหญ่ บัญชาการอยู่ที่เมืองพิษณุโลก
2. มณฑลปราจีน ประกอบด้วย 4 เมือง คือ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก และพนมสารคาม มีพลตรีพระยาฤทธิรงค์รณเฉท (สุข ชูโต) เป็นข้าหลวงใหญ่ บัญชาการอยู่ที่เมืองปราจีน
3. มณฑลราชบุรี ประกอบด้วย 5 เมือง คือ ราชบุรี กาญจนบุรี ปราณบุรี เพชรบุรี และสมุทรสงคราม มีเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุญนาค) เป็นข้าหลวงใหญ่ บัญชาการอยู่ที่เมืองราชบุรี
4. มณฑลนครราชสีมา เป็นมณฑลมีอยู่ก่อนแล้ว แต่เพิ่งได้รับการประกาศใน พ.ศ. 2437 มีพลตรีพระยาสิงหเสนี (สะอาด สิงหเสนี) เป็นข้าหลวงใหญ่
พ.ศ. 2438 โปรดเกล้าให้ตั้งขึ้นใหม่อีก 3 มณฑล และแก้ไขมณฑลที่มีอยู่แล้วให้เป็นแบบเทศาภิบาลอีก 1 มณฑล รวมเป็น 4 มณฑล คือ
1. มณฑลนครชัยศรี ประกอบด้วย 3 เมือง คือ นครชัยศรี สมุทรสาคร และสุพรรณบุรี มีพระยามหาเทพ (บุตร บุณยรัตพันธุ์) เป็นข้าหลวงใหญ่ บัญชาการอยู่ที่เมืองนครชัยศรี ต่อมาย้ายไปตั้งที่พระปฐม
2. มณฑลนครสวรรค์ ประกอบด้วย 8 เมือง คือ นครสวรรค์ กำแพงเพชร ชัยนาท ตาก อุทัยธานี พยุหะคีรี มโนรมย์ และสรรคบุรี มีพันเอกพระยาดัสกรปลาศ (ทองอยู่ โรหิตเสถียร) เป็นข้าหลวงใหญ่ บัญชาการอยู่ที่เมืองนครสวรรค์
3. มณฑลกรุงเก่า (มณฑลอยุธยา) ประกอบด้วย 8 เมือง คือ กรุงเก่า พระพุทธบาท พรหมบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง และอินทร์บุรี มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนมุรพงศ์ศิริพัฒน์ เป็นข้าหลวงใหญ่ บัญชาการอยู่ที่กรุงเก่า
4. มณฑลภูเก็ต มีมาก่อนแล้วเพียงแต่ประกาศแก้ไขระเบียบและลักษณะการปกครอง ให้มี 6 เมืองตามเดิม.
พิมพ์ครั้่งแรก โลกวันนี้ ฉบับวันสุข 3-9 พฤศจิกายน 2555
คอลัมน์ พายเรือในอ่าง ผู้เขียน อริน