ประวัติศาสตร์การเมืองยุคใกล้ของไทย:
ถนอม กิตติขจร ผู้สืบทอดอำนาจระบบสฤษดิ์? (10)
ภาพการ์ตูนล้อเลียนการเมืองกรณีทุ่งใหญ่นเรศวรโดย ประยูร จรรยาวงษ์ ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ถนอม กิตติขจร: นายกฯ สมัยที่ห้า
กรณีทุ่งใหญ่ฯและการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ
ปลายปี พ.ศ. 2515 นั้นเอง หลังจากการเคลื่อนไหวกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม อาทิ การรณรงค์ใช้ผ้าดิบ การรณรงค์ไม่ใช้สินค้าญี่ปุ่น การคัดค้านความฟุ่มเฟือยในกิจกรรมฟุตบอลประเพณี รวมถึงการประกวดนางสาวไทย ดังได้กล่าวมาแล้ว ขบวนการนิสิตนักศึกษาก็มีโอกาสยกระดับความรับรู้และการเคลื่อนไหวไปสู่การเผชิญหน้ากับอำนาจรัฐโดยตรงเป็นครั้งแรก อันเป็นการเคลื่อนไหวที่มีลักษณะการเมืองมากกว่าครั้งใดๆ จากการเรียกร้องให้นิสิตนักศึกษาหลายสถาบันร่วมเดินขบวนประท้วง "ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 299" ที่ "ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานคณะตุลาการ ซึ่งแต่เดิมประกาศศาลฎีกาเป็นประธานคณะตุลาการ ส่วนกรรมการตุลาการ 9 คนนั้น เฉพาะกรรมการที่คณะผู้พิพากษาเป็นผู้เลือก 4 คน เปลี่ยนเป็นให้รัฐมนตรีเป็นผู้เลือก"
การประท้วงเริ่มขึ้นโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬา และรามคำแหง ต่อมา ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) หรือ ศูนย์นิสิตฯ จึงเข้าร่วมด้วย และขยายตัวไปยังนิสิตนักศึกษาสถาบันอื่นๆ มีการชุมนุมข้ามคืนที่หน้าศาลอาญา สนามหลวง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ในที่สุดรัฐบาลเผด็จการในขณะนั้นก็ยอมยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว นั้นหมายความว่า ปัญหาสิทธิเสรีภาพได้กลายเป็นประเด็นใจกลางในการขับเคลื่อนขบวนการนิสิตนักศึกษาไปแล้ว
จากนั้นในระหว่างวันที่ 5-20 มกราคม พ.ศ. 2516 ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยก็จัดการรณรงค์ให้มี "ปักษ์เลิกซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยของต่างประเทศ" โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะปลุกเร้าเพื่อเปลี่ยนค่านิยมของคนไทยที่นิยมใช้สินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ที่เป็นความฟุ่มเฟือย นำไปสู่การเสียเปรียบดุลการค้ากับนานาชาติ ซึ่งนอกเหนือจากมหาออำนาจทางเศรษฐกิจในซีกโลกตะวันตก การเคลื่อนไหวครั้งนี้เน้นไปที่สินค้าอุปโภคบริโภคจากญี่ปุ่นเป็นเป้าหมายสำคัญ
ถัดมาในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2516 ชนวนเหตุอันสำคัญที่ขยายความเอือมระอาในระบอบการปกครองแบบเผด็จการทหารก็เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อ เฮลิคอปเตอร์ทหารหมายเลข ทบ.6102 เกิดอุบัติเหตุตกที่ อ.บางเลน จ.