ข้อเสนอ 6 ข้อเพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์
มีคำถามที่ยังคงถูกถามในท่ามกลางการชุมนุมใหญ่น้อยของฝ่ายประชาธิปไตยและในเวทีเสวนา-สัมมนาย่อยเกือบจะทั่วทุกหัวระแหงในเวลานี้ รวมทั้งตามห้องสนทนาในเว็บไซต์-หัวข้อพูดคุยวิพากษ์วิจารณ์ตามเว็บบอร์ด-ในจดหมายกลุ่ม และอื่นๆ จัดเป็นคำถามยอดนิยมข้ามปี นั่นคือ "เสื้อแดงจะชนะไหม? และชนะอย่างไร?" พอๆกับคำขวัญในการชุมนุมหรือธงนำสำหรับการชุมนุมใหญ่ ที่ว่า "ไม่ชนะ ไม่เลิก"
อันที่จริงคำถามที่น่าจะให้ความสำคัญมากกว่า 2 คำถามข้างต้น น่าจะเป็นคำถามที่ว่า "อย่างไรจึงเรียกว่าชนะ" เสียมากกว่า
เมื่อ วันที่ 5 สิงหาคม 2552 ในระหว่างช่วงรณรงค์ "แนวทางฎีกา" (ซึ่งผมเคยเสนอความเห็นไว้ใน "ความคิดเห็นส่วนตัวกรณีขอนิรโทษกรรม" ในเว็บบอร์ดนิวสกายไทยแลนด์ http://www.newskythailand.info/board/index.php?topic=6397.0 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2552 หลังการประกาศ ณ เวที นปช. แดงทั้งแผ่นดิน ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2552) ผมเสนอความเห็นไว้ในบทความ "ผลัก ดัน 5 ล้าน 4 แสนเจตจำนงเสรี ไปสู่การสร้างชาติไทยใหม่" http://www.newskythailand.info/board/index.php?topic=6948.0
เป็นไปได้ไหม ที่พลังฝ่ายประชาธิปไตยจะร่วมกันอีกครั้ง ระดมสรรพกำลังแสดงเจตจำนงในฐานะเสรีชน ขับเคลื่อนให้เกิดการยกระดับพัฒนาการทางการเมืองของปิตุภูมิไปสู่ความมีอารยะ ด้วยการสร้างประชาธิปไตยสมบูรณ์ ... สร้างขบวนแถวผู้รักประชาธิปไตยและรักความเป็นธรรม ออกมาสำแดงกำลัง รณรงค์ไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอำนาจอธิปไตยให้เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ ด้วยการผลักดันให้สร้างรัฐธรรมนูญประชาชน ที่ประชาชนสามารถ "เลือกผู้นำฝ่ายบริหาร" หรือ "นายกรัฐมนตรี" ด้วยการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เช่นนานาอารยะประเทศ และใช้การลงคะแนนเสียงในกระบวนการยุติธรรมด้วยระบบ "ลูกขุน" ที่อำนาจในการพิพากษาเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ไม่ตกอยู่ใน "กำมือ" ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งแต่ผู้เดียว
จนเมื่อประมาณ 2 เดือนเศษที่ผ่านมา แนวความคิดเรื่องการสร้างชาติไทยใหม่ของผมก็ก่อรูปจนชัดเจนยิ่งขึ้นกว่าในเวลาที่ผ่านมาในการเข้าร่วมการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย นับจากปี พ.ศ.2515 และในคืนวันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม 2552 ที่ผ่านมานี้เอง มีโอกาสเข้าร่วมวงพบปะเสวนากับมิตรสหายฝ่ายประชาธิปไตย กลุ่มไม่เล็กไม่ใหญ่นัก ผมจึงตัดสินใจเสนอ เป้าหมายรูปธรรมเบื้องต้น 6 ประการในการเสร้างประชาธิปไตยสมบูรณ์ ซึ่งมีแนวคิดสังเขป (จำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าลึกลงไปในรายละเอียด ถึงความเป็นไปได้ และลำดับขั้น ในการผลักดันสู่การปฏิบัติที่เป็นจริงต่อไป) ดังต่อไปนี้
1. รัฐประชาธิปไตยที่แยกอำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ส่วนอย่างเด็ดขาด บนหลักตรวจสอบและคานอำนาจ ในระบบ "งูกินหาง" หรืออธิบายแบบภาษารากหญ้า คือ "ข้าไล่เอ็ง เอ็งไล่มัน และมันไล่ข้า" ไม่ใช่แบบ "อำนาจอภิอธิปไตย" อันเรียกขานกันในรอบ 3 ปีมานี้ว่า "ตุลาการ วิบัติ" และแทบจะดำรงคงอยู่ในลักษณะ "แตะต้องไม่ได้"
2. สิทธิของประชาชนในการเลือก "ประมุขฝ่ายบริหาร" หรือ "นายกรัฐมนตรี" โดยตรง และเป็นตำแหน่งที่อยู่บนหลักการที่ว่า ไม่สามารถดำเนินการอย่างอื่นในการถอดถอนได้ เว้นไว้เสียแต่ด้วยกระบวนการอันบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในทำนองเดียวกับกระบวนการยื่นถอดถอน (impeachment) โดยสภาผู้แทนฯในสหรัฐอเมริกา และให้ "วุฒิสภา" กับ "ศาลฎีกา" ดำเนินการพิจารณาถอดถอนร่วมกัน
3. การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (ซึ่งเคยเสนอความคิดเห็นเบื้องต้น - ไม่ใช่ในฐานะนักกฎหมาย - ไว้ในบทความในเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน "ความเห็น 3 ประการเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม" http://sameskyboard.com/index.php?showtopic=40257) โดยที่ผมเรียกร้องในประเด็นหลักถึง "ระบบกล่าวหา" ที่พิจารณาจาก "ผู้ต้องหาผิด จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าบริสุทธิ์" ซึ่งเป็นกระบวนการยุติที่แทบไม่พบในอารยะประเทศและเป็นประชาธิปไตยอีกต่อไปแล้ว ; ประเด็นถัดมา คือความเป็นไปได้ของการนำ "ระบบลูกขุน" มาใช้ในประเทศไทย เพื่อนำมาใช้พิจารณาคดีที่มีความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักการความเสมอภาค และหลักการเสรีภาพ ด้วยการ "ลงคะแนนเสียง" อย่างเป็น "ประชาธิปไตย" ; ประเด็นถัดมา การรับรอง "ประมุขฝ่ายตุลาการ" ที่ผ่าน "สภาผู้แทนราษฎร" ; และประเด็นสุดท้าย การนำ "ระบบศาลเดี่ยว" มาใช้ ซึ่งประกอบไปด้วย ศาลชั้นต้น ศาลชั้นกลาง คือ "ศาลอุทธรณ์" และศาลสูง คือ "ศาลฎีกา" ทั้งนี้หมายความว่า "ศาลอื่น" ไม่มีอำนาจในการพิพากษาอรรถคดี
4. องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ "ทั้งหมด" ต้องมาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้ไม่จำกัดว่าจะเป็น "เลือกตั้งโดยตรง" หรือ "เลือกตั้งโดยอ้อม" ก็ได้ทั้งสิ้น แต่ต้องไม่ใช้กระบวนการ "แต่งตั้ง" หรือ "เลือกสรรเพื่อแต่งตั้ง" ซึ่งเป็นการผัดหน้าทาแป้งระบอบอื่นที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
5. โดยอาศัย "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม" ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม 2475 และ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" ฉบับวันที่ 9 พฤษภาคม 2489 นั้น ปรากฏว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ปราศจาก "องคมนตรี" ทั้งนี้บทบัญญัติว่าด้วย "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" ในรัฐธรรมนูญ 2475 บัญญัติไว้ดังนี้
มาตรา ๑๐ ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ จะได้ทรงตั้งบุคคลหนึ่งหรือหลายคนเป็นคณะขึ้นให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร ถ้าหากพระมหากษัตริย์มิได้ทรงตั้งหรือไม่สามารถจะทรงตั้งได้ไซร้ ท่านให้สภาผู้แทนราษฎรยังมิได้ตั้งผู้ใด ท่านให้คณะรัฐมนตรีกระทำหน้าที่นั้นไปชั่วคราว
ในขณะที่รัฐธรรมนูญ 2489 บัญญัติว่า...
มาตรา ๑๐ ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ จะได้ทรงตั้งบุคคลคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นคณะขึ้นให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ด้วยความเห็นชอบของรัฐสภา ถ้าหากพระมหากษัตริย์มิได้ทรงตั้งหรือไม่สามารถจะทรงตั้งได้ ให้รัฐสภาปรึกษากันตั้งขึ้นและในระหว่างที่รัฐสภายังมิได้ตั้งผู้ใด ให้สมาชิกพฤฒสภาผู้มีอายุสูงสุดสามคน ประกอบเป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้นชั่วคราว
นั่นคือ ในการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (แห่งรัฐ) นั้น องค์กรทุกองค์กร รวมทั้งองค์กรที่ปฏิบัติพระราชภาระแทนพระองค์ ล้วนมาจากกระบวนการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยทั้งสิ้น
ทั้งนี้ในส่วน "องคมนตรี" นั้น เป็นพระราชอำนาจในพระองค์ ที่จะทรงแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย เพื่อเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์ โดยหาได้มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด เช่นในอดีตที่ประเทศสยามและหรือประเทศไทยในเวลาต่อมา มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศมาแล้วถึง 2 ฉบับ โดยเป็นที่รับรองกันไม่เพียงในเฉพาะแวดวงรัฐศาสตร์ ว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยเสียยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญในสมัยหลัง ซึ่งมักจะมีรากฐาน หรืออิงแนวคิดพื้นฐานมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว 2490 ที่เกิดจากการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 ที่นำโดย พลโทผิน ชุณหะวัน ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า "รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม"
