กบฏชาวนาหลังเกิด "รัฐไทย"
กบฏผู้มีบุญ "โสภา พลตรี" (4)
กบฏผู้มีบุญ "โสภา พลตรี" (4)
ตึกที่ทำการกระทรวงยุติธรรมสร้างแล้วเสร็จและทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่
24 มิถุนายน พ.ศ. 2484โดยมีพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เป็นประธานในพิธี และอีกพียงปีเศษ "พ่อใหญ่โสภา พลตรี" ก็ตายปริศนาภายในคุก
บทความ "กบฏผู้มีบุญหมอลำโสภา แห่งบ้านสาวะถี จังหวัดขอนแก่น" เขียนโดย สุวิทย์ ธีรศาศวัต และ ชอบ ดีสวนโคก ตีพิมพ์ในวารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ (มหาวิทยาลัยขอนแก่น) 12, 1 พ.ค.-ต.ค. 2537 หน้า 39-51 ไม่ได้สิ้นสุดลงเมื่อพ่อใหญ่โสภากับแกนนำที่เป็นลูกศิษย์ใกล้ชิด รวมทั้งมวลชนที่เข้าร่วมการชุมนุมฟังการปราศรัย (ปลุกระดม) เท่านั้น จากการลงภาคสนามของผู้เขียนบทความทั้งสองคน ยังได้เจาะลึกถึงผลที่ตามมาของการลุกขึ้น "แข็งข้อ" ของประชาชนกลุ่มนี้ต่อเนื่องไปอีก รวมทั้ง "การตายปริศนา" ของผู้นำในขณะถูกจองจำ:
เมื่อทางการตัดสินใจปล่อยนักโทษคดีกบฏโสภานั้น พ่อเสริมตายไปแล้ว แต่จะเป็นอะไรตายหลักฐานยังขัดแย้งกันอยู่ พ่อพิมพ์เล่าว่าพ่อเสริมตายในคุกด้วยโรคอหิวาต์ แต่ตอนหลังเล่าว่าพอเสริมลงแดงตาย อาจถูกยาพิษถ่ายเป็นเลือดตาย จึงเหลือ 3 คน คือ พ่อใหญ่โสภา พ่อใหญ่คุยกับพ่อสิงห์ จึงถูกนำตัวขึ้นรถไฟมาส่งที่เรือนจำขอนแก่น ที่เรือนจำขอนแก่นพอ่ใหญ่โสภาเกิดปวดฟันขึ้นมา ทางเรือนจำจึงให้เจ้าหน้าที่เรือนจำเป็นเสมียชื่อคำมาฉีดยา หลังจากฉีดยา 1 วันพ่อใหญ่โสภาก็ตาย การตายของพ่อใหญ่โสภาตจึงเป้นปริศนาว่า ตายเพราะแพ้ยา หรือตายเพราะถูกทางการฆ่า ชาวบ้านหลายคนเชื่อว่าพ่อใหญ่โสภาตายเพราะเขาฉีดยาให้ตาย ถูกยาเบื่อ (บุญเลื่อน เพี้ยอาสา, คุย แดงน้อย, ไสว นามมา)
นอกจากความตายของพ่อใหญ่โสภาจะเป็นปริศนาแล้ว ศพของพ่อใหญ่โสภาก็เป็นปริศนาด้วย ที่ว่าเป็นปริศนาก็เพราะว่าเมื่อพ่อใหญ่โสภาตายลง ทางเรือนจำก็นำไปฝังในเรือนจำ เพราะไม่รู้ว่าเมื่อไรญาติจะมารับศพ ฝังไว้ 3 วัน วันที่ 4 ญาติมาขอรับศพเพื่อเอาไปเผา ปรากฏว่าเมื่อขุดหลุมศพออกไม่พบศพแต่ประการใด เหลือแต่สาด (เสื่อ) ที่ห่อศพกับผ้าขาวม้าที่พ่อใหญ่โสภานุ่ง เรื่องที่เจ้าหน้าที่เรือนจำจะจำผิดหลุมคงเป็นไปไม่ได้ เพราะตอนนั้นไม่มีใครตายอีก และยังพบผ้าขาวม้ากับเสื่อผืนเดิม ตอนฝังก็มีคนเห็นกันหลายคน (บุญเลื่อน เพี้ยอาสา, คุย แดงน้อย)
กล่าวโดยสรุป ผู้นำและแกนนำกบฏโสภาปัจจุบันเสียชีวิตหมดแล้ว โดยพ่อเสริมตายในคุกระหว่างปี 2484-2485 พ่อใหญ่โสภาตายในคุกขอนแก่นปลายปี 2485 หรือต้นปี 2486 เมื่ออายุ 60-61 ปี พ่อสิงห์ตายหลังออกจากคุกมาแล้ว คนที่ตายหลังสุดคือพ่อใหญ่คุย แดงน้อย ตายในปี 2530 อายุ 103 ปี