นครปฐม มีดาราหญิงชื่อดังในขณะนั้นคือ นางเมตตา รุ่งรัตน์ โดยสารไปด้วย มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 6 คน ในซากเฮลิคอปเตอร์นั้นพบซากสัตว์เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นซากกระทิงจากป่าสงวน "ทุ่งใหญ่นเรศวร" จุดกระแสไม่พอใจในหมู่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก หลังจากนั้นปลายเดือนพฤษภาคมและต้นเดือนมิถุนายน นิสิตนักศึกษากลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติฯ 4 มหาวิทยาลัยได้ออกหนังสือเปิดโปงเบื้องหลังเบื้องลึกชื่อ "บันทึกลับจากทุ่งใหญ่" ตามมาด้วยกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงในนาม "ชมรมคนรุ่นใหม่" ได้จัดพิมพ์หนังสือ "มหาวิทยาลัยที่ไม่มีคำตอบ" ซึ่งมีการพิมพ์ข้อความลอยๆ ว่า "สภาสัตว์ป่าแห่งทุ่งใหญ่ฯ มีมติให้ต่ออายุสัตว์ป่าอีก 1 ปี เนื่องจากสถานการณ์ภายในและภายนอกเป็นที่ไม่ไว้ใจ" ซึ่งรัฐบาลถือว่าเป็นการเสียดสีการต่ออายุราชการของจอมพลถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะรัฐประหารและนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะผู้บัญชาการสูงสุด และ จอมพลประภาส จารุเสถียร รองหัวหน้าคณะรัฐประหาร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการทหารบกอีกคนละหนึ่งปี โดยที่จอมพลถนอมนั้นเคยได้รับการต่ออายุมาก่อนหน้านั้นครั้งหนึ่งแล้ว ทางมหาวิทยาลัยโดย ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ อธิการบดี จึงสั่งลบชื่อนักศึกษาที่เป็นแกนนำ 9 คนออกจากทะเบียนนักศึกษา
นักศึกษาทั้ง 9 คน ประกอบด้วย นายแสง รุ่งนิรันดรกุล (ถูกลอบยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2517) นายวันชัย แซ่เตียว, นายบุญส่ง ชเลธร, นายวิสา คัญทัพ, นายสมพงษ์ สระกวี, นายสุเมธ สุวิทยะเสถียร, นายชำนิ ศักดิเศรษฐ, นายประเดิม ดำรงเจริญ และ นางสาวกุลปราณี เมฆศรีสวัสดิ์
ผลก็คือ แทบจะในทันทีทันใด เกิดการประท้วงคำสั่งของสภามหาวิทยาลัยฯ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง แล้วขยายตัวไปสู่นิสิตนักศึกษาสถาบันอื่นๆ ที่เริ่มต้นจากกลุ่มกิจกรรมอิสระที่ค่อยยกระดับความสนใจมาสู่ปัญหาทางการเมืองการปกครองมากขึ้น ในที่สุดศูนย์นิสิตฯ ก็ประกาศตัวสนับสนุนและมีมติให้เดินขบวนในวันที่ 21-22 มิถุนายน พ.ศ. 2516 มีนิสิตนักศึกษากว่า 5 หมื่นคน ทั้งจากสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชนหลายสถาบันได้มาร่วมชุมนุมประท้วงที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย นับว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่มีขนาดใหญ่และมีปริมาณผู้เข้าร่วมมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมานับจากก่อนการยึดอำนาจการปกครองโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี พ.ศ. 2500 โดยในครั้งนี้ประชาชนจำนวนมากโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ได้ให้การสนับสนุนการเคลื่อนไหวของนักศึกษาอย่างออกหน้าเป็นครั้งแรก
ข้อเรียกร้องในระยะแรก เพียงต้องการให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงยกเลิกคำสั่งลบชื่อนักศึกษาทั้ง 9 คนและรับเข้าศึกษาอย่างไม่มีเงื่อนไข และเรียกร้องให้อธิการบดีลาออก แต่มีการยกระดับข้อเรียกร้องในเวลาต่อมา ให้รัฐบาลคืนอำนาจการปกครองให้แก่ประชาชนและให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายใน 6 เดือนอีกด้วย ผลที่ได้จากการเรียกร้องมีเพียง ดร.ศักดิ์ยอมลาออก ส่วนนอกนั้นไม่มีคำตอบจากรัฐบาล!