(อ่านรายละอียดได้ใน บทความ "รัฐธรรมนูญที่ปราศจากองคมนตรี : ว่าด้วยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" ในนิตยสารรายปักษ์ Voice of Taksin ปีที่ 1 ฉบับที่ 11 ปักษ์หลัง ธันวาคม 2552)
6. การประกาศไว้ในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ยืนยันอำนาจอธิปไตยที่ "เป็นของปวงชนชาวไทย" ซึ่งกินความไปถึง "รูปแบบ" และ "กระบวนการ" ทางการเมืองการปกครองทั้งมวลที่มีที่มาอยู่บนหลักการ "เป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน" จึงสมควรให้มีบทบัญญัติที่อยู่เหนือ "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" ให้ประชาชน "มีสิทธิเสรีภาพเต็มสมบูรณ์ ในอันที่จะลุกขึ้นต่อต้าน คัดค้านและตอบโต้ ทุกความพยายามในอันที่จะทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตย" ทั้งนี้มีบทบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรที่เป็นการประกาศเจตนารมณ์ประชาธิปไตย ให้การเปลี่ยนแปลงอำนาจอธิปไตยที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตย เป็นความผิดซึ่งประชาชนทุกคนสามารถกล่าวโทษและต่อต้านคัดค้านได้ ; นอกจากนี้ โดยหลักการประชาธิปไตยสมบูรณ์ ให้มีการรณรงค์ทั้งในและนอกสภา ในอันที่จะกำจัดอย่างสิ้นเชิง ซึ่ง "คำสั่งทางปกครองอันไม่ชอบด้วยหลักการประชาธิปไตย" ซึ่งได้แก่ "ประกาศคณะปฏิวัติ" และ/หรือ คำสั่งหรือประกาศอื่นใดในทำนองเดียวกัน
ถึงตรงนี้ เราควรต้องย้ำกับทุกคนทุกฝ่าย ซึ่งส่วนใหญ่นั้นรู้ดีอยู่แล้วว่า เลือกกี่ครั้งกี่ครั้งก็คนที่เอื้อประโยชน์รูปให้แก่ประชาชน ย่อมได้รับความสนับสนุนจากประชาชนผ่านการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยอย่างแน่นอน
คำถามคือ แล้ว "เรา" ประชาชนผู้ยืนอยู่ฝ่ายประชาธิปไตย กับบุคลากรทางการเมืองในระบบ จะทำอย่างไร - เพื่อที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำซากอย่างเช่น... การรัฐประหารเมื่อ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 โดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) …หรือ การรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
หลักประกันที่ว่านี้ มีเงื่อนไขที่ถึงพร้อม 2 ประการด้วยกัน คือ
1. การบัญญัติเป็นกฎหมายสูงสุด ที่ไม่อาจทำลายได้ และกฎหมายนั้นมีลักษะเป็น "สัญญาประชาคม" นั่นคือ "รัฐธรรมนูญประชาชน ที่เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์"
2. สำนึกประชาธิปไตยในหมู่ประชาชน ที่ก่อรูปและพัฒนาทั้งในด้านกว้างและระดับลึก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเข้าใจลึกซึ้งและยึดกุมความหมายของวลีที่ว่า "เป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน"...
นั่นหมายความว่า... ถ้าเพียงแต่ได้อำนาจรัฐมาโดยผ่านการเลือกตั้งจากประชาชนในระบอบประชาธิปไตย แต่ไม่สามารถมีหลักประกันที่จะพิทักษ์อำนาจการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น เอาไว้ได้ ก็ป่วยการที่จะยืนยันถึงสิ่งที่เรียกกันว่า "ประชาธิปไตยกินได้"
พูดอย่างถึงที่สุด สำหรับ พ.ศ. นี้ คงไม่ใช่เรื่องยากเย็นแสนเข็นอีกต่อไป ที่จะทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนในประเด็นอันเป็นหัวใจของ "การเมือง การปกครอง"
คำถามมีประการเดียว - ก็พวกเราที่ตระหนักรู้ในเหตุและปัจจัยของอุปสรรคในการสร้างประชาธิปไตยนั้นเอง - มีความเข้าใจและยึดกุมความสำคัญของ "อำนาจรัฐ" แค่ไหนมากกว่า
ด้วยภราดรภาพ
รุ่งโรจน์ 'อริน' วรรณศูทร
แก้ไขชื่อจาก สู้เพื่อเป้าหมาย ประชาธิปไตยสมบูรณ์ "ไม่ชนะไม่เลิก" แค่ไหน-อย่างไร?