**********
แม้ว่าข้อมูลที่ผู้เขียนจะมีลักษณะข้อมูลดิบจากการบอกเล่าของ "พยานบุคคล (ร่วมเหตุการณ์)" ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปีที่เก็บข้อมูลและเขียนบทความชิ้นนี้ หากที่ควรบันทึกเป็นข้อสังเกตไว้ โดยเฉพาะนักสิทธิมนุษยชน, นักประวัติศาสตร์การเมืองการปกครอง และนักกฎหมายในปัจจุบัน ที่มีรายงานหรือการร้องเรียนเกี่ยวการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือข้อบ่งชี้ว่าอาจมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน สำหรับผู้ต้องหาคดีเกี่ยวกับการเมือง ความมั่นคงของรัฐ หรือแม้กระทั่งคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีผู้ต้องหาหรือผู้ต้องขังบางรายเสียชีวิตในที่คุมขัง ล่าสุดคือ "คดีอากง – นายอำพล ตั้งนพกุล" อันนับเป็นการตายผิดธรรมชาติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพราะเกิดแก่ผู้ตายขณะที่ผู้ตายอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งในวันที่ 11 พฤษภาคม 2555 องค์การนิรโทษกรรมสากลได้ประกาศให้อำพลเป็นนักโทษทางความคิด (prisoner of conscience) โดยกล่าวว่า อำพล "เป็นเครื่องสำแดงถึงความอยุติธรรมขนานใหญ่หลวงของกฎหมายว่าด้วยการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนี้" ("Thai ‘Prisoner of Conscience’ Dies in Jail: Lawyer". Jakarta Globe. 11 May 2012: http://www.thejakartaglobe.com/archive/thai-prisoner-of-conscience-dies-in-jail-lawyer/516631/)สำหรับผลสะเทือนจากเหตุการณ์ที่เรียกว่า "กบฏผู้มีบุญหมอลำโสภา แห่งบ้านสาวะถี จังหวัดขอนแก่น" นั้น หลังจากการเสียชีวิตของพ่อใหญ่โสภา และแกนนำคนสนิทอีกสองคน ในบทความดังกล่าวเขียนไว้ในประเด็น "ความศรัทธาของชาวบ้านต่อพ่อใหญ่โสภา" ว่า:
แม้ว่าพ่อใหญ่โสภาจะตายไปแล้ว คนร่วมสมัยในหมู่บ้านยังพูดถึงเขาอยู่อย่างชื่นชมพ่อใหญ่คุยซึ่งเป็นศิษย์ระดับแนวหน้าเชื่อว่าพอ่ใหญ่โสภาเป็นผู้วิเศษ (คุย แดงน้อย) ก่อนพ่อใหญ่โสภาตายได้บอกพ่อใหญ่คุยว่า เขาเป็นผู้วิเศษ เป็น "ลูกพระเจ้ามั่นยืน" หมายความว่าเขาไม่มีวันตาย เป็นอมตะ ด้วยเหตุน้พ่อใหญ่คุยจึงเชื่อว่าที่พ่อใหญ่โสภาถูกฝังไว้ 3 วัน ขุดเอาศพขึ้นมาไม่พบร่างเพราะ "หายตัวไป เกิดเป็นผู้นำผู้ทุกข์ผู้ยาก" เรื่องจะเกิดเป็นผู้นำ พ่อใหญ่โสภาเคยบอกพ่อใหญ่คุยก่อนตายเช่นกันว่า เขาจะไปเกิดเป็นผู้นำผู้ทุกข์ผู้ยาก ไปอยู่กับ "อีสอง" บ้านกุดจี่ ตำบลพองหนีบ อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี เขาจะมีชื่อวิไชย อายุ 10 ปี อยู่ ป.3 มีความรู้มากกว่าครู เป็นคนสอนครูเสียด้วย พ่อใหญ่คุยไปคุยกับวิไชยตรั้งเดียว มึกล้าไปคุยอีกกลัวทางการจะมาจับ ต่อมาวิไชยหายไปจากหมู่บ้าน หากวิไชยอยู่คือปี 2528 (ปีที่สัมภาษณ์พ่อใหญ่คุย) วิไชยคงจะมีอยุระหว่าง 23-30 ปี ชาวบ้านเล่าลือกันว่าวิไชยไปบวชเป็นถึงจารย์ครูจารย์ชา แล้วในปี 2528 มีพระองค์หนึ่งอ้างว่าชื่อโสภา บอกชาวบ้านว่าเมื่อชาติก่อนเขาเป็นพ่อใหญ่โสภา มาเรี่ยไรเงินสร้างสิม (โบสถ์) วัดบักกว้าง มีชาวบ้านเชื่อกันมาก แต่พ่อใหญ่คุยไม่เชื่อ เพราะลองไปคุยกับพระองค์นั้นแล้วถามว่าพ่อใหญ่โสภาติดคุกกี่ครั้งตอนถูกถ่วงน้ำทำอย่างไร พระรูปนั้นเล่าไม่ได้ (คุย แดงน้อย)
สาเหตุที่คนร่วมสมัยยังพูดถึงพ่อใหญ่โสภาด้วยความชื่นชม มีสาเหตุ 3 ประการคือ
1) พ่อใหญ่โสภาเป็นนักพูดและผู้นำทางความคิด โดยเฉพาะพูดต่อต้านภาษีที่ดิน กฎหมายป่าไม้ และการครอบงำทางวัฒนธรรม ซึ่งตรงกับใจของชาวบ้านอยู่แล้ว
**********
ก่อนจะไปถึงสาเหตุอีก 2 ประการ จำเป็นต้องพูดถึงประการแรกนี้ก่อนเหตุผลประการแรก ดูเหมือนเป็นคุณสมบัติหลักที่สำคัญของ "นักปลุกระดมมวลชน" มาทุกยุคทุกสมัย ในทุกประเทศ สำหรับการจัดชุมนุมทางการเมือง ที่มีเป้าหมายต่อต้านอำนาจรัฐ ความยากลำบากสำหรับคุณสมบัติข้อนี้คือ การถึงพร้อมซึ่งเงื่อนไขทั้งสองประการในตัวคนคนเดียว คือ
ความสามารถส่วนตัวในการยึดกุมองค์ความรู้ ซึ่งหมายรวมถึงการเข้าใจและเข้าถึงความเรียกร้องต้องการของมวลชนในบริบทปัญหาเฉพาะหน้าที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อมวลชน อีกทั้งสามารถเทียบเคียงการดำรงชีวิตของราษฎรหัวไร่ปลายนาในชนบทในระบอบและระบบที่ต่างกันสองระบบ อีกทั้งสามารถถ่ายทอดลงสู่มวลชนอย่างได้ผล โดยผ่านเงื่อนไขที่สองคือ
ความสามารถในการพูดปลุกระดม นอกเหนือจากการเป็น "พรสวรรค์" ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะตัวไม่สามารถลอกเลียนแลลหรือถ่ายทอดให้แก่กันได้แล้ว ยังมีลักษณธเป็น "พรแสวง" ที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝน สั่งสมประสบการณ์ ซึ่งในบริบทนี้มีปมเงื่อนอยู่ที่การเป็น "หมอลำ" ตามประวัติว่าผ่านการร่ำเรียนในวิชาชีที่เป็นทั้ง "ศาสตร์" และ "ศิลป์" นี้ แม้ว่าในบทความนี้จะไม่ได้พูดถึงว่าพ่อใหญ่โสภาได้ใช้ความรู้ความสามารถทางด้านหมอลำนี้กอบเป็นอาชีพเลี้ยงตัวแต่อย่างใด
(ยังมีต่อ)
พิมพ์ครั้งแรก โลกวันนี้ ฉบับวันสุข 16-22 พฤศจิกายน 2556
คอลัมน์ พายเรือในอ่าง ผู้เขียน อริน