จะเห็นว่าขบวนการการเคลื่อนไหวที่มีต้นกำเนิดจากการการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในด้านต่างๆ ทั้งชีวิตและสังคมของนิสิตนักศึกษที่มีลักษณะเป็นเอกเทศ เป็นอิสระแยกจากกัน มีการเคลื่อนไหวนับจากการประท้วงทางด้านวัฒนธรรม ไปสู่การประท้วงทางการเมืองเฉพาะกรณี ซึ่งส่งผลให้องค์กรที่มีลักษณะเป็นทางการคือ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยต้อง "ตกกระไดพลอยโจน" เข้าร่วมและกลายเป็น "ผู้นำ" ทางนิตินัยอย่างไม่มีทางเลือก กระทั่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการในกระบวนการทางความคิดของคนหนุ่มสาวในรั้วมหาวิทยาลัย และแม้แต่ปัญญาชนร่วมสมัยบางส่วน เกิดการตกผลึกและรวมศูนย์ไปสู่การเคลื่อนไหวทั่วไปทางการเมือง ซึ่งหมายความว่า "ศูนย์นิสิตฯ" เป็นองค์การจัดตั้งของนิสิตนักศึกษาที่มีเนื้อหาทางการเมืองอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด หาใช่การ "ถูกล้างสมอง" หรือ "ถูกปลุกปั่นยุยง" โดยอำนาจการเมืองนอกระบบ หรือภายใต้ข้อหา "คอมมิวนิสต์" แต่อย่างใดไม่
เมื่อเห็นรัฐบาลใช้ท่าทีเมินเฉยต่อการเรียกร้องประชาธิปไตย ในที่สุดก็มีก่อตั้ง "กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ" ขึ้น โดยในขั้นแรกมีการรวบรวมรายชื่อหลากหลายอาชีพหลายวงการ ประชุมร่างแถลงการณ์ในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ทำเป็นใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญ
วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม 2516 เวลา 09.15 น. กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญประมาณ 20 คน รวมตัวกันที่ลานอนุสาวรีย์ทหารอาสา บริเวณเชิงสะพานปิ่นเกล้าฯ เพื่อนำใบปลิวเรียกร้องให้ประชาชนร่วมกันต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ รวมทั้งหนังสือเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาแจกกับประชาชน ที่ปกหน้าของหนังสือได้อัญเชิญ พระราชหัตถเลขาการสละราชสมบัติ ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีไปถึงคณะราษฎร มีความว่า
กรณีทุ่งใหญ่ฯและการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ
ปลายปี พ.ศ. 2515 นั้นเอง หลังจากการเคลื่อนไหวกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม อาทิ การรณรงค์ใช้ผ้าดิบ การรณรงค์ไม่ใช้สินค้าญี่ปุ่น การคัดค้านความฟุ่มเฟือยในกิจกรรมฟุตบอลประเพณี รวมถึงการประกวดนางสาวไทย ดังได้กล่าวมาแล้ว ขบวนการนิสิตนักศึกษาก็มีโอกาสยกระดับความรับรู้และการเคลื่อนไหวไปสู่การเผชิญหน้ากับอำนาจรัฐโดยตรงเป็นครั้งแรก อันเป็นการเคลื่อนไหวที่มีลักษณะการเมืองมากกว่าครั้งใดๆ จากการเรียกร้องให้นิสิตนักศึกษาหลายสถาบันร่วมเดินขบวนประท้วง "ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 299" ที่ "ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานคณะตุลาการ ซึ่งแต่เดิมประกาศศาลฎีกาเป็นประธานคณะตุลาการ ส่วนกรรมการตุลาการ 9 คนนั้น เฉพาะกรรมการที่คณะผู้พิพากษาเป็นผู้เลือก 4 คน เปลี่ยนเป็นให้รัฐมนตรีเป็นผู้เลือก"
การประท้วงเริ่มขึ้นโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬา และรามคำแหง ต่อมา ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) หรือ ศูนย์นิสิตฯ จึงเข้าร่วมด้วย และขยายตัวไปยังนิสิตนักศึกษาสถาบันอื่นๆ มีการชุมนุมข้ามคืนที่หน้าศาลอาญา สนามหลวง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ในที่สุดรัฐบาลเผด็จการในขณะนั้นก็ยอมยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว นั้นหมายความว่า ปัญหาสิทธิเสรีภาพได้กลายเป็นประเด็นใจกลางในการขับเคลื่อนขบวนการนิสิตนักศึกษาไปแล้ว