ตีพิมพ์ครั้งแรก THAIFREEDOM ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ปักษ์หลัง มกราคม 2553
คอลัมน์ เปิดหน้าปล่อยการ์ด เขียนโดย อริน
ความเห็นจากเว็บบอร์ดประชาไทย
http://www.prachataiwebboard.com/webboard/id/12230#comment-form]http://www.prachataiwebboard.com/webboard/id/12230#comment-form]http://www.prachataiwebboard.com/webboard/id/12230#comment-form
ทัศนะโดย คนชอบอ่านหนังสือ :
เรียนคุณอรินที่นับถือ ลองตรึกตรองดูนะครับ ว่าความสำคัญของอำนาจรัฐในระบอบไหน เราปกครองขณะนี้ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย ได้อำนาจรัฐมาก็แค่สองส่วนเล็กๆ ที่ประชาชนมองว่ายิ่งใหญ่ แต่ในมุมมองของเจ้าของอำนาจที่แท้จริง จะเขี่ยทิ้งเสียเมื่อไหร่ก็ได้ถ้าไม่ถูกใจ ทั้งกลไกรัฐทั้ง พรบ.2457 ทั้งอำนาจตัดสินทุกภาคส่วนอยู่ในความครอบครองของเขาทั้งสิ้นมานานแล้ว ถ้าคิดดูให้ดีๆ อำนาจรัฐจะสำคัญก็ต่อเมื่อต้อง RESET อำนาจการปกครองของประเทศขึ้นใหม่ ให้เป็นของประชาชนโดยแท้จริงเท่านั้น อำนาจรัฐถึงจะมีความสำคัญโดยแท้จริง และผู้ที่ต้องการบริหารประเทศด้วยเต็มความสามารถ เพื่อผลประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งหลายในประเทศนี้โดยทั่วถึง ก็สามารถที่จะทำงานได้เต็มที่ทุกภาคส่วน มิใช่สนองตอบผลประโยชน์แต่แค่กลุ่มเดียวอย่างในปัจจุบันนี้.
ตอบโดย อริน:
นั่นแหละครับ; คำตอบอยู่ที่พวกเราที่จะร่วมกันคิดและนำเสนออย่างมีเสรีภาพ คือมีสิทธิ์ตามระดับความรับรู้ที่แท้จริง และสามารถแลกเปลี่ยนกันบนความเสมอภาค คือเท่าเทียมกัน
ขอยืนยันว่า ประชาชนไม่เคยเป็นพวกกระหายเลือด นิยมความรุนแรง และที่สำคัญ โดยพื้นฐานแล้ว ไม่มุ่งแสวงหาอำนาจเพื่อประโยชน์เฉพาะส่วน เฉพาะหน้า
ทว่าปมเงื่อนสำคัญคือ สำหรับรัฐบาลประชาธิปไตยโดยทั่วไป หลักประกันที่เป็นหัวใจคือศักยภาพในการพิทักษ์ระบอบการปกครองที่พึงปรารถนาที่สุดของมนุษยชาติในเวลานี้ แม้ในบางส่วนของบรรดาผู้หลงผิดผู้กำลังยืนอยู่ในฟากปฏิปักษ์ประชาธิปไตยเองก็ตาม ซึ่งกล่าวอย่างถึงที่สุด พี่น้องร่วมชะตากรรมเหล่านั้นเอง ที่เป็นเหยื่อชวนสลดสังเวชของกระบวนการปกปิด-บิดเบือน ที่ดำเนินมาอยู่ตลอดห้วงเวลาหลายชั่วอายุคน
ด้วยการปลุกให้ตื่นจากความหลับไหล ด้วยการชี้บอก แสดงความจริงที่ถูกห่อคลุมไว้ด้วยความเท็จ ว่าทั้งหลายทั้งปวงที่ฉุดรั้งพัฒนาการของปิตุภูมิ จนเกือบจะเรียกได้ว่าตกต่ำล้าหลัง แม้ชาติเพื่อนบ้านที่เพิ่งได้รับเอกราชมาไม่กี่สิบปีมานี้ และอีกหลายชาติที่แทบจะพินาศล่มสลายจากการรุกรานและยึดครองโดยนักล่าอาณานิคมทั้งเก่าและใหม่... คือรากเหง้าของระบอบการปกครองที่ "เผด็จอำนาจ" ในรูปแบบต่างๆ ในระดับต่างๆ และรวมทั้งที่ "อำพราง-ซ่อนรูป" อยู่เช่นในปัจจุบัน
ความประสงค์ในการเขียนบทความ/กระทู้ชิ้นนี้ ไม่ได้ไกลไปกว่า เมื่อเจตจำนงของประชามหาชน ได้รับการพิสูจน์ยืนยันและตอบสนอง (ชั่วคราว) เช่นที่ผ่านมาในปิตุภูมินี้มาแล้ว สิ่งที่ขบวนผู้คนนับแสนนับล้าน และที่สุดนับสิบล้านต้องฟันฝ่าให้ได้มา คือ...