จากนั้นในระหว่างวันที่ 5-20 มกราคม พ.ศ. 2516 ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยก็จัดการรณรงค์ให้มี "ปักษ์เลิกซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยของต่างประเทศ" โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะปลุกเร้าเพื่อเปลี่ยนค่านิยมของคนไทยที่นิยมใช้สินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ที่เป็นความฟุ่มเฟือย นำไปสู่การเสียเปรียบดุลการค้ากับนานาชาติ ซึ่งนอกเหนือจากมหาออำนาจทางเศรษฐกิจในซีกโลกตะวันตก การเคลื่อนไหวครั้งนี้เน้นไปที่สินค้าอุปโภคบริโภคจากญี่ปุ่นเป็นเป้าหมายสำคัญ
ถัดมาในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2516 ชนวนเหตุอันสำคัญที่ขยายความเอือมระอาในระบอบการปกครองแบบเผด็จการทหารก็เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อ เฮลิคอปเตอร์ทหารหมายเลข ทบ.6102 เกิดอุบัติเหตุตกที่ อ.บางเลน จ.นครปฐม มีดาราหญิงชื่อดังในขณะนั้นคือ นางเมตตา รุ่งรัตน์ โดยสารไปด้วย มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 6 คน ในซากเฮลิคอปเตอร์นั้นพบซากสัตว์เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นซากกระทิงจากป่าสงวน "ทุ่งใหญ่นเรศวร" จุดกระแสไม่พอใจในหมู่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก หลังจากนั้นปลายเดือนพฤษภาคมและต้นเดือนมิถุนายน นิสิตนักศึกษากลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติฯ 4 มหาวิทยาลัยได้ออกหนังสือเปิดโปงเบื้องหลังเบื้องลึกชื่อ "บันทึกลับจากทุ่งใหญ่" ตามมาด้วยกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงในนาม "ชมรมคนรุ่นใหม่" ได้จัดพิมพ์หนังสือ "มหาวิทยาลัยที่ไม่มีคำตอบ" ซึ่งมีการพิมพ์ข้อความลอยๆ ว่า "สภาสัตว์ป่าแห่งทุ่งใหญ่ฯ มีมติให้ต่ออายุสัตว์ป่าอีก 1 ปี เนื่องจากสถานการณ์ภายในและภายนอกเป็นที่ไม่ไว้ใจ" ซึ่งรัฐบาลถือว่าเป็นการเสียดสีการต่ออายุราชการของจอมพลถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะรัฐประหารและนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะผู้บัญชาการสูงสุด และ จอมพลประภาส จารุเสถียร รองหัวหน้าคณะรัฐประหาร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการทหารบกอีกคนละหนึ่งปี โดยที่จอมพลถนอมนั้นเคยได้รับการต่ออายุมาก่อนหน้านั้นครั้งหนึ่งแล้ว ทางมหาวิทยาลัยโดย ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ อธิการบดี จึงสั่งลบชื่อนักศึกษาที่เป็นแกนนำ 9 คนออกจากทะเบียนนักศึกษา
นักศึกษาทั้ง 9 คน ประกอบด้วย นายแสง รุ่งนิรันดรกุล (ถูกลอบยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2517) นายวันชัย แซ่เตียว, นายบุญส่ง ชเลธร, นายวิสา คัญทัพ, นายสมพงษ์ สระกวี, นายสุเมธ สุวิทยะเสถียร, นายชำนิ ศักดิเศรษฐ, นายประเดิม ดำรงเจริญ และ นางสาวกุลปราณี เมฆศรีสวัสดิ์