หลักประกันในการพิทักษ์อำนาจอธิปไตยที่เป็นประชาธิปไตย ที่ยืนยันระบอบการปกครองซึ่ง "เป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน" และซึ่งย่อมไม่ยินยอมให้ "อำนาจนอกระบบ" ใดๆ มาทำลายรากฐานของความเป็นสังคมอารยะในสหัสวรรษนี้ได้เป็นอันขาด
โค่นระบอบอำมาตย์ สร้างประชาธิปไตยสมบูรณ์ สร้างรัฐธรรมนูญประชาชน
เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ หรือโซ่ตรวน
ประชาธิปไตยจงเจริญ ประชาชนจงเจริญ
ด้วยภราดรภาพ
มีคำถามที่ยังคงถูกถามในท่ามกลางการชุมนุมใหญ่น้อยของฝ่ายประชาธิปไตยและในเวทีเสวนา-สัมมนาย่อยเกือบจะทั่วทุกหัวระแหงในเวลานี้ รวมทั้งตามห้องสนทนาในเว็บไซต์-หัวข้อพูดคุยวิพากษ์วิจารณ์ตามเว็บบอร์ด-ในจดหมายกลุ่ม และอื่นๆ จัดเป็นคำถามยอดนิยมข้ามปี นั่นคือ "เสื้อแดงจะชนะไหม? และชนะอย่างไร?" พอๆกับคำขวัญในการชุมนุมหรือธงนำสำหรับการชุมนุมใหญ่ ที่ว่า "ไม่ชนะ ไม่เลิก"
อันที่จริงคำถามที่น่าจะให้ความสำคัญมากกว่า 2 คำถามข้างต้น น่าจะเป็นคำถามที่ว่า "อย่างไรจึงเรียกว่าชนะ" เสียมากกว่า
เมื่อ วันที่ 5 สิงหาคม 2552 ในระหว่างช่วงรณรงค์ "แนวทางฎีกา" (ซึ่งผมเคยเสนอความเห็นไว้ใน "ความคิดเห็นส่วนตัวกรณีขอนิรโทษกรรม" ในเว็บบอร์ดนิวสกายไทยแลนด์ http://www.newskythailand.info/board/index.php?topic=6397.0 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2552 หลังการประกาศ ณ เวที นปช. แดงทั้งแผ่นดิน ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2552) ผมเสนอความเห็นไว้ในบทความ "ผลัก ดัน 5 ล้าน 4 แสนเจตจำนงเสรี ไปสู่การสร้างชาติไทยใหม่" http://www.newskythailand.info/board/index.php?topic=6948.0
เป็นไปได้ไหม ที่พลังฝ่ายประชาธิปไตยจะร่วมกันอีกครั้ง ระดมสรรพกำลังแสดงเจตจำนงในฐานะเสรีชน ขับเคลื่อนให้เกิดการยกระดับพัฒนาการทางการเมืองของปิตุภูมิไปสู่ความมีอารยะ ด้วยการสร้างประชาธิปไตยสมบูรณ์ ... สร้างขบวนแถวผู้รักประชาธิปไตยและรักความเป็นธรรม ออกมาสำแดงกำลัง รณรงค์ไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอำนาจอธิปไตยให้เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ ด้วยการผลักดันให้สร้างรัฐธรรมนูญประชาชน ที่ประชาชนสามารถ "เลือกผู้นำฝ่ายบริหาร" หรือ "นายกรัฐมนตรี" ด้วยการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เช่นนานาอารยะประเทศ และใช้การลงคะแนนเสียงในกระบวนการยุติธรรมด้วยระบบ "ลูกขุน" ที่อำนาจในการพิพากษาเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ไม่ตกอยู่ใน "กำมือ" ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งแต่ผู้เดียว
จนเมื่อประมาณ 2 เดือนเศษที่ผ่านมา แนวความคิดเรื่องการสร้างชาติไทยใหม่ของผมก็ก่อรูปจนชัดเจนยิ่งขึ้นกว่าในเวลาที่ผ่านมาในการเข้าร่วมการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย นับจากปี พ.ศ.2515 และในคืนวันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม 2552 ที่ผ่านมานี้เอง มีโอกาสเข้าร่วมวงพบปะเสวนากับมิตรสหายฝ่ายประชาธิปไตย กลุ่มไม่เล็กไม่ใหญ่นัก ผมจึงตัดสินใจเสนอ เป้าหมายรูปธรรมเบื้องต้น 6 ประการในการเสร้างประชาธิปไตยสมบูรณ์ ซึ่งมีแนวคิดสังเขป (จำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าลึกลงไปในรายละเอียด ถึงความเป็นไปได้ และลำดับขั้น ในการผลักดันสู่การปฏิบัติที่เป็นจริงต่อไป) ดังต่อไปนี้
1. รัฐประชาธิปไตยที่แยกอำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ส่วนอย่างเด็ดขาด บนหลักตรวจสอบและคานอำนาจ ในระบบ "งูกินหาง" หรืออธิบายแบบภาษารากหญ้า คือ "ข้าไล่เอ็ง เอ็งไล่มัน และมันไล่ข้า" ไม่ใช่แบบ "อำนาจอภิอธิปไตย" อันเรียกขานกันในรอบ 3 ปีมานี้ว่า "ตุลาการ วิบัติ" และแทบจะดำรงคงอยู่ในลักษณะ "แตะต้องไม่ได้"
2. สิทธิของประชาชนในการเลือก "ประมุขฝ่ายบริหาร" หรือ "นายกรัฐมนตรี" โดยตรง และเป็นตำแหน่งที่อยู่บนหลักการที่ว่า ไม่สามารถดำเนินการอย่างอื่นในการถอดถอนได้ เว้นไว้เสียแต่ด้วยกระบวนการอันบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในทำนองเดียวกับกระบวนการยื่นถอดถอน (impeachment) โดยสภาผู้แทนฯในสหรัฐอเมริกา และให้ "วุฒิสภา" กับ "ศาลฎีกา" ดำเนินการพิจารณาถอดถอนร่วมกัน
3. การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (ซึ่งเคยเสนอความคิดเห็นเบื้องต้น - ไม่ใช่ในฐานะนักกฎหมาย - ไว้ในบทความในเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน "ความเห็น 3 ประการเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม" http://sameskyboard.com/index.php?showtopic=40257) โดยที่ผมเรียกร้องในประเด็นหลักถึง "ระบบกล่าวหา" ที่พิจารณาจาก "ผู้ต้องหาผิด จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าบริสุทธิ์" ซึ่งเป็นกระบวนการยุติที่แทบไม่พบในอารยะประเทศและเป็นประชาธิปไตยอีกต่อไปแล้ว ; ประเด็นถัดมา คือความเป็นไปได้ของการนำ "ระบบลูกขุน" มาใช้ในประเทศไทย เพื่อนำมาใช้พิจารณาคดีที่มีความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักการความเสมอภาค และหลักการเสรีภาพ ด้วยการ "ลงคะแนนเสียง" อย่างเป็น "ประชาธิปไตย" ; ประเด็นถัดมา การรับรอง "ประมุขฝ่ายตุลาการ" ที่ผ่าน "สภาผู้แทนราษฎร" ; และประเด็นสุดท้าย การนำ "ระบบศาลเดี่ยว" มาใช้ ซึ่งประกอบไปด้วย ศาลชั้นต้น ศาลชั้นกลาง คือ "ศาลอุทธรณ์" และศาลสูง คือ "ศาลฎีกา" ทั้งนี้หมายความว่า "ศาลอื่น" ไม่มีอำนาจในการพิพากษาอรรถคดี
4. องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ "ทั้งหมด" ต้องมาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้ไม่จำกัดว่าจะเป็น "เลือกตั้งโดยตรง" หรือ "เลือกตั้งโดยอ้อม" ก็ได้ทั้งสิ้น แต่ต้องไม่ใช้กระบวนการ "แต่งตั้ง" หรือ "เลือกสรรเพื่อแต่งตั้ง" ซึ่งเป็นการผัดหน้าทาแป้งระบอบอื่นที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
5. โดยอาศัย "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม" ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม 2475 และ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" ฉบับวันที่ 9 พฤษภาคม 2489 นั้น ปรากฏว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ปราศจาก "องคมนตรี" ทั้งนี้บทบัญญัติว่าด้วย "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" ในรัฐธรรมนูญ 2475 บัญญัติไว้ดังนี้
มาตรา ๑๐ ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ จะได้ทรงตั้งบุคคลหนึ่งหรือหลายคนเป็นคณะขึ้นให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร ถ้าหากพระมหากษัตริย์มิได้ทรงตั้งหรือไม่สามารถจะทรงตั้งได้ไซร้ ท่านให้สภาผู้แทนราษฎรยังมิได้ตั้งผู้ใด ท่านให้คณะรัฐมนตรีกระทำหน้าที่นั้นไปชั่วคราว
ในขณะที่รัฐธรรมนูญ 2489 บัญญัติว่า...
มาตรา ๑๐ ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ จะได้ทรงตั้งบุคคลคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นคณะขึ้นให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ด้วยความเห็นชอบของรัฐสภา ถ้าหากพระมหากษัตริย์มิได้ทรงตั้งหรือไม่สามารถจะทรงตั้งได้ ให้รัฐสภาปรึกษากันตั้งขึ้นและในระหว่างที่รัฐสภายังมิได้ตั้งผู้ใด ให้สมาชิกพฤฒสภาผู้มีอายุสูงสุดสามคน ประกอบเป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้นชั่วคราว
นั่นคือ ในการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (แห่งรัฐ) นั้น องค์กรทุกองค์กร รวมทั้งองค์กรที่ปฏิบัติพระราชภาระแทนพระองค์ ล้วนมาจากกระบวนการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยทั้งสิ้น
ทั้งนี้ในส่วน "องคมนตรี" นั้น เป็นพระราชอำนาจในพระองค์ ที่จะทรงแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย เพื่อเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์ โดยหาได้มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด เช่นในอดีตที่ประเทศสยามและหรือประเทศไทยในเวลาต่อมา มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศมาแล้วถึง 2 ฉบับ โดยเป็นที่รับรองกันไม่เพียงในเฉพาะแวดวงรัฐศาสตร์ ว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยเสียยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญในสมัยหลัง ซึ่งมักจะมีรากฐาน หรืออิงแนวคิดพื้นฐานมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว 2490 ที่เกิดจากการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 ที่นำโดย พลโทผิน ชุณหะวัน ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า "รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม"
(อ่านรายละอียดได้ใน บทความ "รัฐธรรมนูญที่ปราศจากองคมนตรี : ว่าด้วยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" ในนิตยสารรายปักษ์ Voice of Taksin ปีที่ 1 ฉบับที่ 11 ปักษ์หลัง ธันวาคม 2552)
6. การประกาศไว้ในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ยืนยันอำนาจอธิปไตยที่ "เป็นของปวงชนชาวไทย" ซึ่งกินความไปถึง "รูปแบบ" และ "กระบวนการ" ทางการเมืองการปกครองทั้งมวลที่มีที่มาอยู่บนหลักการ "เป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน" จึงสมควรให้มีบทบัญญัติที่อยู่เหนือ "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" ให้ประชาชน "มีสิทธิเสรีภาพเต็มสมบูรณ์ ในอันที่จะลุกขึ้นต่อต้าน คัดค้านและตอบโต้ ทุกความพยายามในอันที่จะทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตย" ทั้งนี้มีบทบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรที่เป็นการประกาศเจตนารมณ์ประชาธิปไตย ให้การเปลี่ยนแปลงอำนาจอธิปไตยที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตย เป็นความผิดซึ่งประชาชนทุกคนสามารถกล่าวโทษและต่อต้านคัดค้านได้ ; นอกจากนี้ โดยหลักการประชาธิปไตยสมบูรณ์ ให้มีการรณรงค์ทั้งในและนอกสภา ในอันที่จะกำจัดอย่างสิ้นเชิง ซึ่ง "คำสั่งทางปกครองอันไม่ชอบด้วยหลักการประชาธิปไตย" ซึ่งได้แก่ "ประกาศคณะปฏิวัติ" และ/หรือ คำสั่งหรือประกาศอื่นใดในทำนองเดียวกัน
ถึงตรงนี้ เราควรต้องย้ำกับทุกคนทุกฝ่าย ซึ่งส่วนใหญ่นั้นรู้ดีอยู่แล้วว่า เลือกกี่ครั้งกี่ครั้งก็คนที่เอื้อประโยชน์รูปให้แก่ประชาชน ย่อมได้รับความสนับสนุนจากประชาชนผ่านการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยอย่างแน่นอน
คำถามคือ แล้ว "เรา" ประชาชนผู้ยืนอยู่ฝ่ายประชาธิปไตย กับบุคลากรทางการเมืองในระบบ จะทำอย่างไร - เพื่อที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำซากอย่างเช่น... การรัฐประหารเมื่อ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 โดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) …หรือ การรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
หลักประกันที่ว่านี้ มีเงื่อนไขที่ถึงพร้อม 2 ประการด้วยกัน คือ
1. การบัญญัติเป็นกฎหมายสูงสุด ที่ไม่อาจทำลายได้ และกฎหมายนั้นมีลักษะเป็น "สัญญาประชาคม" นั่นคือ "รัฐธรรมนูญประชาชน ที่เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์"
2. สำนึกประชาธิปไตยในหมู่ประชาชน ที่ก่อรูปและพัฒนาทั้งในด้านกว้างและระดับลึก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเข้าใจลึกซึ้งและยึดกุมความหมายของวลีที่ว่า "เป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน"...
นั่นหมายความว่า... ถ้าเพียงแต่ได้อำนาจรัฐมาโดยผ่านการเลือกตั้งจากประชาชนในระบอบประชาธิปไตย แต่ไม่สามารถมีหลักประกันที่จะพิทักษ์อำนาจการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น เอาไว้ได้ ก็ป่วยการที่จะยืนยันถึงสิ่งที่เรียกกันว่า "ประชาธิปไตยกินได้"
พูดอย่างถึงที่สุด สำหรับ พ.ศ. นี้ คงไม่ใช่เรื่องยากเย็นแสนเข็นอีกต่อไป ที่จะทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนในประเด็นอันเป็นหัวใจของ "การเมือง การปกครอง"
คำถามมีประการเดียว - ก็พวกเราที่ตระหนักรู้ในเหตุและปัจจัยของอุปสรรคในการสร้างประชาธิปไตยนั้นเอง - มีความเข้าใจและยึดกุมความสำคัญของ "อำนาจรัฐ" แค่ไหนมากกว่า
ด้วยภราดรภาพ
รุ่งโรจน์ 'อริน' วรรณศูทร
แก้ไขชื่อจาก สู้เพื่อเป้าหมาย ประชาธิปไตยสมบูรณ์ "ไม่ชนะไม่เลิก" แค่ไหน-อย่างไร?