ผลก็คือ แทบจะในทันทีทันใด เกิดการประท้วงคำสั่งของสภามหาวิทยาลัยฯ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง แล้วขยายตัวไปสู่นิสิตนักศึกษาสถาบันอื่นๆ ที่เริ่มต้นจากกลุ่มกิจกรรมอิสระที่ค่อยยกระดับความสนใจมาสู่ปัญหาทางการเมืองการปกครองมากขึ้น ในที่สุดศูนย์นิสิตฯ ก็ประกาศตัวสนับสนุนและมีมติให้เดินขบวนในวันที่ 21-22 มิถุนายน พ.ศ. 2516 มีนิสิตนักศึกษากว่า 5 หมื่นคน ทั้งจากสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชนหลายสถาบันได้มาร่วมชุมนุมประท้วงที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย นับว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่มีขนาดใหญ่และมีปริมาณผู้เข้าร่วมมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมานับจากก่อนการยึดอำนาจการปกครองโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี พ.ศ. 2500 โดยในครั้งนี้ประชาชนจำนวนมากโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ได้ให้การสนับสนุนการเคลื่อนไหวของนักศึกษาอย่างออกหน้าเป็นครั้งแรก
ข้อเรียกร้องในระยะแรก เพียงต้องการให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงยกเลิกคำสั่งลบชื่อนักศึกษาทั้ง 9 คนและรับเข้าศึกษาอย่างไม่มีเงื่อนไข และเรียกร้องให้อธิการบดีลาออก แต่มีการยกระดับข้อเรียกร้องในเวลาต่อมา ให้รัฐบาลคืนอำนาจการปกครองให้แก่ประชาชนและให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายใน 6 เดือนอีกด้วย ผลที่ได้จากการเรียกร้องมีเพียง ดร.ศักดิ์ยอมลาออก ส่วนนอกนั้นไม่มีคำตอบจากรัฐบาล!
จะเห็นว่าขบวนการการเคลื่อนไหวที่มีต้นกำเนิดจากการการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในด้านต่างๆ ทั้งชีวิตและสังคมของนิสิตนักศึกษที่มีลักษณะเป็นเอกเทศ เป็นอิสระแยกจากกัน มีการเคลื่อนไหวนับจากการประท้วงทางด้านวัฒนธรรม ไปสู่การประท้วงทางการเมืองเฉพาะกรณี ซึ่งส่งผลให้องค์กรที่มีลักษณะเป็นทางการคือ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยต้อง "ตกกระไดพลอยโจน" เข้าร่วมและกลายเป็น "ผู้นำ" ทางนิตินัยอย่างไม่มีทางเลือก กระทั่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการในกระบวนการทางความคิดของคนหนุ่มสาวในรั้วมหาวิทยาลัย และแม้แต่ปัญญาชนร่วมสมัยบางส่วน เกิดการตกผลึกและรวมศูนย์ไปสู่การเคลื่อนไหวทั่วไปทางการเมือง ซึ่งหมายความว่า "ศูนย์นิสิตฯ" เป็นองค์การจัดตั้งของนิสิตนักศึกษาที่มีเนื้อหาทางการเมืองอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด หาใช่การ "ถูกล้างสมอง" หรือ "ถูกปลุกปั่นยุยง" โดยอำนาจการเมืองนอกระบบ หรือภายใต้ข้อหา "คอมมิวนิสต์" แต่อย่างใดไม่
เมื่อเห็นรัฐบาลใช้ท่าทีเมินเฉยต่อการเรียกร้องประชาธิปไตย ในที่สุดก็มีก่อตั้ง "กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ" ขึ้น โดยในขั้นแรกมีการรวบรวมรายชื่อหลากหลายอาชีพหลายวงการ ประชุมร่างแถลงการณ์ในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ทำเป็นใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญ
วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม 2516 เวลา 09.15 น. กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญประมาณ 20 คน รวมตัวกันที่ลานอนุสาวรีย์ทหารอาสา บริเวณเชิงสะพานปิ่นเกล้าฯ เพื่อนำใบปลิวเรียกร้องให้ประชาชนร่วมกันต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ รวมทั้งหนังสือเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาแจกกับประชาชน ที่ปกหน้าของหนังสือได้อัญเชิญ พระราชหัตถเลขาการสละราชสมบัติ ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีไปถึงคณะราษฎร มีความว่า
"ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าแต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใดคณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร."
(ยังมีต่อ)
พิมพ์ครั้งแรก โลกวันนี้ ฉบับวันสุข 25-31 กรกฎาคม 2558
คอลัมน์ พายเรือในอ่าง ผู้เขียน อริน