ตีพิมพ์ครั้งแรก THAIFREEDOM ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ปักษ์หลัง มกราคม 2553
คอลัมน์ เปิดหน้าปล่อยการ์ด เขียนโดย อริน
ความเห็นจากเว็บบอร์ดประชาไทย
http://www.prachataiwebboard.com/webboard/id/12230#comment-form]http://www.prachataiwebboard.com/webboard/id/12230#comment-form]http://www.prachataiwebboard.com/webboard/id/12230#comment-form
ทัศนะโดย คนชอบอ่านหนังสือ :
เรียนคุณอรินที่นับถือ ลองตรึกตรองดูนะครับ ว่าความสำคัญของอำนาจรัฐในระบอบไหน เราปกครองขณะนี้ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย ได้อำนาจรัฐมาก็แค่สองส่วนเล็กๆ ที่ประชาชนมองว่ายิ่งใหญ่ แต่ในมุมมองของเจ้าของอำนาจที่แท้จริง จะเขี่ยทิ้งเสียเมื่อไหร่ก็ได้ถ้าไม่ถูกใจ ทั้งกลไกรัฐทั้ง พรบ.2457 ทั้งอำนาจตัดสินทุกภาคส่วนอยู่ในความครอบครองของเขาทั้งสิ้นมานานแล้ว ถ้าคิดดูให้ดีๆ อำนาจรัฐจะสำคัญก็ต่อเมื่อต้อง RESET อำนาจการปกครองของประเทศขึ้นใหม่ ให้เป็นของประชาชนโดยแท้จริงเท่านั้น อำนาจรัฐถึงจะมีความสำคัญโดยแท้จริง และผู้ที่ต้องการบริหารประเทศด้วยเต็มความสามารถ เพื่อผลประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งหลายในประเทศนี้โดยทั่วถึง ก็สามารถที่จะทำงานได้เต็มที่ทุกภาคส่วน มิใช่สนองตอบผลประโยชน์แต่แค่กลุ่มเดียวอย่างในปัจจุบันนี้.
ตอบโดย อริน:
นั่นแหละครับ; คำตอบอยู่ที่พวกเราที่จะร่วมกันคิดและนำเสนออย่างมีเสรีภาพ คือมีสิทธิ์ตามระดับความรับรู้ที่แท้จริง และสามารถแลกเปลี่ยนกันบนความเสมอภาค คือเท่าเทียมกัน
ขอยืนยันว่า ประชาชนไม่เคยเป็นพวกกระหายเลือด นิยมความรุนแรง และที่สำคัญ โดยพื้นฐานแล้ว ไม่มุ่งแสวงหาอำนาจเพื่อประโยชน์เฉพาะส่วน เฉพาะหน้า
ทว่าปมเงื่อนสำคัญคือ สำหรับรัฐบาลประชาธิปไตยโดยทั่วไป หลักประกันที่เป็นหัวใจคือศักยภาพในการพิทักษ์ระบอบการปกครองที่พึงปรารถนาที่สุดของมนุษยชาติในเวลานี้ แม้ในบางส่วนของบรรดาผู้หลงผิดผู้กำลังยืนอยู่ในฟากปฏิปักษ์ประชาธิปไตยเองก็ตาม ซึ่งกล่าวอย่างถึงที่สุด พี่น้องร่วมชะตากรรมเหล่านั้นเอง ที่เป็นเหยื่อชวนสลดสังเวชของกระบวนการปกปิด-บิดเบือน ที่ดำเนินมาอยู่ตลอดห้วงเวลาหลายชั่วอายุคน
ด้วยการปลุกให้ตื่นจากความหลับไหล ด้วยการชี้บอก แสดงความจริงที่ถูกห่อคลุมไว้ด้วยความเท็จ ว่าทั้งหลายทั้งปวงที่ฉุดรั้งพัฒนาการของปิตุภูมิ จนเกือบจะเรียกได้ว่าตกต่ำล้าหลัง แม้ชาติเพื่อนบ้านที่เพิ่งได้รับเอกราชมาไม่กี่สิบปีมานี้ และอีกหลายชาติที่แทบจะพินาศล่มสลายจากการรุกรานและยึดครองโดยนักล่าอาณานิคมทั้งเก่าและใหม่... คือรากเหง้าของระบอบการปกครองที่ "เผด็จอำนาจ" ในรูปแบบต่างๆ ในระดับต่างๆ และรวมทั้งที่ "อำพราง-ซ่อนรูป" อยู่เช่นในปัจจุบัน
ความประสงค์ในการเขียนบทความ/กระทู้ชิ้นนี้ ไม่ได้ไกลไปกว่า เมื่อเจตจำนงของประชามหาชน ได้รับการพิสูจน์ยืนยันและตอบสนอง (ชั่วคราว) เช่นที่ผ่านมาในปิตุภูมินี้มาแล้ว สิ่งที่ขบวนผู้คนนับแสนนับล้าน และที่สุดนับสิบล้านต้องฟันฝ่าให้ได้มา คือ...
หลักประกันในการพิทักษ์อำนาจอธิปไตยที่เป็นประชาธิปไตย ที่ยืนยันระบอบการปกครองซึ่ง "เป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน" และซึ่งย่อมไม่ยินยอมให้ "อำนาจนอกระบบ" ใดๆ มาทำลายรากฐานของความเป็นสังคมอารยะในสหัสวรรษนี้ได้เป็นอันขาด
โค่นระบอบอำมาตย์ สร้างประชาธิปไตยสมบูรณ์ สร้างรัฐธรรมนูญประชาชน
เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ หรือโซ่ตรวน
ประชาธิปไตยจงเจริญ ประชาชนจงเจริญ
ด้วยภราดรภาพ